ไวรัสตับอักเสบ โรคติดต่อที่อาจทำให้คุณเสี่ยงถึงชีวิต

06 ก.ค. 66  | ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
แชร์บทความ      

ไวรัสตับอักเสบ โรคติดต่อที่อาจทำให้คุณเสี่ยงถึงชีวิต

โรคไวรัสตับอักเสบเป็นอีกโรคหนึ่งที่เราได้ยินคุ้นหูกันมานาน และถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรคเผยว่า ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อตับอักเสบบีในประเทศไทยราวๆ 2.2-3 ล้านคน และตับอักเสบซีประมาณ 3-8 แสนคน จากจำนวนสถิติจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยเองก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย อีกทั้งไวรัสตับอักเสบยังเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคตับแข็งและมะเร็งตับอีกด้วย จึงควรเร่งให้ทุกคนตื่นตัวและมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อในอนาคตได้

ไวรัสตับอักเสบมีกี่สายพันธุ์

เชื้อไวรัสตับอักเสบมีอยู่ด้วยกัน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ เอ บี ซี ดี และอี  โดยมีลักษณะการติดต่อที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทย คือ ไวรัสตับอักเสบบีและซี 

ไวรัสตับอักเสบเกิดจากอะไร

ไวรัสตับอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี อี โดยสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสในแต่ละสายพันธุ์สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

ติดต่อผ่านอาหารและน้ำ ติดต่อผ่านเลือดและสารคัดหลั่ง
ไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ บี
ไวรัสตับอักเสบ อี ไวรัสตับอักเสบ ซี
  ไวรัสตับอักเสบ ดี (พบน้อยมากในประเทศไทย)

อาการของไวรัสตับอักเสบแต่ละสายพันธุ์

สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบสามารถแบ่งกลุ่มอาการออกได้ 2 แบบ ดังนี้  

  1. การติดเชื้อตับอักเสบแบบเฉียบพลัน กลุ่มอาการนี้มักพบในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ บี อี (ไวรัสตับอักเสบซีเฉียบพลันพบได้น้อย) ซึ่งภายหลังติดเชื้อร่างกายจะแสดงอาการเหล่านี้ 
  • มีไข้ต่ำๆ 
  • ปวดเมื่อยตัว อ่อนเพลีย 
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน 
  • ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม 
  • ตาเหลือง ตัวเหลือง 
  1. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบแบบเรื้อรัง เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ มักมีเพียงค่าเอนไซม์ตับผิดปกติจากการเจาะเลือดเท่านั้น  ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยอาจมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยอาการของภาวะแทรกซ้อนจากตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ เช่น อาเจียนเป็นเลือดจาก ท้องมาน ตัวและตาเหลือง หรือ คลำได้ก้อน เป็นต้น

การวินิจฉัยและตรวจหาไวรัสตับอักเสบ ทำได้อย่างไรบ้าง

สำหรับการตรวจไวรัสตับอักเสบในเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติ อาการเบื้องต้นและประวัติการฉีดวัคซีน ร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อค้นหาเปลือกของไวรัส (HBsAG) และตรวจหาปริมาณเอนไซม์ ALT/SGPT, AST/SGOT เพื่อดูค่าภาวะการอักเสบของตับ ตรวจหาปริมาณของ Bilirubin สารเหลืองดีซ่าน ตรวจหาปริมาณ AP ดูภาวะการอุดตันของท่อน้ำดี รวมถึงตรวจ HBeAG เพื่อหาปริมาณของไวรัสก่อนทำการรักษา 

โปรโมชันพิเศษเพื่อสุขภาพตับกับแพ็กเกจ 

ตรวจภูมิต้านทานเชื้อไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis A, B, C) ในราคาโปรโมชัน

วิธีการดูแลตัวเอง และการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

อย่างที่กล่าวข้างต้นว่าไวรัสตับอักเสบเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ แน่นอนว่าการป้องกันไว้ก่อนมักจะดีกว่าการรักษาทีหลัง โดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและปฏิบัติตามข้อแนะนำ ดังนี้ 

  1. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อนและดื่มน้ำสะอาด 
  2. ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น 
  3. ไม่ใช้เข็มฉีดยา หรือเข็มสักร่วมกับผู้อื่น 
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง 
  5. ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ 
  6. ฉีควัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบี 

ขอแนะนำแพ็กเกจวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบี ในราคาพิเศษ! 

ไวรัสตับอักเสบบีและซี เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับหรือไม่ ?

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี เป็นการติดเชื้อแบบเรื้อรัง ซึ่งภายในตับเกิดการอักเสบเป็นเวลานาน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจนำไปสู่โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับได้  

จากข้อมูลที่เราให้ไว้ข้างต้นจะเห็นได้ว่า สถานการณ์การติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบในประเทศยังน่าเป็นห่วงมากเช่นกัน ดังนั้นการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากการติดเชื้อและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำลายตับจึงเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติอย่างยิ่ง อีกการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพื่อสร้างเกราะป้องกันที่ดีที่สุดให้ร่างกายและยังช่วยลดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อได้อีกด้วย   

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 08.00 - 20.00 น. โทร. 0-2079-0054 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
พญ.สาวินี จิริยะสิน อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหาร

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !

ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
“ท้องผูก” ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่…ถ่ายไม่ออก!

ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่ายครั้งหนึ่ง หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูก ไหม ที่นี่เรารวมคำตอบ สาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ไขมันพอกตับ ภัยเงียบคร่าชีวิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว

ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ แต่จะสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้ก่อนป้องกันได้ รักษาไว

ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง