วัณโรคไม่น่ากลัวอย่างที่คิด รู้ทัน รักษาหายขาดได้

27 พ.ค. 67  | ศูนย์อายุรกรรม
แชร์บทความ      

วัณโรคไม่น่ากลัวอย่างที่คิด รู้ทัน รักษาหายขาดได้

วัณโรคไม่น่ากลัวอย่างที่คิด รู้ทัน รักษาหายขาดได้

วัณโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เผยข้อมูลปี 2565 ว่ามีผู้ป่วยวัณโรค 111,000 ราย และเสียชีวิต 13,700 ราย มีอัตราความสำเร็จในการรักษา 85% ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคมากกว่าปีละ 10,000 ราย จึงถือได้ว่าวัณโรคยังเป็นปัญหาใหญ่ทางสาธารณสุข การมีความเข้าใจถึงสาเหตุและอาการของโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราปลอดภัยมากขึ้น วันนี้เราจึงอยากพาคุณมาทำความรู้จักวัณโรคให้มากขึ้นไปพร้อมกัน!

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB)

เป็นโรคติดเชื้อในอากาศจึงทำให้เชื้อโรคสามารถลงไปสู่ปอดได้ หรือที่เราเรียกกันว่า “วัณโรคปอด” นั่นเอง และยังสามารถเป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เช่น ที่ต่อมน้ำเหลือง กระดูก หรือเยื่อหุ้มสมอง อีกทั้งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ หรือผู้ป่วยที่มีเชื้อเอชไอวีจะได้รับเชื้อและเกิดวัณโรคง่ายกว่าคนทั่วไป จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อเรื้อรังที่อันตรายจนอาจส่งผลถึงชีวิตได้  

วัณโรคเกิดจากการติดเชื้ออะไร ติดต่อได้อย่างไร?

“วัณโรค” เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไมโคแบคทีเรียม ทูเบอคูโลซิส Mycobacterium tuberculosis (TB)  โดยเชื้อวัณโรคจะติดต่อจากคนไปสู่คนผ่านทางละอองเสมหะที่เกิดจากการไอ จาม การพูดคุยกับผู้ป่วยวัณโรค การใช้สิ่งของร่วมกัน หรือการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคติดต่อกันเป็นเวลานาน

วัณโรคเกิดจากการติดเชื้ออะไร

อาการต้องสงสัยที่เสี่ยงเป็น “วัณโรค”

เนื่องจากอาการวัณโรคเริ่มต้นติดเชื้อที่ปอดซึ่งเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ จึงใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 4 -8 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อในระยะแรกเริ่มอาจไม่ทันสังเกตเห็นอาการ แต่ถ้าคุณมีอาการเบื้องต้นเหล่านี้สามารถตั้งข้อสงสัยได้ว่ากำลังเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค 

  • ไอติดต่อกันเกิน 3 สัปดาห์ 
  • ไอมีเลือดปน 
  • น้ำหนักลด 
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร 
  • อาจมีไข้เรื้อรัง และมีไข้ต่ำๆ 
  • มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน 
  • มีอาการบวมที่คอ ใต้แขน หรือขาหนีบ เนื่องจากต่อมน้ำเหลืองโต

อาการวัณโรคมีกี่ระยะ?

ความรุนแรงของอาการวัณโรคจะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาที่เชื้ออยู่ภายในร่างกาย ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่

  • การติดเชื้อระยะแฝง (Latent TB) เป็นช่วงที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะยังไม่แสดงอาการใดๆ และไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ โดยเชื้อจะซ่อนตัวอยู่ในร่างกาย เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงจึงจะแสดงอาการออกมา 
  • ระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบ (Active TB) เป็นช่วงที่อาการวัณโรคเริ่มแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด รู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ เป็นต้น 

วิธีการรักษาวัณโรคมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

  1. ผู้ที่สงสัยว่ากำลังเสี่ยงวัณโรคควรเข้ารับการวินิฉัยจากแพทย์ก่อน เนื่องจากอาการเริ่มต้นของวัณโรคมีความคล้ายกันกับโรคอื่นๆ 
  2. แพทย์จะรักษาด้วยการให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยาจนยากต่อการรักษา
  3. เนื่องจากตัวยาจะฆ่าเชื้อได้อย่างช้าๆ การรักษาจึงต้องใช้เวลานาน หรืออย่างน้อย 6 เดือน กระบวนการรักษาจึงจะเริ่มต้นที่โรงพยาบาลแล้วต่อด้วยการให้ผู้ป่วยรักษาที่บ้าน 

วิธีการรักษาวัณโรค

ผู้ป่วยวัณโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม?

ถึงแม้ว่าวัณโรคจะเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายจนถึงชีวิต แต่ก็ยังสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีการคิดค้นยาที่มีประสิทธิภาพและลดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยได้ดี ดังนั้น หากรับประทานยาให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์ก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพได้ แต่ก็มีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำได้เช่นกันหากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบตามกำหนด
อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยบางรายที่ไม่ได้มีอาการที่เป็นสัญญาณของวัณโรคครบถ้วนดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งอาจจะมีเพียงแค่อาการไอ หรือมีเพียงไข้ต่ำๆ เรื้อรังเป็นๆ หายๆ แนะนำว่าควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองวัณโรคว่าได้รับเชื้อหรือมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ที่โรงพยาบาลวิมุตเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคติดเชื้อ คอยให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ตลอดระยะเวลาทำการ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ 
ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3  โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 07:00-20:00  น. โทร. 0-2079-0030 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ


แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.ตุลธร
วงศ์เมธานุเคราะห์
อายุรศาสตร์
โรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤตระบบการหายใจ
Card Image
รศ.นพ.ธีระศักดิ์
แก้วอมตวงศ์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด

เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด

โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ

รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม