ตอบคำถาม เบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบให้ชัด เบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างไร ?
ใครบ้างที่กำลังสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวาน โรคเรื้อรังที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นแตกต่างกันอย่างไร ทั้งที่ก็เป็นโรคเบาหวานเหมือนกันแต่ก็ยังถูกแบ่งย่อยเป็นคนละชนิดได้อีกด้วย แล้วแบบนี้สาเหตุ อาการ และการรักษาจะแตกต่างกันอย่างไรบ้างมาดูกัน
เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน
สำหรับเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเบาหวานที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้เกิดการโจมตี หรือทำลายเซลล์เบต้าของตับอ่อน จนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่แปลงน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงานกับร่างกายนั่นเอง และโดยส่วนมากมักจะพบได้ในคนอายุน้อยเพราะมีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์และสภาพแวดล้อมโดยรวม โดยการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 นั้นจำเป็นต้องได้รับอินซูลินทุกวัน ในรูปแบบของยาฉีดตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งหากขาดอินซูลินก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่อชีวิตได้
เบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน
สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานที่พบได้มากที่สุด ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือมีประสิทธิภาพ ร่วมกับภาวะของการดื้ออินซูลินที่มาจากภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน หรือมีไขมันสะสมในอวัยวะภายในเยอะ ทำให้น้ำตาลกลูโคสจากอาหารที่รับประทานเข้าไปไม่ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน และหลงเหลือในหลอดเลือด ซึ่งสามารถสร้างความเสียหาย หรือก่อให้เกิดโรคอันตรายที่เกี่ยวกับหลอดเลือด เส้นประสาทในอนาคตได้ โดยส่วนมากมักพบในผู้ใหญ่วัยกลางคน แต่ทั้งนี้ก็สามารถพบในเด็กและวัยรุ่นได้เช่นกันแต่จะพบได้ในสัดส่วนน้อยกว่า สำหรับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ ส่วนใหญ่รักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อควบคุมน้ำตาล หรือในบางรายอาจต้องฉีดยาอินซูลินเพื่อรักษาระดับสมดุลของอินซูลิน เพื่อให้ร่างกายได้นำน้ำตาลกลูโคสออกมาใช้ได้ดีขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้ เบาหวานยังมีอีกหลายชนิดที่มีสาเหตุการเกิดและการรักษาที่แตกต่างกัน สามารถอ่านรายละเอียดข้อมูลเรื่องราวสุขภาพดีๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อน อาการและชนิดของเบาหวานได้ที่นี่
เทียบให้ชัดความแตกต่างเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2
เพื่อให้ทุกคนได้เห็นความแตกต่างและข้อมูลเกี่ยวกับเบาหวานชนิดที่ 1 และ เบาหวานชนิดที่ 2 แตกต่างกันอย่างไร เรามาดูตารางเปรียบเทียบนี้กัน
เบาหวานชนิดที่ 1 | เบาหวานชนิดที่ 2 | |
สาเหตุหลัก | ความผิดปกติของภูมิคุ้มกันที่ทำลายเซลล์เบต้าของตับอ่อน ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ | ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างเพียงพอ ร่วมกับร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน |
ปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรค | กรรมพันธุ์และสภาพแวดล้อมโดยรวม | โรคอ้วน น้ำหนักเกิน หรือมีไขมันสะสมในอวัยวะภายในเยอะ อาหารที่รับประทาน |
แนวทางการรักษา | ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องได้รับอินซูลินไปตลอดชีวิต ในรูปแบบยาฉีด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปกติที่สุด และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการขาดอินซูลิน ร่วมกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม | ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยส่วนใหญ่ร่างกายยังพอสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่มักมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งระยะแรกสามารถรักษาได้ด้วยการควบคุมอาหารร่วมกับการรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ถ้าร่างกายยังไม่สามารถควบคลุมน้ำตาลได้ดี อาจจำเป็นต้องใช้การฉีดอินซูลินร่วมด้วย |
ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 หรือชนิดอื่นๆ จะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การดูแลตัวเองให้เหมาะสมกับชนิดของเบาหวานที่เป็น ร่วมกับการเสริมสร้างสุขภาพดีจากภายในอย่างการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะช่วยเสริมให้ร่างกายแข็งแรงและลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ไม่ยากแล้ว
เรียบเรียงโดย พญ. ธนพร พุทธานุภาพ อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก ชั้น 9 โรงพยาบาลวิมุต
เวลา 08.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0070
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

