ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ความคุ้นชินกับกิจวัตรประจำวันเดิมๆ ที่ดำเนินอยู่ทุกวันซ้ำๆ ดูเหมือนจะเป็นไปโดยสัญชาตญาณแบบอัตโนมัติ โดยที่สมองไม่ได้ใช้พลังงานและยังไม่ได้รับการกระตุ้นที่มากพอ มาเพิ่มความฟิตให้สมองก่อน Expired ด้วยการฝึกสมองผ่านกิจกรรมที่สนุกและหลากหลาย พร้อมได้บริหารสมองโดยตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา-ดู, หู-ฟัง, ลิ้น-ชิมรส, จมูก-ดมกลิ่น และมือ-สัมผัส นอกจากช่วยให้สมองมีความฉับไวและชะลอความเสื่อมแล้ว ยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ และภาวะหลงลืมก่อนวัยได้ด้วย
สมองเสื่อม หลงลืมบ่อย กับอาการที่ต้องสังเกต
สมองเสื่อม คือภาวะที่สมองมีประสิทธิภาพลดลง ค่อยๆ สูญเสียหน้าที่ในการทำงานหลายส่วนลงอย่างช้าๆ โดยปกติมักเกิดในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป แต่ขณะเดียวกันภาวะสมองเสื่อมก็สามารถเกิดในวัยหนุ่มสาวช่วงอายุ 30-65 ปี ได้เช่นกัน โดยแรกเริ่มผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านความจำบกพร่องเพียงเล็กน้อย เช่น คิดคำพูดไม่ออก นึกถึงเรื่องที่เพิ่งผ่านมาเมื่อครู่ก่อนหน้าไม่ได้ วางของผิดที่ผิดทาง มีปัญหาในการลำดับเวลาและทิศทาง เป็นต้น ซึ่งอาจยังไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันมากนักจึงละเลยไม่คิดว่าเป็นปัญหา แต่เมื่อนานวันผ่านไปอาการหลงลืมเหล่านี้จะยิ่งมากขึ้นถึงขั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลกับการตัดสินใจ การควบคุมอารมณ์ และส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง ซึ่งเราสามารถแยกความหลงลืมตามวัย กับภาวะสมองเสื่อมได้ดังนี้
- ภาวะสมองเสื่อมที่นำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ : ผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจไม่ได้มีเพียงการหลงลืม แต่มีภาวะอื่นๆ ที่ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวเอง จำต้องอาศัยการสังเกตจากคนรอบข้าง อย่างภาวะเครียด แยกตัวออกจากสังคม มีมุมมองการกะระยะผิดพลาด บอกความแตกต่างของสีไม่ได้ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป พูดหรือสื่อสารไม่ได้ใจความ และลืมเรื่องง่ายๆ อย่างสถานที่ที่เพิ่งไปมา หรือเหตุการณ์ในวันสำคัญ การเสื่อมของสมองจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันในที่สุด
- ภาวะหลงลืมตามวัยโดยทั่วไป : สมองของเรามีความถดถอยลงตามวัย และเห็นได้ชัดเจนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุผ่านอาการหลงลืมในเรื่องที่ทำอยู่เป็นประจำ แต่เมื่อได้เวลาคิดเล็กน้อยก็สามารถจดจำข้อมูลเหล่านั้นได้ ยังคงจดจำเรื่องราวสำคัญได้ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างได้ตามปกติ แม้มีอาการหลงลืมให้พบอยู่บ้าง อย่างการลืมจุดจอดรถ ลืมว่าตัวเองถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วหรือยัง แต่ความขี้ลืมเหล่านี้เกิดจากการขาดสมาธิขณะที่กำลังทำกิจกรรมไม่ใช่ภาวะสมองเสื่อม การบำบัดด้วยการทำกิจกรรม ฝึกสมาธิ และวิธีต่างๆ จึงมีส่วนในการช่วยชะลอภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้
5 วิธีฝึกสมองให้ฟิต ชะลอความเสื่อมโรคสมองผ่านประสาทสัมผัสที่ทำได้ด้วยตัวเอง
1. ลับสมองผ่านสายตา
เมื่อใช้สายตามองสิ่งเดิมทุกวัน ไม่นานเราจะใช้วิธีกวาดสายตาแบบผ่านๆ ด้วยความเคยชิน ลองมองของที่เห็นอยู่ทุกวันในทิศทางตรงกันข้าม อย่างภาพวาดบนผนังจากที่เคยวางเป็นแนวตั้งก็กลับหัวลง จะได้มุมมองใหม่ผ่านการมองอย่างละเอียด เพื่อให้สมองได้ตีความสิ่งที่ตาเห็นซับซ้อนมากขึ้น หรือลองหันมาเล่นเกมจับผิดภาพ ใช้สายตาฝึกการสังเกตและทักษะทางความคิด นอกจากช่วยแก้เบื่อได้เป็นอย่างดีแล้วยังเป็นวิธีบริหารสมองที่ยอดเยี่ยมด้วย
2. ลับสมองผ่านจมูก
ความคุ้นชินกับกลิ่นต่างๆ รอบตัว ทั้งที่มีในห้องนอน กลิ่นของเครื่องดื่มรสโปรดในทุกเช้า น้ำหอมขวดเดิมที่เคยคุ้น และกลิ่นจากทุกกิจวัตรประจำวัน ส่งผลให้สมองจดจำกลิ่นเหล่านั้นได้ทุกรายละเอียด ลองเปลี่ยนกลิ่นอื่นๆ เข้ามาทดแทนเพื่อเป็นการกระตุ้นต่อมความสามารถในการรับกลิ่นของสมอง และสลับกลิ่นใหม่ในทุกสัปดาห์ เปิดให้สมองได้เรียนรู้ และเพิ่มความสามารถในการจดจำกลิ่นใหม่อยู่เสมอ
3. ลับสมองผ่านลิ้นชิมรส
มาฝึกสมองท้าทายต่อมรับรสด้วยการลองลิ้มรสอาหารแปลกใหม่ที่มีรสชาติซ้อนไว้มากกว่าตาเห็น มาชาเลนจ์ตัวเองด้วยการพยายามระบุส่วนผสมที่ใช้ในจานอาหาร หรืออาจใช้โอกาสนี้ในการทดลองสร้างสรรค์ปรุงอาหารเมนูใหม่ โดยไม่ต้องยึดถือกฏเกณฑ์ความอร่อยมากเกินไปแต่เน้นให้ได้อรรถรส ก็เป็นการกระตุ้นสมองซีกขวา (Right hemisphere of cerebrum) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมความสามารถทางด้านศิลปะ งานประดิษฐ์ และการคิดค้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วยังได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายส่วนประสานกันในคราวเดียว
4. ลับสมองผ่านการอ่าน (ออกเสียง)
การเปล่งเสียงมีพลังกระตุ้นการเรียนรู้และจดจำ ปล่อยหน้าที่ให้สมองส่วน Wernicke's area ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ควบคุมความเข้าใจภาษาและเป็นโกดังคำศัพท์เสียงช่วยสร้างแรงเสริมให้สมองที่เริ่มอ่อนล้ากลับมาตื่นตัว พร้อมกับให้สมองส่วน Broca’s Area ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมการพูดและการออกเสียงให้ทำงานประสานกัน เหล่านี้เป็นวิธีที่ช่วยลดภาวะความถดถอยของสมองได้ดี
5. ลับสมองผ่านการสัมผัส
ร่างกายที่เคลื่อนไหวไปโดยความคุ้นชิน เป็นเหตุให้สมองสั่งการโดยขาดแรงกระตุ้น ลองหันมาทำกิจวัตรประจำวันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด อย่างการแปรงฟันด้วยมืออีกด้าน หรือสลับมือเมื่อต้องการใช้กรรไกร เล่นเกมเป่ายิงฉุบ ออกท่าทางกำแบ บริหารนิ้วมือและข้อพับ อันเป็นแหล่งรวมเส้นประสาทและเส้นเลือดที่เชื่อมโดยตรงถึงสมอง ช่วยเพิ่มความรู้สึกตื่นตัว แม้ในช่วงต้นๆ ของการฝึกจะดูกุกกักไม่ราบรื่นเท่าใดนัก แต่วิธีนี้กลับช่วยให้สมองได้ออกแรงควบคุมร่างกายแบบไม่ให้หยุดนิ่ง
อาการหลงลืมสิ่งเล็กๆ ในช่วงแรก อาจเป็นสัญญาณให้เห็นว่าคุณควรหันมาใส่ใจ ‘สมอง’ ได้แล้ว อยากให้สมองสดใสจดจำคนที่รักไปได้ยาวนาน ลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้วันละนิด ค่อยๆ ฝึกให้สมองได้เกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ร่วมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพกายใจให้เบิกบานอยู่เสมอ เท่านี้ความเฟิร์มแอนด์ฟิตก็เป็นสิ่งที่คุณพิชิตได้ แถมยังห่างไกลโรคทางสมองอีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต
เวลา 08.00-20.00 น. โทร 0-2079-0068
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ได้
เรียบเรียงโดย นพ. กฤตวิทย์ รุ่งแจ้ง อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

เช็กอาการพาร์กินสัน อาการสั่นที่ไม่ควรมองข้าม
หากคุณมีอาการมือสั่น ตัวเกร็ง ลุกยืน หรือก้าวเดินได้ช้าและลำบากมากขึ้น รวมถึงแขนขากระตุกบ่อยๆ ตอนหลับ คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันได้ มาเช็กอาการพร้อมแนวทางการรักษาได้ที่นี่

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

เช็กอาการพาร์กินสัน อาการสั่นที่ไม่ควรมองข้าม
หากคุณมีอาการมือสั่น ตัวเกร็ง ลุกยืน หรือก้าวเดินได้ช้าและลำบากมากขึ้น รวมถึงแขนขากระตุกบ่อยๆ ตอนหลับ คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันได้ มาเช็กอาการพร้อมแนวทางการรักษาได้ที่นี่

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

เช็กอาการพาร์กินสัน อาการสั่นที่ไม่ควรมองข้าม
หากคุณมีอาการมือสั่น ตัวเกร็ง ลุกยืน หรือก้าวเดินได้ช้าและลำบากมากขึ้น รวมถึงแขนขากระตุกบ่อยๆ ตอนหลับ คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันได้ มาเช็กอาการพร้อมแนวทางการรักษาได้ที่นี่