ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ตัวเลือกลดน้ำหนักโดยไม่ต้องผ่าตัด
ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ตัวเลือกลดน้ำหนักโดยไม่ต้องผ่าตัด
ออกกำลังกายก็แล้ว คุมอาหารตามหลักโภชนาการ หรือคุมอาหารตามวิธีการลดน้ำหนักที่ใครๆ ว่าได้ผลก็ลองมาหมด แต่สุดท้ายก็ยังอ้วน น้ำหนักเพิ่มขึ้นเกินเกณฑ์เหมือนเดิม ครั้นจะหันไปพึ่งยาลดน้ำหนักก็กลัวเอฟเฟกต์อันตราย แล้วแบบนี้คนที่เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะน้ำหนักเกินต้องทำอย่างไรดี ? ขอแนะนำทางเลือกของการลดความอ้วน ลดน้ำหนักแบบไม่พึ่งยา ไม่ต้องผ่าตัดให้เจ็บตัว กับการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร วิธีลดน้ำหนักอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้คุณกินได้น้อยลงและลดน้ำหนักได้ผลยิ่งขึ้น
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร (Gastric Balloon) คืออะไร ?
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เป็นหนึ่งในวิธีการลดน้ำหนัก ลดความอ้วน โดยไม่ต้องพึ่งยาและไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งเป็นแนวทางที่คิดมาเพื่อผู้ที่เป็นโรคอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักโดยเฉพาะ โดยการลดน้ำหนักวิธีนี้เป็นการลดน้ำหนักที่อยู่ภายใต้การควบคุมของคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะใช้บอลลูนที่ข้างในบรรจุของเหลวใส่เข้าไปในกระเพาะอาหาร เพื่อทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น จำกัดปริมาณอาหารได้ดีขึ้น จึงถูกจัดให้เป็นวิธีลดน้ำหนักอีกวิธีที่ปลอดภัย เจ็บตัวน้อย และไม่ต้องผ่าตัดให้มีรอยแผลเป็น
หลักการทำงานของบอลลูนในกระเพาะอาหาร ใส่แล้วช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วนได้อย่างไร ?
สำหรับหลักการทำงานของการใส่บอลลูนในกระเพาะเพื่อช่วยในการลดน้ำหนักนั้น ตัวบอลลูนที่ถูกใส่เข้าไปจะเข้าไปเป็นตัวลดพื้นที่ภายในกระเพาะอาหาร ซึ่งภายในตัวบอลลูนจะมีการใส่น้ำที่ผสมของเหลวสีฟ้าที่ชื่อว่าเมทิลีนบลู (Methylene Blue) ในปริมาตร 350 - 500 ซีซี โดยปริมาณของเหลวที่ใส่ลงไปในบอลลูนของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ซึ่งคุณหมอจะเป็นผู้คำนวณให้ และเมื่อพื้นที่ในกระเพาะลดน้อยลง ก็จะส่งผลให้ร่างกายกินได้น้อยลงเพราะเต็มพื้นที่ รวมถึงยังเป็นการช่วยส่งสัญญาณกบับไปยังสมองว่าตอนนี้มีอาหารเยอะแล้วเนื่องจากกระเพาะมีการตึงตัวมากขึ้น สมองจึงสั่งการให้อิ่ม ส่งผลให้เรารู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและสามารถควบคุมปริมาณอาหารได้ดีขึ้น
ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารแล้วมีประโยชน์อย่างไร ?
- ช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วนโดยไม่ต้องพึ่งยา
- เป็นวิธีการลดน้ำหนักที่ไม่ต้องเจ็บตัวและไม่ต้องผ่าตัดให้มีแผล หรือรักษาตัวพักฟื้นนาน
- ช่วยทำให้หิวน้อยลง และจำกัดปริมาณอาหารได้
- สามารถลดน้ำหนักได้มากกว่า 20 กิโลกรัม ภายใน 1 ปี ที่ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารทั้งนี้ขึ้นกับน้ำหนักตัวตั้งต้นและพฤติกรรม
- ช่วยปรับจูนพฤติกรรมการกินให้ดีขึ้น ช่วยเสริมการสร้างนิสัยไปถึงภายหลังนำบอลลูนออก ซึ่งทำให้ร่างกายมีสุขภาพดีขึ้นด้วย
- ช่วยลดความเสี่ยงของโรคที่จะตามมาจากการมีภาวะน้ำหนักเกิน เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง เบาหวาน หรือข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น
วิธีการใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหารทำอย่างไร ต้องใส่นานแค่ไหนและมีข้อควรระวังอะไรไหม ?
ก่อนใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- เข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อประเมินความเหมาะสม หัวใจ หลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เพื่อประเมินความเหมาะสมในการใส่บอลลูน
- งดสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของหมักดอง และต้องรับประทานยาลดกรด เป็นเวลา 14 วัน
วันที่ทำการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- เช็กร่างกายเตรียมความพร้อม
- วิสัญญีจะให้ดมยาสลบหรือยานอนหลับ จากนั้นแพทย์จะใช้เทคนิคการส่องกล้องเพื่อนำบอลลูนใส่ในกระเพาะอาหารในตำแหน่งที่เหมาะสม แล้วเติมน้ำที่ผสมสารเมธิลีนบลูเข้าไป โดยใช้เวลา 15-20 นาที
หลังจากใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- พักฟื้นภายใต้การดูแลของแพทย์ 1-2 วัน เพื่อสังเกตอาการและติดตามผลข้างเคียง
- รับประทานอาหารที่มีสารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งในช่วงต้นควรเป็นของเหลวที่ย่อยง่ายแต่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ซุป นม โยเกิร์ต น้ำปั่นสมูทตี้ผัก ผลไม้ เป็นต้น
- ติดตามผลเป็นระยะ และอาจมีการปรับขนาดของบอลลูนตามความเหมาะสม
- ปรับชนิดและวิธีการรับประทานอาหารโดยจะมีคำแนะนำจากนักโภชนากร ร่วมกับการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
ทั้งนี้การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารจะใส่ประมาณ 1 ปี ซึ่งหลังใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารในวันแรกๆ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืด เบื่ออาหารและรู้สึกอิ่มตลอดเวลาได้ แต่หลังจากนั้นร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวและดีขึ้นตามลำดับ
ข้อควรระวังในการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- สตรีตั้งครรภ์ หรือคนที่วางแผนมีบุตร
- ผู้มีภาวะเลือดแข็งตัวยาก รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด
- แพ้ยางซิลิโคน
- มีโรคประจำตัวรุนแรง มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดอาหาร เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือเป็นโรคกรดไหลย้อนรุนแรงที่ยังควบคุมไม่ได้ ยังไม่ควรใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร
- หลังใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร หากมีการรั่วซึมของบอลลูน จะสามารถสังเกตได้จากสีของปัสสาวะว่ามีสีฟ้า-เขียวปน
และนี่คือทางเลือกอีกทางสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ต้องการลดความอ้วนแบบไม่ต้องพึ่งยาให้เสี่ยงอันตราย หรือการผ่าตัดเพื่อช่วยในการลดน้ำหนักอีกต่อไป แต่ทั้งนี้แม้ว่าการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารจะช่วยให้ลดน้ำหนักได้ดี เห็นผลได้อย่างชัดเจน แต่เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ควรดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ภายใต้คำแนะนำของนักโภชนากร เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ พร้อมมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08.00-20.00 น. โทร. 0-2079-005470
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้ก่อนป้องกันได้ รักษาไว
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่
อย่าปล่อยให้อาการ “ลำไส้แปรปรวน” ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ชวนมาหาคำตอบโรคลำไส้แปรปรวน ปัญหาลำไส้ทำงานผิดปกติ ที่มักมีอาการปวดท้องบิดเกร็งเป็นพักๆ หรือท้องเสียสลับท้องผูก ถ่ายไม่ค่อยออก แถมปวดท้องแบบไม่เลือกเวลา สังเกตอาการได้ที่นี่
ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว
“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้ก่อนป้องกันได้ รักษาไว
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่
อย่าปล่อยให้อาการ “ลำไส้แปรปรวน” ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ชวนมาหาคำตอบโรคลำไส้แปรปรวน ปัญหาลำไส้ทำงานผิดปกติ ที่มักมีอาการปวดท้องบิดเกร็งเป็นพักๆ หรือท้องเสียสลับท้องผูก ถ่ายไม่ค่อยออก แถมปวดท้องแบบไม่เลือกเวลา สังเกตอาการได้ที่นี่
ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว
“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว
ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว
“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้ก่อนป้องกันได้ รักษาไว
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่
อย่าปล่อยให้อาการ “ลำไส้แปรปรวน” ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ชวนมาหาคำตอบโรคลำไส้แปรปรวน ปัญหาลำไส้ทำงานผิดปกติ ที่มักมีอาการปวดท้องบิดเกร็งเป็นพักๆ หรือท้องเสียสลับท้องผูก ถ่ายไม่ค่อยออก แถมปวดท้องแบบไม่เลือกเวลา สังเกตอาการได้ที่นี่