เบบี้บลู (Baby Blue) ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ต้องเตรียมรับมือ

13 มิ.ย. 66  | ศูนย์สุขภาพใจ ปรึกษาจิตแพทย์
แชร์บทความ      

เบบี้บลู (Baby Blue) ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ต้องเตรียมรับมือ

แม้ว่าหลังคลอดคุณแม่หลายคนอาจตื่นเต้นที่จะได้พบเจอกับลูกน้อยที่ได้เฝ้ารอมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา แต่หลังจากคลอดลูกแล้วมีคุณแม่อีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องประสบกับภาวะเบบี้บลู (Baby Blue) หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งเป็นภาวะทางจิตใจที่เกิดขึ้นได้ทั้งกับคุณแม่มือใหม่ หรือคุณแม่มือเก่าเองก็ตาม และสำหรับคุณแม่ (หรือคุณพ่อเองก็ตาม) ที่กำลังสงสัยว่าภาวะเบบี้บลูคืออะไร อาการเป็นอย่างไร เป็นแล้วอันตรายไหม ต้องรักษาและดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้เรายกข้อมูลและอาการมาให้เช็กลิสต์กันแล้วที่นี่

เบบี้บลู (Baby Blue) คืออะไร ?

เบบี้บลู (Baby Blue) หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่รวดเร็วในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยมาระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (Progesterone) ซึ่งส่วนหนึ่งสร้างจากรก จะลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากคลอดรก และในขณะเดียวกันร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) และฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระดับฮอร์โมนเหล่านี้ ส่งผลให้อารมณ์ของคุณแม่มีความเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ปัญหาการเงิน ตกงาน เลิกรากับสามี หรือเด็กคลอดออกมาแล้วไม่แข็งแรง เป็นต้น

ชวนเช็กอาการเบบี้บลู (Baby Blue) หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นอย่างไร ?

สำหรับอาการของเบบี้บลูหรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เราสามารถแบ่งอาการตามการแสดงออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

อาการทางร่างกาย

  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 
  • เหนื่อยง่าย รู้สึกเซื่องซึม
  • ไม่สดชื่น ไม่อยากทำอะไร หรือทำอะไรก็เชื่องช้า
  • มีปัญหาในการนอนหลับ นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท
  • ไม่หิว เบื่ออาหาร หรือมีความอยากอาหารน้อยลง

อาการทางจิตเวช

  • เครียด คิดมาก หรือคิดแต่เรื่องเดิมๆ ซ้ำ
  • วิตกกังวล กลัวเลี้ยงลูกไม่ได้ 
  • หดหู่ ซึมเศร้า บางครั้งก็อยากร้องไห้
  • อารมณ์เสีย หงุดหงิด เหวี่ยงวีน หรืออารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ในบางครั้ง
  • ไม่มีความสุขในการดูแลบุตร รู้สึกตัวเองเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ

ทำอย่างไร หากรู้สึกว่าตัวเองเข้าข่ายเป็นเบบี้บลู (Baby Blue) หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

  1. ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสม
  2. หาคนที่สามารถสนับสนุนและช่วยเหลือได้ เพื่อแบ่งเบาภาระและความเครียดจากการเลี้ยงลูก
  3. ดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและการกินอาหารที่เหมาะสม
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมคลายเครียดยามว่าง
  5. เข้าร่วมกลุ่มสนทนาของแม่ที่มีประสบการณ์เดียวกัน แบ่งปันการรับมือภาวะเบบี้บลูที่เกิดขึ้น

ถึงแม้ว่าอาการเบบี้บลู (Baby Blue) หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จะเกิดจากการที่คุณแม่ยังปรับตัวหลังคลอดไม่ค่อยได้ ความวิตกกังวลเรื่องลูกเหล่านี้ มักจะมีอาการมากอยู่ในช่วงสัปดาห์แรก จากนั้นคุณแม่จะค่อยๆ ปรับตัว คลายกังวลและสามารถหายเองได้ 

แต่ทั้งนี้หากคุณแม่คนไหนมีอาการต่างๆ ตามที่กล่าวมา เกิน 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรง เช่น บางครั้งผุดภาพอยากทำร้ายตัวเอง ทำร้ายลูก ฉุนเฉียว หูแว่ว ประสาทหลอน มีเสียงสั่ง แนะนำว่าควรเข้าปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะอาการต่างๆเหล่านี้ อาจไม่ใช่เพียงอาการเบบี้บลู (Baby Blue) หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แต่อาจเป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) หรือ โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis) ซึ่งมีความอันตรายต่อทั้งคุณแม่และคุณลูก และไม่สามารถหายได้เอง จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

ทั้งนี้คุณแม่หลังคลอดที่มีอาการและความกังวลตามที่ได้กล่าวมา แต่ยังไม่มั่นใจว่าตัวเองเข้าข่ายความเสี่ยงหรือไม่ สามารถทำแบบทดสอบเบบี้บลู หรือแบบทดสอบภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ที่นี่

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์สุขภาพใจ ชั้น 18  โรงพยาบาลวิมุต

เวลาทำการ เวลา 08.00 - 17.00 น. โทร. 0-2079-0078 

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

ผู้เขียน
พญ.เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ จิตแพทย์

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
“ตระหนักแต่ไม่ตระหนก” 2 ข้อควรรู้ สู้ทั้งฝุ่นทั้ง COVID แบบจิตไม่ตก

ในภาวะที่ฝุ่น PM 2.5 กลับมาเข้าขั้นวิกฤตอีกครั้ง กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อมรายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 แล้วพบว่าเกินค่ามาตรฐานถึง 70 พื้นที่ทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เช็กอาการ…แบบนี้ใช่ซึมเศร้าไหม กับแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อ

หากคุณมีอาการเครียด นอนไม่หลับ เศร้า ซึม เบื่อหน่าย ร้องไห้บ่อย หรืออยากฆ่าตัวตาย มาเช็กสุขภาพจิตเบื้องต้นว่าเป็นซึมเศร้าไหม ด้วยแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อนี้กัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
วิธีสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ เหตุคนไทยเครียดซึมเศร้า ยังไม่ติดโควิดแต่สุขภาพจิตใกล้โคม่า

แต่ไหนแต่ไรมาปัญหาสุขภาพจิตก็ถือเป็นภัยที่คุกคามชีวิตของคนทั่วโลกอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ในญี่ปุ่นมียอดการฆ่าตัวตายสูงถึง 17,000 ราย หลังจากเผชิญกับโรคไปได้แค่ 4 เดือน ในขณะที่ประเทศไทยก็มีอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นถึง 22% และการระบาดระลอกใหม่นี้เอง จะเห็นได้ว่าผู้คนยิ่งมีความวิตกกังวลเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังไม่มีท่าทีที่จะลดลง แต่ในขณะเดียวกันเราก็ยังต้องใช้ชีวิตประจำวัน ต้องออกจากบ้านไปทำงาน มีการพบเจอผู้คน ท่ามกลางความหวาดระแวงว่าจะติดเชื้อหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เข้าถึงโลกของผู้สูงอายุด้วยหัวใจ สร้างสุขภาพจิตอย่างไรให้เวิร์ก

ทำไมคนแก่ขี้งอนบ่อย น้อยใจเก่ง อารมณ์แปรปรวนบ่อยๆ ? มาทำความเข้าใจโลกของผู้สูงอายุให้มากขึ้น กับปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่คนในครอบครัวต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

อ่านเพิ่มเติม