คิดจะเทคฮอร์โมนต้องรู้! เทคอย่างไรให้ปลอดภัย

11 มิ.ย. 67  | ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก
แชร์บทความ      

เทคฮอร์โมน

คิดจะเทคฮอร์โมนต้องรู้! เทคอย่างไรให้ปลอดภัย

“เทคฮอร์โมน” เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำนี้ผ่านหูกันมาไม่น้อย โดยเฉพาะในกลุ่มของเพศทางเลือก LGBTQ+ ซึ่งการเทคฮอร์โมนเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ทางสรีระในเพศที่ต้องการ แต่ใช่ว่าอยู่ๆ จะสามารถเทคฮอร์โมนได้เลย มาทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเทคฮอร์โมน รวมถึงการเตรียมตัวก่อนเทคฮอร์โมนกัน

การเทคฮอร์โมนคืออะไร และใช้กับใคร

การเทคฮอร์โมน เป็นวิธีการเปลี่ยนแปลงสรีระเพศตัวเองของเพศทางเลือก LGBTQ+ ในกลุ่มของทรานเจนเดอร์ (Transgender) ด้วยการรับฮอร์โมนเพศตรงข้าม หรือเพศที่ต้องการเป็นเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านการรับประทานยา หรือผ่าตัดอวัยวะเพศเพื่อลดฮอร์โมนเพศเดิม ซึ่งจะทำให้สรีระเปลี่ยนไปเป็นเพศตรงข้ามที่ต้องการ ซึ่งกลุ่มทรานเจนเดอร์ที่ต้องการเทคฮอร์โมนจะมีด้วยกันอยู่ 2 กลุ่มคือ

  • ผู้หญิงข้ามเพศ (Transwoman) คือ คนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากผู้ชายให้เป็นผู้หญิง
  • ผู้ชายข้ามเพศ (Transman) คือ คนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากผู้หญิงให้เป็นผู้ชาย

การเทคฮอร์โมนเพื่อเป็นผู้ชาย หรือเทคฮอร์โมนเพื่อเป็นผู้หญิง ต่างกันอย่างไร

  • เทคฮอร์โมนเพื่อเป็นหญิง หรือผู้หญิงข้ามเพศ (Feminizing hormone therapy) เป็นการให้ฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งก็คือฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ให้เพิ่มขึ้น และลดฮอร์โมนเพศชายลง โดยรับประทานยากดการสร้างฮอร์โมนเพศชาย หรือผ่าตัดอัณฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนเพศชายออกไป ซึ่งโดยรวมจะทำให้เสียงเล็กลงและแหลมขึ้น มีหน้าอกเล็กน้อยได้ สะโพกผาย ผิวเนียน ขนบริเวณต่างๆ ลดน้อยลง รวมถึงขนาดของน้องชาย หรืออวัยวะเพศอาจจะเล็กลง
  • เทคฮอร์โมนเพื่อเป็นชาย หรือผู้ชายข้ามเพศ (Masculinizing hormone therapy) การเทคฮอร์โมนนี้จะได้รับฮอร์โมนเพศชาย คือ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) เพื่อเพิ่มลักษณะของเพศชายและลดฮอร์โมนเพศหญิงลง ทำให้มีขนหนาขึ้น มีหนวดเครา เสียงใหญ่ มีกล้ามเนื้อโตขึ้นและแข็งแรงขึ้น โครงหน้าจะเปลี่ยนไป ผิวมันและหยาบขึ้น รวมถึงประจำเดือนลดลงจนไม่มีเลือด 

เทคฮอร์โมนเพื่อเป็นผู้ชายหรือเทคฮอร์โมนเพื่อเป็นผู้หญิง

วิธีการเทคฮอร์โมนมีกี่แบบ

การเทคฮอร์โมนทั้งในผู้หญิงข้ามเพศ และผู้ชายข้ามเพศมีทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้

1. การเทคฮอร์โมนแบบกิน

  • เทคฮอร์โมนแบบกินในหญิงข้ามเพศ : เป็นวิธีที่ง่าย ได้รับความนิยม สามารถปรับระดับยาได้ง่ายแต่ต้องกินทุกวัน
  • เทคฮอร์โมนแบบกินในชายข้ามเพศ : เป็นวิธีที่ไม่แนะนำ เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่ได้นั้นไม่เพียงพอ และมีผลต่อตับได้

2. การเทคฮอร์โมนแบบทา

  • เทคฮอร์โมนแบบทาในหญิงข้ามเพศ : เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอีกหนึ่งวิธี ไม่ต้องเจ็บตัว ยาในเลือดจะคงที่ ไม่กวนการทำงานของตับ แต่อาจเกิดการระคายเคืองที่ผิวบริเวณที่ทาได้
  • เทคฮอร์โมนแบบทาในชายข้ามเพศ : ไม่เจ็บตัว ระดับยาในเลือดคงที่ แต่ต้องทาทุกวัน ซึ่งอาจเกิดการระคายเคืองและยาอาจแพร่สู่คนใกล้ชิดได้

3. การเทคฮอร์โมนแบบฉีด

การรับฮอร์โมนแบบฉีดมีทั้งระยะสั้นที่ฉีดทุก 2 สัปดาห์ และระยะยาวที่ฉีดทุกๆ 3 เดือน

  • เทคฮอร์โมนแบบฉีดในหญิงข้ามเพศ : แบบระยะสั้น ราคาไม่แพงและปรับขนาดยาได้ง่าย แต่ต้องมาฉีดบ่อย แบบระยะยาว ระดับยาค่อนข้างคงที่ แต่ระยะแรกที่ระดับยาสูงอาจเจ็บได้
  • เทคฮอร์โมนแบบฉีดในชายข้ามเพศ : เป็นวิธีที่นิยม โดยในแบบระยะสั้นปรับยาง่าย แต่อาจมีอารมณ์สวิงได้ในช่วงเปลี่ยนระดับยา แบบระยะยาว ระดับยาในเลือดจะคงที่ แต่อาจเจ็บบริเวณที่ฉีดเพราะปริมาณยาที่เยอะได้

ก่อนเทคฮอร์โมนต้องเตรียมตัวอย่างไร

เกณฑ์อะไรบ้างที่ควรรู้ “ก่อนเทคฮอร์โมน” และต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

  1. ต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป หรือหากมีอายุ 18-20 ปี จะต้องมีผู้ปกครองรับทราบและยืนยันอนุญาตเท่านั้น
  2. พบจิตแพทย์อย่างน้อย 2 ท่าน เพื่อเข้ารับการประเมินสภาพจิตใจและยืนยันว่ามีภาวะ Gender dysphoria (GD) ซึ่งเป็นภาวะผู้ไม่มีความสุขกับสรีระเพศกำเนิดจริงๆ รวมถึงไม่มีภาวะทางจิต
  3. ในเพศหญิงจะต้องไม่มีภาวะการตั้งครรภ์
  4. สุขภาพแข็งแรง ไม่แพ้ยา
  5. ต้องตรวจสุขภาพ เพื่อวัดระดับฮอร์โมนและความพร้อมของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นค่าความเข้มเลือด ค่าไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ค่าการทำงานของตับว่าทำงานอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การรับฮอร์โมน
  6. หลังเทคฮอร์โมนแล้ว ควรมีการตรวจติดตามระดับของฮอร์โมนเพ และค่าเลือดต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากการเทคฮอร์โมนเป็นระยะ

ที่โรงพยาบาลวิมุตเราออกแบบแพ็กเกจตรวจสุขภาพเพื่อเพศทางเลือกที่หลากหลาย กับแพ็กเกจตรวจคัดกรองระดับฮอร์โมนสำหรับเพศหลากหลาย เพราะระดับฮอร์โมนแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ส่งผลต่อการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน มาเตรียมพร้อมรับฮอร์โมนให้ปลอดภัยด้วยการตรวจสุขภาพคัดกรองระดับฮอร์โมนในราคาพิเศษได้ที่นี่ !

ต้องผ่าตัดแปลงเพศก่อนไหมถึงจะเทคฮอร์โมนได้ ?

สำหรับทรานเจนเดอร์ที่ยังไม่ได้ผ่าตัดแปลงเพศก็สามารถเข้ารับการเทคฮอร์โมนได้ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามกระบวนการและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อความปลอดภัย และทรานเจนเดอร์ที่ผ่าตัดแปลงเพศแล้วก็ยังคงต้องเทคฮอร์โมนต่อเนื่อง แต่ระดับยา หรือฮอร์โมนที่เคยได้รับจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนก่อนการผ่าตัด

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับการเทคฮอร์โมนสำหรับทรานเจนเดอร์ หญิงข้ามเพศและชายข้ามเพศที่เราได้หยิบมาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกัน เพื่อความปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่คุณต้องการ ทั้งนี้การเทคฮอร์โมน หรือรับฮอร์โมนบำบัดจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ถึงจะค่อยๆ เห็นผลลัพธ์ ที่สำคัญต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ 
ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อและควบคุมน้ำหนัก ชั้น 9 โรงพยาบาลวิมุต 
เวลาทำการ 07:00-20:00 โทร. 0-2079-0070 
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ


แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
พญ.ธนพร
พุทธานุภาพ
อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ
อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
13 วิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19

เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ covid-19 โดยโรคเบาหวานนั้นจะทำให้ติดเชื้อ covid -19 ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป และหากติดเชื้อแล้วจะมีผลทำให้เกิดพาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?

เพราะการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในความฝันของผู้หญิงหลายๆ คน แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานคงกังวลไม่น้อยว่าจะมีลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า เรามาฟังคำตอบกันที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
สายกินต้องระวัง โรคอันตรายจากไขมันที่ต้องรู้ !

สายกินต้องระวัง! อาหารไขมันสูง ของทอดแสนอร่อยที่แฝงไปด้วยโรคไขมันตัวร้าย มาดูความลับทั้งประโยชน์และโทษของไขมัน ที่บั่นทอนสุขภาพคุณจนอาจเป็นโรคร้ายแรงได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
3 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี

เชื่อว่าหลายคนยังมีเป้าหมายในการลดน้ำหนัก แต่ปัญหาที่มักพบ คือ ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที หรืออาจลดได้แค่ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี

อ่านเพิ่มเติม