พุทธานุภาพ

พุทธานุภาพ

พุทธานุภาพ

พุทธานุภาพ

พุทธานุภาพ

พุทธานุภาพ
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

สายกินต้องระวัง โรคอันตรายจากไขมันที่ต้องรู้ !
สายกินต้องระวัง! อาหารไขมันสูง ของทอดแสนอร่อยที่แฝงไปด้วยโรคไขมันตัวร้าย มาดูความลับทั้งประโยชน์และโทษของไขมัน ที่บั่นทอนสุขภาพคุณจนอาจเป็นโรคร้ายแรงได้มากกว่าที่คิด

3 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี
เชื่อว่าหลายคนยังมีเป้าหมายในการลดน้ำหนัก แต่ปัญหาที่มักพบ คือ ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที หรืออาจลดได้แค่ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี

13 วิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19
เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ covid-19 โดยโรคเบาหวานนั้นจะทำให้ติดเชื้อ covid -19 ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป และหากติดเชื้อแล้วจะมีผลทำให้เกิดพาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?
เพราะการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในความฝันของผู้หญิงหลายๆ คน แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานคงกังวลไม่น้อยว่าจะมีลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า เรามาฟังคำตอบกันที่นี่

สายกินต้องระวัง โรคอันตรายจากไขมันที่ต้องรู้ !
สายกินต้องระวัง! อาหารไขมันสูง ของทอดแสนอร่อยที่แฝงไปด้วยโรคไขมันตัวร้าย มาดูความลับทั้งประโยชน์และโทษของไขมัน ที่บั่นทอนสุขภาพคุณจนอาจเป็นโรคร้ายแรงได้มากกว่าที่คิด

3 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี
เชื่อว่าหลายคนยังมีเป้าหมายในการลดน้ำหนัก แต่ปัญหาที่มักพบ คือ ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที หรืออาจลดได้แค่ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี

13 วิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19
เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ covid-19 โดยโรคเบาหวานนั้นจะทำให้ติดเชื้อ covid -19 ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป และหากติดเชื้อแล้วจะมีผลทำให้เกิดพาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?
เพราะการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในความฝันของผู้หญิงหลายๆ คน แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานคงกังวลไม่น้อยว่าจะมีลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า เรามาฟังคำตอบกันที่นี่

13 วิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19
เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ covid-19 โดยโรคเบาหวานนั้นจะทำให้ติดเชื้อ covid -19 ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป และหากติดเชื้อแล้วจะมีผลทำให้เกิดพาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?
เพราะการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในความฝันของผู้หญิงหลายๆ คน แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานคงกังวลไม่น้อยว่าจะมีลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า เรามาฟังคำตอบกันที่นี่

สายกินต้องระวัง โรคอันตรายจากไขมันที่ต้องรู้ !
สายกินต้องระวัง! อาหารไขมันสูง ของทอดแสนอร่อยที่แฝงไปด้วยโรคไขมันตัวร้าย มาดูความลับทั้งประโยชน์และโทษของไขมัน ที่บั่นทอนสุขภาพคุณจนอาจเป็นโรคร้ายแรงได้มากกว่าที่คิด

3 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี
เชื่อว่าหลายคนยังมีเป้าหมายในการลดน้ำหนัก แต่ปัญหาที่มักพบ คือ ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที หรืออาจลดได้แค่ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี