เรื่องต้องรู้! ตรวจไต… ตรวจอะไรบ้าง? เจ็บไหม? ต้องงดน้ำ-อาหารหรือเปล่า?

09 เม.ย. 68  | ศูนย์สุขภาพ
แชร์บทความ      

ไต อวัยวะสำคัญที่มากกว่าการกรองของเสีย

รู้หรือไม่ ประเทศไทยมีสถิติผู้ป่วยโรคไตมากถึง 8 ล้านคน หรือราวๆ 17.5%  โดยมีต้นเหตุจากพฤติกรรมการติดอาหารรสเค็ม อาหารโซเดียมสูง อาหารแปรรูป รวมถึงปัจจัยร่วมอื่นๆ เช่น พันธุกรรม การใช้ยาบางประเภท (เช่น ยาแก้ปวด NSAIDs) ยาสมุนไพร ผักหรือผลไม้บางชนิดที่รับประมานในประมาณที่มากเกินไป (เช่นมะเฟือง ตะลิงปลิง) และโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก็ส่งผลให้เป็นโรคไตได้ อีกทั้งโรคไตในระยะแรกมักไม่มีอาการ หลายคนจึงชะล่าใจ ใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ทำร้ายไตต่อไป กว่าจะรู้ตัวไตก็อาจเสียหายไปมากแล้ว เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลที่ทำให้ตัวเลขผู้ป่วยโรคไตเพิ่มขึ้น! การดูแลไตให้มีสุขภาพดีอยู่ด้วยกันไปนานๆ นอกจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว การ "ตรวจไต" เป็นประจำก็สามารถช่วยชีวิตคุณได้! สำหรับใครที่อยากตรวจไตแต่มีคำถามว่า ‘ตรวจไต ตรวจอะไรบ้าง ?’ ต้องเตรียมตัวอย่างไร ? ต้องอดอาหารหรือไม่ ? เราเอาคำตอบมาบอกคุณแล้วที่นี่

ไต อวัยวะสำคัญที่มากกว่าการกรองของเสีย

หลายคนอาจคุ้นเคยว่าไตที่มีลักษณะคล้ายถั่วขนาดเท่ากำปั้น อยู่บริเวณหลังช่วงเอวของเราทุกคนนั้นมีหน้าที่หลักคือการกรองของเสียออกจากเลือดและขับออกทางปัสสาวะ แต่จริงๆ แล้วไตทำหน้าที่มากกว่านั้น เพราะไตเปรียบเสมือนโรงงานเคมีขนาดย่อมๆ ที่คอยรักษาสมดุลให้ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยกรองของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือดและขับออกทางปัสสาวะ ควบคุมสมดุลของน้ำ เกลือแร่ และความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต แถมยังทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดแดง และวิตามินดีที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ และช่วยในการรักษาสมดุลแคลเซียมในร่างกายอีกด้วย 

ทำไมต้องใส่ใจสุขภาพไต ?

สิ่งที่น่ากลัวคือโรคไตบางชนิดเมื่อเป็นแล้วอาจจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งนั่นจะทำให้คุณภาพในการใช้ชีวิตของคุณลดลง อีกทั้งโรคไตในระยะแรกมักไม่มีอาการ! และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ทุกคนควรต้องใส่ใจสุขภาพไตและหมั่นตรวจเช็กเป็นประจำ เพราะกว่าอาการจะปรากฏ ไตอาจเสียหายไปมากแล้ว ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหรือภาวะต่างๆ ได้ ดังนี้

  • ไตวายเรื้อรัง ที่ต้องฟอกไต หรือ ล้างไตทางช่องท้องไปตลอดชีวิต
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงความดันโลหิตสูง
  • ภาวะโลหิตจาง เมื่อไตไม่สามารถสร้างฮอร์โมน Erythropoietin ซึ่งกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ ก็จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้
  • กระดูกพรุน เพราะไตช่วยสร้างวิตามินดีที่จำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียม หากภาวะไตวายเรื้อรังจะทำให้กระดูกบาง เปราะ หักง่าย
  • ความผิดปกติของสมดุลน้ำ เกลือแร่และกรด-ด่าง ที่จะทำให้เกิดอาการบวมน้ำ น้ำท่วมปอด หัวใจล้มเหลว  กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเลือดเป็นกรดได้

"การตรวจพบโรคไตตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้"

การตรวจพบปัญหาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะช่วยให้สามารถจัดการภาวะต่างๆ ได้ดีขึ้น

เช่น การควบคุมความดันโลหิต หรือระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการพัฒนาโรคไตได้

ใครบ้างที่ควรตรวจไต ?

ไม่เพียงแค่ในกลุ่มคนที่มีความกังวลต่อสุขภาพเท่านั้นที่ควรตรวจไต แต่กลุ่มคนเหล่านี้ควรได้รับการตรวจไตเป็นประจำ 

  • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
  • ผู้ที่รับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นประจำ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • ผู้ที่เคยมีประวัติไตอักเสบ
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย
  • ผู้ที่มีภาวะตัวบวม ขาบวม หนังตาบวม
  • ผู้ที่มีปัสสาวะเป็นฟอง หรือปัสสาวะมีเลือดปน

ตรวจไต... ตรวจอะไรบ้าง ?

ตรวจไต... ใครบ้างที่ควรตรวจไต

การ "ตรวจไต" ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจ 2 อย่างหลักๆ คือ ตรวจไตด้วยการตรวจเลือดซึ่งจะช่วยประเมินการทำงานของไตผ่านค่าต่างๆ ได้ และการตรวจไตด้วยการตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติในปัสสาวะ ซึ่งจะสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของไต โดยสิ่งที่ควรรู้ในการตรวจไตมี ดังนี้

1. Creatinine (ครีเอตินีน)

Creatinine คือของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญของกล้ามเนื้อ ซึ่งไตจะทำหน้าที่กรอง Creatinine ออกจากเลือด หากค่า Creatinine สูง อาจบ่งบอกว่าไตทำงานได้ไม่ดี กรองของเสียไม่ดีเท่าที่ควร

  • ค่าปกติ Creatinine : ในผู้ชาย: 0.6-1.2 mg/dL และในผู้หญิง: 0.5-1.1 mg/dL

2. BUN (Blood Urea Nitrogen)

คือของเสียที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีน โดยไตจะทำหน้าที่กรอง BUN ออกจากเลือด หากค่า BUN สูง อาจบ่งบอกว่าไตทำงานได้ไม่ดี หรืออาจเกิดจากภาวะอื่นๆ เช่น ขาดน้ำ รับประทานอาหารโปรตีนสูง ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร เป็นต้น

  • ค่าปกติ BUN : ในผู้ใหญ่อยู่ที่ประมาณ 10 - 20 mg/dL และในเด็กอยู่ที่ประมาณ 5 - 18 mg/dL

3. eGFR (estimated Glomerular Filtration Rate)

เป็นการวัดอัตราการคัดกรองของเสียจากกระแสเลือดในไตต่อนาที เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของไตว่ามีปัญหาหรือไม่ โดยค่า eGFR ยิ่งมาก ยิ่งดี แสดงว่าไตทำงานได้ดี

  • ค่าปกติ: มากกว่า 90 mL/min/1.73 m²

4. Urine Analysis (UA)

Urine Analysis (UA) หรือการตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจเบื้องต้นจากของเสียในสถานะของเหลวที่ถูกไตคัดกรองออกมา เพื่อประเมินการรั่วของโปรตีนแอลบูมินในปัสสาวะ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือตะกอนผิดปกติอื่นๆ รวมถึงดูส่วนประกอบต่างๆ เช่น ความเป็นกรด-ด่าง ความถ่วงจำเพาะ น้ำตาล แบคทีเรีย หรือไวรัส เพื่อช่วยค้นหาความผิดปกติจากการทำงานของไตได้ 

5. Urine Protein/Creatinine Ratio (UPCR) หรือ Urine Albumin/Creatinine Ratio (UACR)

เป็นการตรวจวัดปริมาณโปรตีน (หรืออัลบูมิน) ในปัสสาวะ โดยนำมาเทียบกับปริมาณครีเอตินีน เพื่อประเมินปริมาณโปรตีนที่รั่วออกมาในปัสสาวะ

  • ค่าปกติ: UPCR < 150 mg/g และ UACR < 30mg/g

6. การตรวจอื่นๆ (Additional Tests)

ในบางกรณี แพทย์อาจพิจารณาให้ตรวจเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับอาการ ประวัติและผลการตรวจเบื้องต้น

  • Ultrasound ไต: ตรวจดูกายวิภาคของไต เช่น ขนาด, รูปร่าง, นิ่ว, ถุงน้ำ
  • CT Scan หรือ MRI ไต: ให้ภาพไตที่ละเอียดมากขึ้น
  • การตัดชิ้นเนื้อไต (Kidney Biopsy): ในบางกรณีที่ต้องการวินิจฉัยแยกโรคบางอย่างเช่นโรคไตอักเสบ หรือ ภาวะไตเสื่อมเรื้อรังที่หาเหตุไม่พบ เป็นต้น

เตรียมตัวอย่างไรก่อนตรวจไต ?

  • แจ้งประวัติโรคประจำตัว ยาประจำตัว วิตามิน อาหารเสริม สมุนไพรที่รับประทาน
  • งดอาหารและน้ำอัดลม น้ำหวาน และน้ำคาเฟอีนก่อนตรวจอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้
  • งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนเข้ารับการตรวจ 24 ชั่วโมง
  • งดออกกำลังกายหนักก่อนเข้ารับการตรวจ 24 ชั่วโมง
  • สำหรับผู้หญิงควรตรวจหลังจากหมดรอบประจำเดือนอย่างน้อย 7 วัน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของเลือดปนเปื้อนในปัสสาวะ

พร้อมดูแลไตและสุขภาพองค์รวมได้ครบ กับแพ็กเกจสุดคุ้มและตอบโจทย์ตามช่วงวัย

ที่โรงพยาบาลวิมุต เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลสุขภาพไตของคุณ ด้วยแพ็กเกจตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมการตรวจสุขภาพไตไว้อย่างครบครัน ให้คุณรับทราบสุขภาพแบบครบองค์รวมและสุขภาพไตได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ในโปรโมชันราคาสุดคุ้ม

ดูแลสุขภาพไตของคุณ

นี่คือข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจไต ต้องตรวจอะไรบ้าง แต่ละอย่างตรวจเพื่ออะไรและก่อนตรวจต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้คงเป็นเหตุผลที่กระตุ้นให้หลายคนเห็นความสำคัญได้บ้างว่าการตรวจไตเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญ เพราะโรคไตในระยะแรกมักไม่มีอาการ การตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชะลอความเสื่อมของไตและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างทันท่วงที 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์สุขภาพ ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 07:00 - 17:00 น. โทร. 0-2079-0034 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ


เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี แต่ละวัยเลือกตรวจแบบไหนดี ?

โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี 2566-2567 ที่ไหนดี ต้องนี่เลยโรงพยาบาลวิมุต รวมทุกแพ็กเกจเพื่อคนทุกวัยที่เราคัดสรรมาให้แล้วว่าแต่ละวัยต้องตรวจอะไรบ้าง ให้คุณพร้อมและมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
7 โรคร้ายพร้อมจู่โจม อุ่นใจรุ่นใหญ่ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้ชายวัย 50+

เตรียมพร้อมร่างกายสู่วัยเก๋าได้อย่างแข็งแรง ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้ชาย และ 7 โรคอันตรายของผู้ชายวัย 50+ ที่คุณต้องรู้และเตรียมรับมือให้พร้อม

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เสริมเกราะให้ร่างกายด้วยวัคซีนเสริม เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ทุกวัย

ใครว่าวัคซีนเสริมจำเป็นแค่กับเด็กกัน แต่สำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การฉีดวัคซีนสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้ถึง 1 ใน 3 ซึ่งจะมีวัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดมาดูกัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพประจำปี ต้องทำอะไรบ้าง?

7 ข้อควรรู้ ก่อนตรวจสุขภาพประจำปี ต้องทำอะไรบ้าง? ในบางครั้งจำเป็นต้องงดข้าว งดน้ำ และงดยาบางชนิด รวมทั้งต้องเตรียมเอกสารประกอบ เพื่อให้ได้รับผลการตรวจที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำ

อ่านเพิ่มเติม