อาการนิ้วล็อคใครบอกว่าเรื่องเล็ก

02 มิ.ย. 66  | ศูนย์กระดูกและข้อ
แชร์บทความ      

อาการนิ้วล็อคใครบอกว่าเรื่องเล็ก

ในยุคที่หลายคนต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมนานๆ และมีการงอนิ้วมือคลิกเม้าส์อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังใช้นิ้วมือกดโทรศัพท์แทบจะทุกช่วงเวลาอีก นั่นอาจเป็นสาเหตุทำให้คุณพบกับปัญหาอาการนิ้วล็อคได้ง่ายขึ้น จนอาจทำให้กิจกรรมในชีวิตประจำวันต้องหยุดชะงัก เป็นปัญหาใกล้ตัวที่ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ก็สามารถนำไปสู่โรคกระดูกและข้อได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง วันนี้เราจึงต้องมาหาสาเหตุและแนวทางการรักษาอาการนิ้วล็อคอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นบ่อยจนเกินไป

สาเหตุของอาการนิ้วล็อค

การออกแรงกดที่นิ้วมือนานๆ จะนำไปสู่อาการนิ้วล็อคซึ่งจะเริ่มจากการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ จนสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว ทำให้รู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อกไว้ ดังนี้ 

  1. การถือ หรือแบกของหนักนานๆ 
  2. ใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงกดต่อเนื่อง เช่น การซักผ้าด้วยมือ 
  3. ใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์มากเกินไป
  4. การทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งซ้ำๆ เป็นเวลานาน เช่น เล่นกีต้าร์ กดเครื่องเล่นเกม หรือการเขียนหนังสือ
  5. การหักหรือดัดนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นอักเสบได้
  6. ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคเบาหวาน รูมาตอยด์ และโรคไทรอยด์ สามารถเกิดอาการนิ้วล็อคได้ง่ายกว่าปกติ

หากไม่รักษานิ้วล็อค จะเกิดเป็นอาการเรื้อรังได้หรือไม่ ?

การเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการรักษาอาจทำให้ข้อต่อของนิ้วเกิดอาการยึดติด ฝืด หรือตึง (stiffness of joint) ส่งผลต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันมากขึ้น อย่างไรก็ไม่ควรปล่อยไว้เป็นเวลานานๆ ควรรีบหาแนวทางการรักษาให้ถูกต้องตามอาการจะดีกว่า

แนวทางการรักษาอาการนิ้วล็อคโดยวิธีทางการแพทย์

แนวทางในการรักษาโรคนิ้วล็อคมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงของแต่ละบุคคล หากมีอาการอักเสบรุนแรงควรรับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนเพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการรักษาที่ถูกต้อง โดยวิธีการรักษามีอยู่ด้วยกัน ดังนี้ 

  1. แช่นิ้วในน้ำอุ่นและทายา ค่อยๆ บริหารนิ้วหรือเหยียดนิ้ว 
  2. ใช้ยากลุ่ม NSAIDs เพื่อลดอาการปวด บวม อักเสบ 
  3. ใช้ยาต้านการอักเสบหรืออาจร่วมกับการฉีดยาสเตียรอยด์ 
  4. การผ่าตัดรักษา

วิธีป้องกันอาการนิ้วล็อค

ถึงแม้ว่าอาการนิ้วล็อคจะมีวีธีการรักษาให้หายได้หลายวิธี แต่แน่นอนว่าการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ปัญหา ใครที่ยังไม่เคยมีอาการนิ้วล็อคสามารถหาแนวทางป้องกันไว้ก่อน ส่วนใครที่เคยมีอาการแล้วแต่ไม่รุนแรงมากก็สามารถป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นหรือกลับมาเป็นซ้ำได้เช่นกัน จะมีวิธีการอย่างไรมาดูกัน 

  1. หลีกเลี่ยงการยกหรือแบกของหนักเกินไป
  2. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกดที่นิ้วมือนานเกินไป หรือควรทำในเวลาที่เหมาะสม
  3. หากมีอาการเมื่อยล้าข้อมือหรือนิ้วมือควรพักเป็นระยะ 
  4. ไม่หักนิ้วหรือดัดนิ้วเล่น 

อาการนิ้วล็อคนี้หลายท่านอาจคิดว่าเป็นเพียงอาการเล็กน้อยที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันไม่มากนัก แต่ทราบหรือไม่ว่าไม่ควรเมินเฉยต่ออาการ เพราะถ้าอาการของโรคยังคงอยู่ หรือกลับมาเป็นซ้ำอีกเรื่อยๆ แพทย์อาจพิจารณาการรักษาโดยวิธีการผ่าตัด เพื่อให้เส้นเอ็นสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวกตามเดิม หากท่านใดกำลังมีปัญหานิ้วล็อค ต้องการรับบริการการผ่าตัดรักษาสามารถเข้ารับคำปรึกษาโปรแกรมการผ่าตัดนิ้วล็อก และหาแนวทางการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงพยาบาลวิมุตในเวลาทำการ 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์กระดูกและข้อ  ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต 

เวลาทำการ 08.00 - 20.00 น. โทร. 0-2079-0060

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอ

ผู้เขียน
นพ. ปฐมฉัฐ พิสิฐวัฒนาภรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
ข้อเท้าแพลง รับมืออย่างไร

ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกเกินช่วงการเคลื่อนไหวปกติ ทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการยืดออกมากจนเกินไป การบาดเจ็บมักเกิดบริเวณข้อเท้าด้านนอก หากรุนแรงมาก อาจส่งผลให้เอ็นเกิดการฉีดขาด มีอาการปวด บวม และสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้า

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
5 ปัจจัยทำ ให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

คุณเคยไหม ที่รู้สึกปวดเข่า เมื่อต้องขึ้นลงบันได หรือ มีเสียงดังก๊อบแก๊บที่เข่าเวลาเดิน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม จริง ๆ แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมมีอยู่มากมาย แต่วันนี้ขอนำเอาปัจจัย 5 ข้อสำคัญๆ ที่มีผลมากที่สุด มาให้ความรู้กันครับ

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ระวังภัยร้ายจาก Work from home syndrome ถามหา

ถึงสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลายแล้ว แต่หลายบริษัทยังคงให้ Work From Home อยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการทำงานจากบ้านที่ดูเหมือนจะสบายนั้น อาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ทำอย่างไร เมื่อข้อไหล่ติด รบกวนชีวิตประจำวัน

ข้อไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไหล่แล้วเจ็บ หรือขยับไหล่ได้น้อยลงจนหลายคนใช้ชีวิตลำบาก วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและวิธีรักษาข้อไหล่ติดโดยไม่ต้องผ่าตัดมาฝากกัน

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง