โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการติดเชื้อที่ไม่ควรมองข้าม
เริ่มต้นจากอาการปวดศีรษะธรรมดาๆ ก็อาจเป็นสัญญาณจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้! เพราะสมองเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญและมีการทำงานที่ซับซ้อน หากเนื้อสมองหรือส่วนใดมีการอักเสบและปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มาค้นหาสาเหตุและทำความรู้จักอาการของโรคนี้ให้มากขึ้นกัน
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลางบริเวณเยื่อที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลัง จนทำให้บริเวณที่ติดเชื้อเกิดอาการอักเสบ บวม โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากสาเหตุใด?
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดได้จากการติดเชื้อหลายชนิด ได้แก่
- การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อแบคทีเรียโรคฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบี เชื้ออีโคไล หรือเชื้อวัณโรค เป็นภาวะที่อันตรายมากที่สุด จนอาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้
- การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโรคคางทูม ไวรัสโรคเริม ไวรัสจากโรคอีสุกอีใส หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการที่รุนแรง โดยอาจเกิดขึ้นหลังจากมีอาการไข้หวัดและสามารถหายได้เองภายใน 7 - 10 วัน
- การติดเชื้อรา โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราเป็นสาเหตุที่พบได้น้อย แต่มักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และสัมผัสกับแหล่งของเชื้อรา เช่น มูลนกพิราบ มูลไก่ เป็นต้น
- การติดเชื้อพยาธิ เป็นการติดเชื้อจากการรับประทานอาหารที่มีตัวอ่อนของพยาธิปะปนอยู่ จนอาจทำให้มีพยาธิขึ้นไปที่สมองได้ เช่น หอยโข่ง หอยปัง และหอยเชอรี่
อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองในเด็กโตจนถึงผู้ใหญ่ระยะแรกเริ่มจะคล้ายกับอาการไข้หวัด โดยอาการจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเป็นชั่วโมง หรือ 2 - 3 วัน ซึ่งสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้
- มีไข้สูง และไข้มักจะขึ้นลงๆ อยู่ตลอดเวลาถึงแม้จะรับประทานยาลดไข้แล้วก็ตาม
- ปวดหัวอย่างรุนแรง หรือปวดเฉพาะเวลาที่ก้มหรือเงยหน้ามากๆ
- รู้สึกมึนงง สับสน ไม่มีสมาธิ
- แพ้แสงและมองเห็นสิ่งรอบข้างไม่ชัดเจน
- อาเจียนและกลืนอาหารได้ยากกว่าปกติ
- ชักและหมดสติ
- ความอยากอาหารลดลง
นอกจากนี้ ในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุไม่เกิน 1 เดือน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองได้เช่นกัน โดยสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
- มีไข้สูง
- ร้องไห้ตลอดเวลา
- ดื่มนมได้น้อยลง
- กระหม่อมนูน
- ตัวและลำคอแข็ง
- เฉื่อยชาและเคลื่อนไหวน้อยลง
วิธีการรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
สำหรับวิธีการรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการติดเชื้อ โดยแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุแล้วจึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาต่อไป
- เกิดจากเชื้อไวรัส โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการมักจะบรรเทาลงได้เองภายใน 2 สัปดาห์ โดยแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวด ดื่มน้ำมากๆ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ยกเว้นไวรัสบางชนิดที่จำเป็นต้องให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
- เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา วิธีรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียคือการให้ยาปฏิชีวนะ โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งแบคทีเรียแต่ละชนิดจะใช้ระยะเวลาในการรักษาที่แตกต่างกันออกไป
- เกิดจากเชื้อพยาธิ การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธินั้น ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะเจาะจงสำหรับรักษาโรคนี้ เนื่องจากพยาธิที่ทำให้เกิดโรคมีหลากหลายชนิดและแต่ละชนิดมียารักษาที่แตกต่างกันไป การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การลดอาการอักเสบและบรรเทาอาการของโรค
เนื่องจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ การดูแลสุขภาพอนามัยให้ดีอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคได้ ยิ่งในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องด้วยแล้วยิ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ควรล้างมือบ่อยๆ เลี่ยงการดื่มและรับประทานอาหารในภาชนะเดียวกันกับผู้อื่น ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่อาจทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เช่น วัคซีนป้องกันโรคฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบี วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส วัคซีนป้องกันโรคคางทูม วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน เป็นต้น เพราะถ้าเกิดการติดเชื้อและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 09:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0068
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
รุ่งแจ้ง
รุ่งแจ้ง
รุ่งแจ้ง
รุ่งแจ้ง
รุ่งแจ้ง
รุ่งแจ้ง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง
เช็กด่วน! ปวดหัวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ตรวจสอบสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน และวิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง พร้อมหาคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร
ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่
รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง ทุกวัยเสี่ยง ทุกคนเลี่ยงได้
หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว แขนขาก็ไม่มีแรง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้ มาเช็กอาการเบื้องต้นให้ทันเวลา ก่อนเสี่ยงอัมพาตและเสียชีวิตได้ที่นี่
ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย
เช็กด่วน! ปวดหัวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ตรวจสอบสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน และวิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง พร้อมหาคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร
ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่
รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง ทุกวัยเสี่ยง ทุกคนเลี่ยงได้
หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว แขนขาก็ไม่มีแรง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้ มาเช็กอาการเบื้องต้นให้ทันเวลา ก่อนเสี่ยงอัมพาตและเสียชีวิตได้ที่นี่
ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย
รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง ทุกวัยเสี่ยง ทุกคนเลี่ยงได้
หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว แขนขาก็ไม่มีแรง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้ มาเช็กอาการเบื้องต้นให้ทันเวลา ก่อนเสี่ยงอัมพาตและเสียชีวิตได้ที่นี่
ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย
เช็กด่วน! ปวดหัวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ตรวจสอบสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน และวิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง พร้อมหาคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร
ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่