โรควิตกกังวลในวัยทำงาน อันตรายกว่าที่คุณคิด

11 เม.ย. 66  | ศูนย์สุขภาพใจ ปรึกษาจิตแพทย์
แชร์บทความ      

โรควิตกกังวลในวัยทำงาน อันตรายกว่าที่คุณคิด

เพราะความกลัวหรือกังวลเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงขณะของการใช้ชีวิต เราทุกคนต่างมีความรู้สึกวิตกกังวลได้แบบไม่เลือกเวลา หากกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย หรือกลัวที่จะเผชิญหน้ากับบางสิ่ง แต่การวิตกกังวลมากเกินไปนั้นส่งผลเสียต่อร่างกายได้จนอาจเกิดเป็น “โรควิตกกังวล” ที่ต่อยอดเป็นความทุกข์ ทรมาน บั่นทอนการใช้ชีวิตในหลายๆ ด้าน ทั้งการเรียน การทำงาน หรือแม้แต่การเข้าสังคม หลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับโรคนี้อยู่อย่างเงียบๆ บางคนอาจเคยได้ยินผ่านหูมาบ้างแต่ยังนึกภาพไม่ออก และยังไม่เข้าใจถึงอาการที่ชัดเจนนัก วันนี้เราจะพาคุณไปเช็กพร้อมกันว่ามีอาการใดบ้างที่เป็นสัญญาณของโรควิตกกังวล 

กังวลระดับไหน ถึงเป็นโรควิตกกังวล ?

ความวิตกกังวล เป็นสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจนัก เป็นกระบวนการคิดหรือการประเมินสถานการณ์ที่ยังมาไม่ถึง จากประสบการณ์หรืออดีตของบุคคลนั้นๆ หากมีการคิด วิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรควิตกกังวลได้

โรควิตกกังวล เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่เกิดจากความกดดันทางด้านสังคม ทั้งจากการเรียน การทำงาน สังคมเพื่อนรอบข้าง ความเครียดสะสม และมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานหรือสารเคมีในสมองร่วมด้วย เช่น เซโรโทนิน (Serotonin), นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และโดพามีน (Dopamine )เมื่อสารเหล่านี้ขาดความสมดุล การควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆ ของสมองจะทำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดโรควิตกกังวลตามมา ทั้งนี้ โรควิตกกังวลเป็นโรคทางจิตใจที่พบได้บ่อย จนส่งผลให้เกิดเป็นอาการที่แสดงออกทางร่างกายจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ในหลายๆ สถานการณ์ และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันในท้ายที่สุด

อาการของโรควิตกกังวล

อาการของโรควิตกกังวลสามารถเกิดขึ้นได้หลายแบบ เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดอาการเหล่านี้ จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งอาจเกิดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 5-6 เดือน

  1. กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หงุดหงิด 
  2. ใจสั่น มือสั่น เสียงสั่น 
  3. คลื่นไส้ ปากแห้ง ปวดศีรษะ
  4. กล้ามเนื้อตึงเกร็ง มือเท้าเย็น เหงื่อออก
  5. นอนไม่หลับ กลัว ไม่สบายใจ
  6. อ่อนล้า เหนื่อยง่าย 
  7. ใจลอย ขาดสมาธิ

วิธีการรักษาโรควิตกกังวล มีอะไรบ้าง ?

สำหรับอาการที่ไม่รุนแรง หรือผู้ที่มี “ภาวะวิตกกังวล” แต่ยังไม่เข้าข่ายเกณฑ์การวินิจฉัยเป็น “โรควิตกกังวล” สามารถฝึกรับมือและจัดการกับความเครียด ด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบหรือรู้สึกผ่อนคลาย เช่น ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง การมีปฏิสัมพันธ์ พูดคุย ปรึกษากับคนรู้ใจ กำลังใจจากตนเองและคนรอบข้าง การปรับเปลี่ยนความคิด ฝึกปล่อยวาง เหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวลให้เบาบางลงได้

หากลองพยายามรับมือและจัดการกับความวิตกกังวลแล้ว แต่อาการวิตกกังวลยังคงรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีอาการเข้าข่าย และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น “โรควิตกกังวล” สามารถใช้วิธีการรักษาร่วมกัน ดังนี้ 

  • วิธีรักษาโรควิตกกังวลด้วยยา เพื่อปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง มีการนำยาหลายกลุ่มมาใช้ในผู้ป่วยโรควิตกกังวล เช่น ยาระงับอาการวิตกกังวล ยาควบคุมอาการทางร่างกาย 
  • วิธีรักษาโรควิตกกังวลด้วยการทำจิตบำบัด เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม เน้นการรักษาไปที่การพูดคุยเป็นหลัก ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความคิดและอารมณ์ของตัวเอง จนสามารถควบคุมอาการทางร่างกายและจัดการกับอารมณ์ภายในได้ 

สุขภาพร่างกายที่ดีควรเริ่มต้นที่สุขภาพจิตใจที่ดีเช่นกัน ความวิตกกังวลที่มากเกินกว่าปกติจึงจำต้องถูกจัดการให้ลดลงอย่างถูกต้อง หันมาดูแลปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อสุขภาพจิตใจและร่างกายที่ดีขึ้นด้วยตนเอง เพราะปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงจิตแพทย์และนักจิตบำบัดกันมากขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าอายที่จะเข้ารับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ และควรฝึกสติเพื่อให้รู้ทันอารมณ์ของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการกลับมาของอาการวิตกกังวลในอนาคต 

เรียบเรียงโดย พญ.เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ จิตแพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจิตเวช 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์สุขภาพใจ ปรึกษาจิตแพทย์ ชั้น 18  โรงพยาบาลวิมุต

เวลาทำการ 08.00 - 18.00 น. โทร. 0-2079-0078 

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ


แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
พญ.เพ็ญชาญา
อติวรรณาพัฒน์
จิตแพทย์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจิตเวช

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
“ตระหนักแต่ไม่ตระหนก” 2 ข้อควรรู้ สู้ทั้งฝุ่นทั้ง COVID แบบจิตไม่ตก

ในภาวะที่ฝุ่น PM 2.5 กลับมาเข้าขั้นวิกฤตอีกครั้ง กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อมรายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 แล้วพบว่าเกินค่ามาตรฐานถึง 70 พื้นที่ทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เช็กอาการ…แบบนี้ใช่ซึมเศร้าไหม กับแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อ

หากคุณมีอาการเครียด นอนไม่หลับ เศร้า ซึม เบื่อหน่าย ร้องไห้บ่อย หรืออยากฆ่าตัวตาย มาเช็กสุขภาพจิตเบื้องต้นว่าเป็นซึมเศร้าไหม ด้วยแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อนี้กัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
วิธีสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ เหตุคนไทยเครียดซึมเศร้า ยังไม่ติดโควิดแต่สุขภาพจิตใกล้โคม่า

แต่ไหนแต่ไรมาปัญหาสุขภาพจิตก็ถือเป็นภัยที่คุกคามชีวิตของคนทั่วโลกอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ในญี่ปุ่นมียอดการฆ่าตัวตายสูงถึง 17,000 ราย หลังจากเผชิญกับโรคไปได้แค่ 4 เดือน ในขณะที่ประเทศไทยก็มีอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นถึง 22% และการระบาดระลอกใหม่นี้เอง จะเห็นได้ว่าผู้คนยิ่งมีความวิตกกังวลเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังไม่มีท่าทีที่จะลดลง แต่ในขณะเดียวกันเราก็ยังต้องใช้ชีวิตประจำวัน ต้องออกจากบ้านไปทำงาน มีการพบเจอผู้คน ท่ามกลางความหวาดระแวงว่าจะติดเชื้อหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เข้าถึงโลกของผู้สูงอายุด้วยหัวใจ สร้างสุขภาพจิตอย่างไรให้เวิร์ก

ทำไมคนแก่ขี้งอนบ่อย น้อยใจเก่ง อารมณ์แปรปรวนบ่อยๆ ? มาทำความเข้าใจโลกของผู้สูงอายุให้มากขึ้น กับปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่คนในครอบครัวต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

อ่านเพิ่มเติม