10 สาเหตุอาการใจสั่น! สัญญาณที่คุณควรกลับมาใส่ใจสุขภาพ

14 พ.ค. 67  | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด
แชร์บทความ      

สาเหตุอาการใจสั่น!

10 สาเหตุอาการใจสั่น! สัญญาณที่คุณควรกลับมาใส่ใจสุขภาพ

อาการใจสั่น หลายคนอาจมองว่าเป็นเพียงอาการธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นและหายไปเองได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน แต่อีกนัยหนึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่กำลังบอกว่านี่คืออาการผิดปกติเบื้องต้นที่อาจพัฒนากลายเป็นโรคอื่นๆ ได้! ซึ่งภาวะและอาการของโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเต้นของหัวใจมักส่งผลถึงชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน หากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังมีอาการใจสั่น มาเช็กไปพร้อมกันว่าอาการใจสั่นที่เป็นอยู่เกิดจากอะไรได้ในบทความนี้

อาการใจสั่นเป็นอย่างไร?

ใจสั่น (Heart Palpitations) หรือ ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ เป็นอาการที่รู้สึกเจ็บแน่นตรงหน้าอกแปลบๆ มีความรู้สึกหวิวๆ ใจหาย หรือรู้สึกเหมือนกำลังตกจากที่สูง พบได้ทุกเพศ ทุกช่วงวัยตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ

รวมสาเหตุของอาการใจสั่น! ใจสั่นแล้วเสี่ยงต่อการเกิดโรคอะไร?

อาการใจสั่นจะแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุการเกิด หากเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวอาจไม่มีความรุนแรงต่อร่างกาย แต่หากมีอาการใจสั่นเกิดขึ้นบ่อยเกินไป อาจหมายถึงความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ ได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการใจสั่นมี ดังนี้ 

1. ใจสั่นจากการดื่มกาแฟ

บางคนดื่มกาแฟแล้วมีอาการใจสั่นเป็นเพราะในกาแฟมีสารคาเฟอีน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่ทำให้สมองตื่นตัว ร่างกายกระฉับกระเฉง หากดื่มมากเกินไปจึงอาจทำให้มีอาการใจสั่นได้ 

2. ใจสั่นจากการออกกำลังอย่างหนัก

การออกกำลังกายอย่างหนักทำให้หัวใจของเราเต้นเร็วขึ้น เพื่อที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ทัน จนอาจทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป หรือเต้นแรงไป ทำให้รู้สึกว่ามีอาการใจสั่นได้ แต่หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ร่วมกับอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย ขาบวม หน้ามืด เหมือนจะเป็นลม ควรหยุดออกกำลังกายทันที และแนะนำให้ตรวจเช็กสุขภาพ เพราะอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

ใจสั่นแล้วเสี่ยงต่อการเกิดโรคอะไร?

3. ใจสั่นจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

หากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีอาการเหงื่อออก สายตาพร่ามัว หน้ามืด มือสั่น และใจสั่นได้ ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่ลดน้ำหนักแล้วมีการอดอาหารร่วมด้วย หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป 

4. ใจสั่นจากภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ

การที่ร่างกายมีปริมาณน้ำในหลอดเลือดน้อยกว่าปกติ จะส่งผลต่อระบบไหลเวียนของเหลวและการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ไต สมอง ทางเดินอาหาร หรือกล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ทำให้เกิดอาการใจสั่น ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ ท้องผูก มึนหัว วิงเวียน ปวดศีรษะ ตาแห้ง หรือปากแห้งได้  

5. ใจสั่นจากการเป็นไข้ไม่สบาย

หากมีการติดเชื้อหรือเป็นไข้ไม่สบาย ร่างกายจะใช้พลังงานอย่างหนักในการต่อสู้กับเชื้อโรค นั่นจึงทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น สูบฉีดเลือดแรงและเร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการใจสั่นได้ 

6. ใจสั่นจากโรคไทรอยด์เป็นพิษ

การทำงานที่ผิดปกติของต่อมไทรอยด์สามารถทำให้เกิดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ส่งผลให้ฮอร์โมนที่มีปริมาณมากขึ้นนี้เข้าไปเร่งหรือกระตุ้นการทำงานของหัวใจ จนทำให้หัวใจเต้นเร็ว มีอาการใจสั่น มือสั่นได้ 

7. ใจสั่นจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หากมีอาการใจสั่นคล้ายกับจะหน้ามืด หรือมีอาการเวียนศีรษะในช่วงเวลาที่ใจสั่น อาจเป็นสัญญาณจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ซึ่งโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะก็มีหลายชนิด รวมถึงมีความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด 

8. ใจสั่นจากอาการแพนิค

เป็นอาการทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่อาจทำให้เกิดอาการใจสั่นหรือใจเต้นเร็วร่วมด้วย เมื่อมีอาการตื่นตระหนก ตกใจกับบางสถานการณ์ที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญ 

9. ใจสั่นจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

การใช้ยารักษาโรคบางชนิดอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการใจสั่นได้ เช่น ยาพ่นรักษาโรคหืดบางชนิดที่มีส่วนประกอบของสารกระตุ้นซาลบูทามอล (Salbutamol), ยาปฏิชีวนะ คลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin), ยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) หรือยาแก้แพ้ เทอร์เฟนาดีน (Terfenadine) 

10. ใจสั่นจากความเครียด หรือวิตกกังวล

เมื่อร่างกายเกิดความเครียดสะสมจะมีการหลั่งสารอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมา ทำให้มีผลต่อความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจ เพื่อให้ร่างกายพร้อมที่จะเผชิญความกลัว หรือความกังวลที่มีจนทำให้เกิดอาการใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ใจสั่น หายใจติดขัด และเจ็บหน้าอกคล้ายกับโรคหัวใจได้ 

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการรวบรวมต้นตอสาเหตุของอาการใจสั่นที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย หากคุณรู้สึกว่าร่างกายมีอาการใจสั่นเกิดขึ้นอย่างผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์และทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรครุนแรงในอนาคต 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 
ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 08:00-17:00  น. โทร. 0-2079-0042 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
พญ.ฐานิกา วุทธชูศิลป์ อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
พญ.ฐานิกา
วุทธชูศิลป์
อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!

อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง

มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
อาการเตือน เจ็บอกรุนแรง..อาจเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

เจ็บกลางอก ใจสั่น เวียนหัว หายใจหอบ สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ” มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค

ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้

อ่านเพิ่มเติม