รู้ทันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้
เชื่อว่าต้องมีหลายคนที่เคยได้ยินเกี่ยวกับ “โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง” กันมาบ้างไม่มากก็น้อย อาจจะแค่ผ่านๆ หรือเคยพบเห็นคนที่เป็นโรคนี้อยู่บ้าง แต่รู้หรือไม่โรคนี้เป็นภัยเงียบที่น่ากลัว ที่สามารถทำให้กล้ามเนื้อของคุณอ่อนแรง เสื่อมสภาพลงได้อย่างต่อเนื่อง และอาจร้ายแรงถึงชีวิตได้ ในบทความนี้เราจึงชวนทุกคนมาทำความเข้าใจกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงให้มากขึ้น ตั้งแต่สาเหตุการเกิด อาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่สังเกตได้ เพื่อป้องกันและดูแลสุขภาพของตัวเองและคนที่คุณรัก
กล้ามเนื้ออ่อนแรงคืออะไร มีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นภาวะที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเสื่อมสภาพลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มีแรงทำอะไร ขยับร่างกายส่วนต่างๆ ได้ลำบาก หรือถ้าเป็นรุนแรงจะมีกล้ามเนื้อลีบ ซึ่งหากภาวะนี้เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้
ซึ่งโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ การติดเชื้อ ความผิดปกติของระบบประสาท หรือแม้กระทั่งปัญหาทางพันธุกรรมก็สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้
3 กลุ่มโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่พบได้บ่อย
แม้ว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะเกิดจากปัญหาของกล้ามเนื้อ แต่ทั้งนี้ต้นตอสาเหตุจริงๆ ที่ทำให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติไปนั้นเกิดจากกลุ่มโรคที่พบได้บ่อยๆ 3 โรค ดังนี้
1. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS)
สาเหตุโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS : โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดนี้มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (Motor neuron) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวในสมองและไขสันหลัง เกิดการเสื่อมสภาพ ถูกทำลาย หรือมีจำนวนน้อยลง ทำให้การสั่งการไปไม่ถึงกล้ามเนื้อ จนทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงในที่สุด
ลักษณะอาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS : ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงกล้ามเนื้อบริเวณมือ เท้า แขน หรือขาอ่อนแรงและลีบลง โดยจะเริ่มจากฝั่งใดฝั่งหนึ่งก่อน และจากนั้นจะกระจายไปยังอีกข้าง รวมถึงกล้ามเนื้ออื่นๆ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการพูด พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง กลืนลำบาก สักลักบ่อย เหนื่อยง่ายโดยเฉพาะเมื่อนอนราบเนื่องจากกล้ามเนื้อควบคุมการหายใจอ่อนแรง และอาจนำไปสู่ภาวะหายใจล้มเหลวได้
การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS : โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด มีเพียงการดูแลแบบประคับประคอง รักษาตามอาการ และใช้ยาเพื่อชะลอความรุนแรงของโรค (Disease-modifying treatment) รวมถึงการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ดีเพียงเท่านั้น
2. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง Myasthenia Gravis (MG)
สาเหตุโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG : สำหรับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในชนิดนี้มักพบบ่อยมากที่สุด โดยมีสาเหตุการเกิดมาจากความผิดปกติของต่อมไทมัสที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาทำร้ายตัวเอง โดยสร้างแอนติบอดีให้ทำลายและยับยั้งการส่งสัญญาณของสารสื่อประสาทที่อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างปลายประสาทกับกล้ามเนื้อ ซึ่งทำให้เส้นประสาทไม่สามารถส่งสัญญาณให้กับกล้ามเนื้อได้ จึงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ลักษณะอาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG : ลักษณะอาการมักจะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อมัดที่ใช้เป็นประจำ โดยมักมีอาการเปลือกตาตก มองเห็นภาพซ้อน โฟกัสภาพไม่ได้ พูดไม่ชัด กลืนลำบาก สำลักง่าย เสียงเปลี่ยนขึ้นจมูก แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก รวมถึงเคลื่อนไหวและหายใจไม่สะดวก
การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG : แพทย์จะให้ยาที่ช่วยลดการทำลายสารสื่อประสาท (Cholinesterase inhibitor) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีแรงมากขึ้น และยาสเตียรอยด์ ยาปรับภูมิคุ้มกัน เพื่อกดสารภูมิคุ้มกันที่สร้างมาทำร้ายตัวเอง การกายภาพบำบัด รวมถึงการผ่าตัดต่อมไทมัสหากพบว่ามีเนื้องอกที่ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง
3. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง Spinal Muscular Atrophy (SMA)
สาเหตุโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA : สาเหตุการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด SMA นั้นเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กในช่วง 2 ขวบปีแรกมากที่สุด เป็นโรคที่สามารถพบได้ตั้งแต่เป็นเด็กทารก ตลอดจนเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งมีต้นตอเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่ไม่มียีน SMN1 ยีนที่คอยทำหน้าที่ผลิตโปรตีนเพื่อควบคุมระบบประสาทควบคุมกล้ามเนื้อ จึงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้
ลักษณะอาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA : เซลล์เส้นประสาทที่เสื่อมสภาพเพราะไม่มีโปรตีนในการควบคุมประสาทนี้จากพันธุกรรม มักเป็นเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ การกลืน และการเคลื่อนไหวของแขนขา จึงทำให้ผู้ป่วยโรคนี้จะเริ่มไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ ทั้งการเคลื่อนไหว แขน ขาชา ไม่มีแรง มีปัญหาในการกลืนอาหาร หรือการหายใจ จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้
การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA : โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด SMA สามารถรักษาได้ด้วยยีนบำบัดและยาที่มีผลต่อยีน ซึ่งการรักษานี้หากใช้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการเสื่อมของกล้ามเนื้อ หรือรักษาได้ก่อนอายุ 6 สัปดาห์ จะได้ผลดีที่สุด แต่ถ้ามีอาการแล้วจะเป็นการรักษาแบบประคับคอง เพื่อชะลอความรุนแรงของโรค ทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
แม้ว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะฟังดูแล้วเป็นเรื่องไกลตัว แต่ก็เป็นโรคที่อันตรายต่อชีวิตไม่แพ้โรคอื่น ดังนั้น การรู้จักและเข้าใจโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมในการรับมือและดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น และสุดท้ายนี้หากพบว่าตัวคุณเอง หรือคนที่คุณรักมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เป็นต่อเนื่องและรุนแรงขึ้น หรือมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดินผิดปกติ ไม่มีแรงยกของ พูดไม่ชัด กลืนลำบาก หาายใจไม่สะดวก ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 17:00 น. โทร. 0-2079-0068
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่