รวมอาการ เครียดลงกระเพาะ ปัญหาสุขภาพของคนคิดเยอะ

10 ต.ค. 66  | ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
แชร์บทความ      

รวมอาการ "เครียดลงกระเพาะ" ปัญหาสุขภาพของคนคิดเยอะ

“เครียดลงกระเพาะ” อาการยอดฮิตของคนหนุ่มสาววัยทำงานที่ต้องเจอกับปัญหาถาโถม ยากเกินรับมือ จนความเครียดพุ่งทะยานเกินกว่าที่ร่างกายจะรับมือได้ไหว ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่อดสงสัยไม่ได้ว่าเครียดแล้วเกี่ยวข้องกับกระเพาะอย่างไร ดังนั้นวันนี้เรามาดูข้อมูลเกี่ยวกับความเครียดกันว่ามีความเกี่ยวข้องกับกระเพาะได้อย่างไร อาการเครียดลงกระเพาะเป็นอย่างไรบ้าง หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาจะสามารถทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร หรือกรดไหลย้อนได้ไหม มาค้นหาคำตอบด้านล่างนี้ได้เลย

ความเครียดเกี่ยวกับกระเพาะได้อย่างไร

ในทางการแพทย์เราพบว่าสมองและระบบทางเดินอาหารมีความเชื่อมโยงกับอารมณ์และความเครียด ซึ่งความเครียดสามารถทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้หยุดชะงักได้ รวมถึงกระตุ้นให้หลั่งกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะมากขึ้น จึงทำให้ความสมดุลของกระเพาะอาหารเสียสมดุลและไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ และแสดงออกเป็นอาการที่เรานิยามว่า ‘เครียดลงกระเพาะ’

5 อาการของเครียดลงกระเพาะ สังเกตได้อย่างไรบ้าง ?

1. คลื่นไส้อาเจียนบ่อยๆ

เมื่อความเครียดพุ่งสูงกล้ามเนื้อจะแข็งเกร็ง หลอดอาหารบีบตัวน้อยลง การทำงานของกระเพาะและลำไส้ชะงัก ลมในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้คนที่มีภาวะเครียดลงกระเพาะมีอาการคลื่นไส้ พะอืดพะอม หรืออาเจียนได้บ่อยๆ

2. ปวด หรือแน่นจุกบริเวณลิ้นปี่ อิ่มเร็วกว่าปกติ 

ในบางคนที่เครียดลงกระเพาะมักจะมีอาการปวด จุก เสียด บริเวณลิ้นปี่ หรือใต้ซี่โครงเยื้องไปทางซ้าย เนื่องจากกล้ามเนื้อกระเพาะเกร็งตัว อีกทั้งยังถูกกระตุ้นให้หลั่งกรดออกมามากขึ้น จึงทำให้รู้สึกแน่น จุก บริเวณลิ้นปี่ได้ รวมไปถึงความเครียดที่เป็นตัวกระตุ้นให้กระเพาะไม่ทำงาน หรือทำงานได้น้อยลง จึงมักมีอาหารตกค้างอยู่ในกระเพาะ และเมื่อกินอาหารมื้อถัดไปจึงทำให้รู้สึกอิ่มไวขึ้น 

3. แน่นท้อง ท้องอืด 

เพราะกระเพาะและลำไส้ทำงานได้น้อยลง หรือชะงักไป ทำให้เกิดแรงดันและลมมากขึ้น การย่อยอาหารจึงช้าลง ส่งผลให้รู้สึกแน่นท้อง ท้องอืดได้

4. เรอเหม็นเปรี้ยว เรอบ่อย

นอกจากกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารเกร็งแล้ว หูรูดบริเวณกระเพาะอาหารก็จะทำงานผิดปกติไปด้วย และเมื่อหูรูดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพก็ไม่สามารถกั้นกรดไม่ให้ไหลย้อนขึ้นไปได้ จึงทำให้มีอาการแสบร้อนกลางอก หายใจไม่อิ่ม เรอบ่อยและเรอเปรี้ยวได้

5. ท้องผูก หรือท้องเสีย

เพราะสมดุลในการย่อยเสียไป ซึ่งส่งผลต่อการทำงานตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้ใหญ่ จึงทำให้บางคนมีอาการลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย หรือท้องผูกเป็นประจำได้  

ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจถ่ายอุจจาระปนเลือด มีไข้ น้ำหนักลด หรือมีอาการที่ต้องทำให้ตื่นกลางดึกได้เช่นกัน

เครียดลงกระเพาะสามารถทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร หรือกรดไหลย้อนได้ไหม

ภาวะเครียดลงกระเพาะ แท้จริงแล้วก็คือโรคกระเพาะที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา แต่มาจากความเครียดที่เป็นสาเหตุทำให้น้ำย่อย หรือกรดที่หลั่งออกมามากไปจนเกิดการกัดกระเพาะ อีกทั้งน้ำย่อยที่หลั่งออกมามากเกินไป ร่วมกับหูรูดที่หย่อนยานจากการทำงานที่ผิดปกติ สามารถทำให้กรดนั้นไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้มีอาการของโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน

แม้ว่าความเครียดที่ถาโถมเข้ามานั้นยากที่จะรับมือ แต่เราสามารถหาวิธีการต่างๆ เพื่อแบ่งเบาร่างกายไม่ให้ต้องต่อสู้กับความเครียดที่กำลังก่อตัวขึ้นได้ ด้วยการหาเวลาไปทำอะไรที่ชอบ ปลีกตัวไปพักผ่อน ออกไปวิ่ง หรือออกกำลังกายให้สารแห่งความสุขได้หลั่ง ไปพักร้อนให้รู้สึกผ่อนคลาย ร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ และครบถ้วนทุกหมู่โภชนาการที่เหมาะสมต่อร่างกาย เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ แต่ถ้าอาการรุนแรงขึ้น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ถ่ายปนเลือด มีไข้ น้ำหนักลดลง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างตรงจุด 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5  โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 08.00 - 20.00 น. โทร. 0-2079-0054
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ. กุลเทพ รัตนโกวิท แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหาร

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !

ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
“ท้องผูก” ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่…ถ่ายไม่ออก!

ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่ายครั้งหนึ่ง หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูก ไหม ที่นี่เรารวมคำตอบ สาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ไขมันพอกตับ ภัยเงียบคร่าชีวิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว

ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ แต่จะสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้ก่อนป้องกันได้ รักษาไว

ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง