ภูมิแพ้อากาศ คันจมูก คันตา จามบ่อย มีวิธีรักษายังไงบ้าง?

04 พ.ค. 66  | ศูนย์หู คอ จมูก
แชร์บทความ      

ภูมิแพ้อากาศ คันจมูก คันตา จามบ่อย มีวิธีรักษายังไงบ้าง?

โรคภูมิแพ้อากาศ เป็นอีกอาการภูมิแพ้ที่พบมากในประเทศไทย ผู้ที่มีปัญหาภูมิแพ้อากาศคงต้องเคยรู้สึกเบื่อหน่ายกับอาการภูมิแพ้ของตัวเองบ่อยๆ ใช่หรือไม่ เพราะนอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตแล้ว ยังต้องคอยดูแลตัวเองมากกว่าคนทั่วไป เพราะเพียงแค่อากาศเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยก็อาจส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการภูมิแพ้อากาศได้ เราจึงจำเป็นต้องมาทำความรู้จักโรคภูมิแพ้อากาศให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ป้องกันและรักษาได้ถูกต้องและปลอดภัย

ภูมิแพ้อากาศคืออะไร ?

ภูมิแพ้เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ไวกว่าปกติ  ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก จาม คันจมูก คันตา

ภูมิแพ้อากาศต่างจากไข้หวัดอย่างไร ?

หวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูก ไอ เจ็บคอ บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย โดยอาการมักหายได้เองภายใน 10 วัน ส่วนภูมิแพ้อากาศอาการมักจะเป็นแบบเรื้อรัง โดยจะเป็นๆ หายๆ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ ผู้ป่วยจะมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ จาม คันตา คันจมูก ไม่มีไข้

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้อากาศ

  1. กรรมพันธุ์ พ่อแม่ที่มีอาการภูมิแพ้ หรือหอบหืด ลูกมีโอกาสเป็นภูมิแพ้มากถึง 50-70% 
  2. สภาพอากาศ การอยู่ในที่ที่อากาศเปลี่ยนแปลงไปมา อากาศเย็น หรืออากาศร้อนเกินไป หรือมีความชื้นมาก 
  3. สภาพแวดล้อม หากอาศัยอยู่ในที่ที่มีสารก่อระคายเคือง หรือสารก่อภูมิแพ้อาจเสี่ยงที่จะเกิดอาการกำเริบได้บ่อยกว่าปกติ เช่น ควันบุหรี่ ฝุ่น มลพิษทางอากาศ ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์

สิ่งใดสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้อากาศได้บ้าง ?

  1. อากาศเปลี่ยนแปลง อากาศเย็น ความชื้น ฝนตก
  2. ควันบุหรี่ สารเคมี ฝุ่นควัน มลพิษในอากาศ
  3. สเปรย์ผม น้ำหอม
  4. ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้

วิธีดูแลตัวเองเมื่ออาการภูมิแพ้อากาศมาเยือน…

  1. หลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ 
  2. รักษาด้วยยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ (Steroid) ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก เป็นต้น 
  3. ฉีดวัคซีนภูมิแพ้ ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำวิธีนี้แก่ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่หาย 
  4. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิก นอกจากช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้ความไวของหลอดลม และเยื่อบุจมูกลดลงด้วย จึงทำให้อาการภูมิแพ้ดีขึ้นได้

วิธีการรักษาภูมิแพ้อากาศที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นการหลีกเลี่ยงจากต้นเหตุ คือ พยายามอยู่ห่างจากสารก่อภูมิแพ้ให้ได้มากที่สุด เพราะอาการภูมิแพ้แต่ละคนไม่เหมือนกันจึงต้องการการรักษาที่แตกต่างกัน อีกทั้งโรคภูมิแพ้อากาศยังมีแนวทางการรักษาที่หลากหลาย การมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ดังนั้นเมื่อคุณสงสัยว่ามีอาการภูมิแพ้อากาศควรมาพบแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงของอาการกำเริบในอนาคต พร้อมทั้งลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจจะตามมาภายหลัง 

เรียบเรียงโดย พญ. นิชนันท์ นนทชัยภูมิ แพทย์ผู้ชำนาญการโสต ศอ นาสิก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต

เวลาทำการ 08.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0050 

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์


แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
พญ.นิชนันท์
นนทชัยภูมิ
แพทย์ผู้ชำนาญการโสต ศอ นาสิก

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
เวียนหัว บ้านหมุน เหมือนจะอาเจียน ใช่อาการหินปูนในหูเคลื่อนหรือไม่

โรคหินปูนในหูเคลื่อน อีกหนึ่งสาเหตุยอดฮิตของผู้ที่มักมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน เสียการทรงตัว เช็กพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคพร้อมวิธีดูแลเมื่อเกิดอาการที่ถูกต้องได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เปลี่ยนท่านอนให้ถูกต้อง ลดปัญหาสุขภาพ หลับสบาย

การนอนท่านอนที่ถูกต้องช่วยเสริมการนอนหลับให้ดีขึ้น ช่วยลดความเจ็บปวดของร่างกายและทำให้หลับลึก หลับสบาย เพิ่มประสิทธิภาพการพักผ่อนอย่างเต็มที่ เช็กท่านอนที่เหมาะสมพร้อมกันที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ค้นคำตอบ อาการบ้านหมุน เวียนหัว คลื่นไส้ เกิดจากอะไรกันนะ?

หากคุณกำลังมีอาการเวียนหัว สิ่งต่างๆ หมุนรอบตัว พะอืดพะอม คลื่นไส้ คุณอาจกำลังเผชิญกับอาการบ้านหมุน แต่ไม่ต้องกังวลเรามีวิธีดูแลตัวเอง วิธีรักษาอาการบ้านหมุน รวมถึงสาเหตุเกิดจากอะไรมาให้ทุกคนได้คลายกังวลแล้วที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
คัดจมูก หายใจไม่สะดวก ล้างจมูกด้วยตัวเองได้ง่ายๆ

กลุ่มเด็กเล็กที่มีน้ำมูกและผู้ใหญ่ที่แพ้ฝุ่น ไม่สบายจมูก ควรให้ความสำคัญในการล้างจมูกขจัดเชื้อโรคป้องกันภูมิแพ้ ดูขั้นตอนการล้างจมูกที่ถูกต้องและปลอดภัยได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม