มะเร็งเต้านม ภัยเงียบใกล้ตัวผู้หญิงที่ควรเฝ้าระวัง
ในปัจจุบันผู้คนมีความตื่นตัวและเฝ้าระวังอาการมะเร็งเต้านมกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นโรคในกลุ่มมะเร็งที่พบได้มากกรมอนามัยเผยข้อมูลสถิติของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าหญิงไทยป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมสูงสุด จำนวน 38,559 ราย ในปี 2565 ซึ่งพบมากที่สุดในหญิงอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 19,776 คน จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าโรคมะเร็งเต้านมเป็นภัยเงียบที่อันตราย ผู้หญิงทุกคนจึงควรตรวจสอบเฝ้าระวังความผิดปกติของเต้านมอย่างสม่ำเสมอ วันนี้เราจึงอยากพาคุณมาทำความเข้าใจโรคนี้ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีเมื่อพบความผิดปกติ
เหตุผลที่คุณควรใส่ใจตรวจหาความเสี่ยงอาการมะเร็งเต้านม
หากผู้หญิงเรามีความตื่นตัวและให้ความสนใจโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น จะเป็นผลดี เพราะจะทำให้ตรวจพบโรคในระยะแรกเริ่ม และส่งผลให้การรักษาได้ผลดีตามไปด้วย เนื่องจากในระยะแรกมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ แต่จะปรากฏความผิดปกติให้เห็นเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่ หรืออยู่ในระยะที่มีการอักเสบและลุกลามไปทั่วแล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงขึ้น
วิธีการรักษามะเร็งเต้านมนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า การให้ยาฮอร์โมน รวมถึงการรักษาด้วยภูมิคุ้มกัน แพทย์จะใช้วิธีการรักษาใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะ และชนิดของโรคมะเร็ง รวมไปถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วย หากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก มะเร็งยังไม่กระจาย จะมีโอกาสหายขาดและไม่กลับมาเป็นซ้ำได้มากขึ้น
สัญญาณหรืออาการบ่งชี้ที่เข้าข่ายเป็นมะเร็งเต้านม
ความผิดปกติที่อาจบ่งชี้ถึงโรคมะเร็งเต้านม มีอาการ ดังนี้
- คลำพบก้อนที่เต้านม หรือรักแร้
การคลำพบก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้ ทั้งกดเจ็บหรือไม่เจ็บ และก้อนนั้นมีขนาดโตขึ้น สามารถขยับได้หรืออาจติดแน่นกับผนังหน้าอกก็ได้
- ผิวหนังบริเวณเต้านมมีความผิดปกติ
กรณีที่มะเร็งมีการลุกลามมาที่ผิวหนังอาจทำให้เกิดความผิดปกติได้ เช่น ผิวบวมเหมือนผิวส้ม เป็นรอยบุ๋ม บวมแดง เป็นแผลไม่หาย หรือผิวบริเวณหัวนมหนาตัว และเป็นแผล
- ขนาด หรือรูปร่างเต้านมผิดปกติ ไม่เท่ากัน
ในกรณีที่ก้อนบริเวณเต้านมมีขนาดใหญ่ อาจทำให้เต้านมข้างนั้นๆมีขนาด หรือรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป กรณีที่ก้อนเนื้องอกมีการดึงรั้งอาจทำให้เต้านมผิดรูป หรือมีรอยบุ๋มที่ผิว
- มีของเหลวไหลออกมาจากหัวนม
มีน้ำเหลือง เลือด หรือสารคัดหลั่งไหลออกมาจากหัวนม
- มีอาการเจ็บหน้าอก หรือบริเวณเต้านม
มีอาการเจ็บ คัดตึงหน้าอก หรือปวดแบบผิดปกติที่บริเวณเต้านมโดยไม่ได้อยู่ในช่วงที่มีประจำเดือน
- หัวนมมีอาการผิดปกติ
หัวนมมีลักษณะบุ๋มเข้า โดยไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดจากการผ่าตัด มีอาการคัน หรือเป็นแผล
ผู้หญิงควรตรวจเต้านมด้วยตัวเอง เป็นประจำทุกเดือน หลังประจำเดือนมาประมาณ 1 สัปดาห์ |
หากคุณพบความผิดปกติข้อใดข้อหนึ่งดังที่กล่าวมา แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ เพราะมะเร็งเต้านมหากพบไวโอกาสรักษาหายขาดก็มีเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้น ที่โรงพยาบาลวิมุต เรามีแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม หรือเครื่องเอกซเรย์เต้านมแบบ 3 มิติ ซึ่งนอกจากจะช่วยตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้แล้ว ยังสามารถช่วยตรวจสอบสิ่งผิดปกติอื่น ๆ ภายในเต้านมได้อีกด้วย
กลุ่มที่แนะนำให้ตรวจหาอาการมะเร็งเต้านม
- อายุ 40 ปีขึ้นไป
- มีญาติสายตรงเป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือโรคมะเร็งรังไข่
- ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยฉายรังสีที่หน้าอก มีประวัติความผิดปกติของพันธุกรรม BRCA เป็นต้น
ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้พัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งมะเร็งเต้านมอย่างก้าวกระโดด และมีการค้นคว้าวิจัยอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ดีโรคนี้ก็ยังไม่มีวิธีการป้องกัน และมักไม่แสดงความผิดปกติให้เห็นในระยะแรก การหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองจึงเป็นวิธีสำคัญที่จะช่วยให้พบความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม และหากพบอาการผิดปกติ ของเต้านมควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อตรวจมะเร็งเต้านมร่วมกับการวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์เต้านม ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08.00 - 20.00 น. โทร. 0-2079-0040
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

เช็กอาการมะเร็งเต้านม พร้อมวิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ
เป็นก้อนที่นม หรือจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือเปล่า มาเช็กให้ชัวร์ว่าใช่ไหมกับวิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้แม้ตอนอาบน้ำ

การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด
การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด

การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด
การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด การรักษาโดยการผ่าตัด (Surgery) เป็นการรักษาหลักของมะเร็งเต้านม การผ่าตัดประกอบด้วย การผ่าตัดที่เต้านมและการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้

ทำความรู้จัก พันธุกรรมมะเร็งเต้านม(breast-cancer)
ความหมายของพันธุกรรมมะเร็งเต้านม มะเร็งส่วนใหญ่เกิดจากการกลายพันธุ์(Mutation)ของเซลล์ปกติในร่างกาย หรือที่เรียกว่าการกลายพันธุ์แบบโซมาติก (Somatic mutation) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคมะเร็ง

เช็กอาการมะเร็งเต้านม พร้อมวิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ
เป็นก้อนที่นม หรือจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือเปล่า มาเช็กให้ชัวร์ว่าใช่ไหมกับวิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้แม้ตอนอาบน้ำ

การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด
การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด

การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด
การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด การรักษาโดยการผ่าตัด (Surgery) เป็นการรักษาหลักของมะเร็งเต้านม การผ่าตัดประกอบด้วย การผ่าตัดที่เต้านมและการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้

ทำความรู้จัก พันธุกรรมมะเร็งเต้านม(breast-cancer)
ความหมายของพันธุกรรมมะเร็งเต้านม มะเร็งส่วนใหญ่เกิดจากการกลายพันธุ์(Mutation)ของเซลล์ปกติในร่างกาย หรือที่เรียกว่าการกลายพันธุ์แบบโซมาติก (Somatic mutation) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคมะเร็ง

การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด
การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด การรักษาโดยการผ่าตัด (Surgery) เป็นการรักษาหลักของมะเร็งเต้านม การผ่าตัดประกอบด้วย การผ่าตัดที่เต้านมและการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้

ทำความรู้จัก พันธุกรรมมะเร็งเต้านม(breast-cancer)
ความหมายของพันธุกรรมมะเร็งเต้านม มะเร็งส่วนใหญ่เกิดจากการกลายพันธุ์(Mutation)ของเซลล์ปกติในร่างกาย หรือที่เรียกว่าการกลายพันธุ์แบบโซมาติก (Somatic mutation) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคมะเร็ง

เช็กอาการมะเร็งเต้านม พร้อมวิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ
เป็นก้อนที่นม หรือจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือเปล่า มาเช็กให้ชัวร์ว่าใช่ไหมกับวิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้แม้ตอนอาบน้ำ

การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด
การรักษามะเร็งเต้านมสมัยใหม่ด้วยการผ่าตัด