ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !

09 ส.ค. 65  | ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
แชร์บทความ      

ไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ ภัยเงียบคร่าชีวิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว

เพราะไลฟ์สไตล์ความชื่นชอบการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด ของมันของทอดที่สุดแสนอร่อยเป็นประจำ หรือเป็นสายปาร์ตี้แอลกอฮอล์ อาจทำให้ใครหลายๆ คนกำลังเสี่ยงเป็น ‘ไขมันพอกตับ’ โดยไม่รู้ตัวได้ง่ายๆ แถมภาวะนี้ไม่มีอาการแสดงเริ่มต้นให้เห็นชัดเจน จนทำให้หลายคนกว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว…

ไขมันพอกตับคืออะไร เกิดจากอะไร ?

ไขมันพอกตับ คือภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์มากกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อตับ ปัจจุบันพบผู้ที่เป็นภาวะนี้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ และสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในช่วงอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ประสิทธิภาพการทำงานของระบบการเผาผลาญอาหารเริ่มลดลง

สาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับ

สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ ประเภท และระยะเวลาที่ดื่ม เรียกว่า Alcoholic fatty liver
  2. เกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่
  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน
  • มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 (BMI > 25)
  • เป็นโรคเบาหวาน มีภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัส ตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มฮอร์โมน

นอกจากนี้ ในผู้ที่ป่วยด้วยโรคอื่นๆ เช่น โรคอ้วน รวมถึงการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว และภาวะขาดสารอาหารก็อาจทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายที่ไม่มีโรคเหล่านี้ก็อาจเกิดไขมันพอกตับได้เช่นกัน

ไขมันพอกตับเป็นแล้วอันตราย หรือน่ากลัวอย่างไร ?

ไขมันพอกตับเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังและเกิดพังผืดในตับ โดยกรดไขมันอิสระที่มีมากขึ้นจะเป็นตัวทำให้เกิดอนุมูลอิสระทำลายตับ ทำให้เซลล์ตับค่อยๆ ตาย เมื่อการตายนี้เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จำนวนเนื้อตับที่ดีเหลือน้อยลง ถูกแทนที่ด้วยพังผืดหรือแผลเป็น จนอาจเกิดตับแข็งและอาจนำไปสู่มะเร็งตับในที่สุด

นอกจากนี้ไขมันพอกตับยังทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นโรคที่มีอยู่เดิมรวมถึงภาวะอื่นๆ ได้ เช่น

  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ้วน
  • ไขมันในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • หลอดเลือดหัวใจตีบ

ไขมันพอกตับ อาการ

ไขมันพอกตับอาการเป็นอย่างไร ?

ไขมันพอกตับจะมีการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนใหญ่ภาวะนี้ไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ ผู้ที่เป็นมักไม่รู้ตัวเพราะไม่มีอาการแสดงออกมา มักตรวจพบได้ก็ต่อเมื่อตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจร่างกายด้วยความเจ็บป่วยอื่นๆ และเมื่อมีไขมันพอกตับสะสมอยู่ปริมาณมาก จะทำให้เซลล์ตับบวมและ 10-20% ของผู้มีไขมันพอกตับจะเกิดอาการตับอักเสบได้ โดยจะมีอาการ

  • เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • รู้สึกไม่สบายท้อง
  • น้ำหนักลดผิดปกติ ความอยากอาหารลดลง
  • คลื่นไส้
  • มึนงง ความสามารถในการตัดสินใจและสมาธิลดลง
  • รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา

ภาวะไขมันพอกตับมีระยะการดำเนินโรค อยู่ 4 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะเริ่มต้น เป็นระยะที่มีการสะสมไขมันในตับ ยังไม่มีหรือมีการอักเสบเพียงเล็กน้อย และไม่มีพังผืด
  2. ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และเริ่มมีการสะสมของพังผืดในเนื้อตับ
  3. ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มีการอักเสบของตับ และมีการสะสมของพังผืดในตับอย่างชัดเจน
  4. ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ตับมีพังผืดอยู่มาก เริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นตับแข็ง ที่อาจปรากฏภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ตาเหลือง ท้องโตจากภาวะมีน้ำในช่องท้อง มีเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร และเป็นมะเร็งตับในที่สุด

รู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นไขมันพอกตับ ?

สามารถตรวจหาภาวะไขมันพอกตับ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 

  1. การตรวจเลือด ดูค่าการอักเสบของตับว่าสูงกว่าปรกติหรือไม่ แม้ว่าอาจจะไม่ได้จำเพาะต่อภาวะไขมันพอกตับ
  2. การตรวจอัลตราซาวด์บริเวณช่องท้อง ซึ่งจะตรวจพบการเปลี่ยนแปลงในกรณีที่มีไขมันพอกในตับมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป
  3. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  4. การเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ แม้ว่าจะเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยและประเมินระยะของภาวะไขมันพอกตับ แต่ในปัจจุบันมีความนิยมในการตรวจลดลงเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน 
  5. การตรวจวัดปริมาณไขมันในตับ ค่าพังผืดในตับและระดับความแข็งแรงของตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน

ที่โรงพยาบาลวิมุตเรามีเครื่อง Liver Scan  ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ใช้ในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับได้พร้อมกันภายในครั้งเดียวอย่างรวดเร็ว สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) ที่ช่วยให้การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาแม่นยำและถูกต้องได้มากที่สุด 

สำหรับท่านใดที่สนใจตรวจเช็กค่าพังผืดในตับและตรวจเช็กไขมันพอกตับ 

เรามีแพ็กเกจโปรแกรมตรวจพังผืดและวัดปริมาณไขมันในตับ (Liver Scan) ในราคาพิเศษ คลิกที่นี่ได้เลย

รักษาไขมันพอกตับ

วิธีป้องกัน รักษาและลดความเสี่ยงภาวะไขมันพอกตับ

  • ผู้ป่วยโรคอ้วน เบาหวานและไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง รวมถึงควบคุมอาหารและออกกำลังกายร่วมด้วย
  • ออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนัก ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หากเป็นไปได้ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้าน เช่น เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน แล้วตามด้วยการยกน้ำหนัก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เช่น 0.5 - 2 กิโลกรัม/เดือน จนกระทั่งน้ำหนักตัวลดลงจากเดิมร้อยละ 5-10
  • ควบคุมอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ลดปริมาณแคลอรี ไขมัน แป้ง อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสซึ่งมักเป็นส่วนประกอบในน้ำผลไม้บรรจุกล่อง ไอศกรีม อาหารสำเร็จรูป ชานม ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
  • เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ จิบน้ำบ่อย ๆ
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อให้เราได้รู้เท่าทันสุขภาพภายในที่มองไม่เห็นเป็นประจำ

ที่โรงพยาบาลวิมุต เรามีศูนย์ทางเดินอาหารและตับ พร้อมแพ็กเกจตรวจสุขภาพและเทคโนโลยี เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย ดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลา 08:00-20:00 น. หรือโทร 0-2079-0054 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ได้

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ


แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.กุลเทพ
รัตนโกวิท
อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหาร

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!

ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!

ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก

ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เช็กลิสต์กรดไหลย้อน อาการแบบนี้คุณกำลังเป็นอยู่หรือไม่?

กินแล้วนอนประจำ เริ่มมีอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน! มาเช็กอาการ พร้อมวิธีการตรวจจากแพทย์เฉพาะทางและรักษาก่อนเป็นหนักได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม