ทำความเข้าใจ “โรคไบโพลาร์” เดี๋ยวร้ายเดี๋ยวดี ที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
ทำความเข้าใจ “โรคไบโพลาร์” เดี๋ยวร้ายเดี๋ยวดี ที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
โรคไบโพลาร์” หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นความผิดปกติทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีลักษณะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมา ระหว่างช่วงที่อารมณ์ดี มีความสุข พลังงานเหลือล้นจนต้องแอคทีฟตลอด สลับกับช่วงที่รู้สึกดิ่ง ซึมเศร้า อารมณ์ร้าย เปลี่ยนไปมาจนคนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งตัวเองก็ยากจะรับมือ อีกทั้งอาการในแต่ละช่วงอาจอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือหลายๆ เดือนก็ได้
ในปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยที่มีอาการแต่ไม่รู้ตัวเองว่าเป็นโรคนี้ เพราะไม่รู้จักสัญญาณต่างๆ ที่เป็นอาการของโรคไบโพลาร์ ซึ่งจากการสำรวจในประชากรทั่วไปพบว่าความชุกชั่วชีวิต หรือจำนวนผู้คน ที่เผชิญหน้ากับโรคไบโพลาร์สูงถึงร้อยละ 1.5 -5 หรืออีกนัยหนึ่งคือสามารถพบเจอกับโรคนี้ได้ในทุกช่วงอายุ หรือตลอดชีวิตตามอัตราส่วนดังกล่าวนั่นเอง
ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคไบโพลาร์ ว่าคืออะไร อาการเป็นอย่างไร วิธีการเช็กว่าตัวเองเสี่ยงเป็นโรคนี้หรือไม่กับแบบทดสอบความเสี่ยงโรคไบโพลาร์และแนวทางการรักษาเป็นอย่างไรกัน
โรคไบโพลาร์ โรคจิตเวชที่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย คือโรคอะไร
โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว ถือเป็นโรคจิตเวชอย่างหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ โดยปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของโรคไบโพลาร์นั้นมีได้หลายสาเหตุ
- ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง, ความผิดปกติของระบบฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย, การนอนหลับที่ผิดปกติ, ความผิดปกติของการทำงานในส่วนต่างๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ เป็นต้น
- ปัจจัยทางจิตสังคม เช่น การไม่สามารถปรับตัวกับความเครียด หรือรับมือกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้ แม้ปัจจัยทางจิตสังคมจะไม่ใช่สาเหตุของโรค แต่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้โรคไบโพลาร์แสดงอาการได้
- ปัจจัยทางพันธุศาสตร์ ปัจจุบันยังไม่ทราบรูปแบบแน่ชัดของการถ่ายทอดผ่านยีนส์ที่ชัดเจนของโรคไบโพลาร์ภายในครอบครัว แต่จากการศึกษาพบว่า สามารถพบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในครอบครัวที่มีผู้ป่วยไบโพลาร์มากกว่าในประชากรทั่วไป
โดยโรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้วนี้ จะมีการแสดงอาการอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มอาการอารมณ์ดีมากกว่าปกติ หรือกลุ่มอาการแมเนีย (Mania) และกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depression)
เช็กลิสต์ลักษณะอาการของโรคไบโพลาร์
1. กลุ่มอาการอารมณ์ดีผิดปกติ หรืออาการแมเนีย (Mania)
- มีอารมณ์คึกคัก แสดงความรู้สึกโดยไม่รั้ง ไม่ยอมหลับยอมนอน
- อารมณ์หงุดหงิดง่ายที่ผิดปกติ
- รู้สึกว่าตนมีความสำคัญ มั่นใจในตัวเองสูง คิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่มีอำนาจ
- มีความสามารถมาก ทำทุกอย่างที่ต้องการได้
- พูดเร็ว พูดมาก พูดไม่ยอมหยุด
- ความคิดแล่นเร็ว มีหลายความคิดเข้ามาในสมอง
- มีความต้องการทางเพศสูง
โดยอาการเหล่านี้จะคงอยู่ตลอดอย่างชัดเจนนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์
2. กลุ่มอาการซึมเศร้า (Depression)
- รู้สึกไร้เรี่ยวแรง อ่อนเพลีย
- ซึมเศร้า เก็บตัว เสียใจ ร้องไห้ง่าย
- เหนื่อยหน่าย เบื่อ ท้อแท้ สิ้นหวัง
- นอนไม่หลับ หรืออยากนอนมากเกินไป
- คิดช้า ไม่มีสมาธิ
- มีความคิดอยากตาย หรืออยากฆ่าตัวตาย
โดยมีอาการเหล่านี้คงอยู่เกือบตลอดเวลา และเป็นติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ทั้งนี้ หากใครที่เช็กลิสต์อาการของโรคไบโพลาร์ตามข้างต้นแล้วรู้สึกว่าตัวเองเข้าข่าย แต่ยังไม่แน่ชัดว่าใช่หรือไม่ สามารถทำแบบทดสอบประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิตได้ และหากใครที่ต้องการเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อเข้าปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตทั้งไบโพลาร์ หรือซึมเศร้า
สามารถติดต่อศูนย์สุขภาพใจ โรงพยาบาลวิมุตได้
แนวทางการรักษาโรคไบโพลาร์
สำหรับการรักษาโรคไบโพลาร์นั้น แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 100% แต่การรักษาโรคไบโพลาร์อย่างถูกวิธีจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนคนทั่วไป ดังนี้
- รักษาด้วยยา การรักษาโรคไบโพลาร์จะใช้ยาเป็นหลัก เพื่อปรับสารสื่อประสาทและการควบคุมอารมณ์
- ควบคุมอารมณ์และบำบัดจิตใจ การเข้ารับการบำบัดสุขภาพจิตควบคู่การรักษาด้วยยา จะช่วยให้จัดการกับอารมณ์ในขั้วต่างๆ ได้ ช่วยลดความเครียดและความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากอารมณ์กับคนรอบข้างได้ดีขึ้น
- การดูแลตนเองในด้านต่างๆ เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ งดดื่มสุรา บุหรี่ และออกกำลังกาย เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่แล้วหลังการเข้ารับการรักษาโรคไบโพลาร์อย่างถูกต้อง ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อาการอามณ์รุนแรงทั้งสองขั้วที่ผิดปกติจะดีขึ้นและอยู่ในภาวะสงบ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิมภายในระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน
เรื่องของปัญหาสุขภาพจิต ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและควรต้องหมั่นดูแลและสังเกตไม่แพ้ร่างกายที่ใช้ขับเคลื่อนในชีวิตประจำวัน และยิ่งทุกวันนี้เราสามารถถูกกระตุ้นจากความเครียดด้านต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาได้ทุกทาง ทำให้เกราะป้องกันด้านสุขภาพจิตเปราะบาง และอาจทำให้ใครหลายคนพบเจอกับ “โรคไบโพลาร์” หรือโรคอารมณ์สองขั้ว แต่ทั้งนี้หากเรารู้ทันอาการและเข้ารับการรักษา พร้อมกับการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีก็สามารถหายได้ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์สุขภาพใจ ชั้น 18 โรงพยาบาลวิมุต
เวลา 08.00-18.00 น. โทร. 0-2079-0078
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

วิธีสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ เหตุคนไทยเครียดซึมเศร้า ยังไม่ติดโควิดแต่สุขภาพจิตใกล้โคม่า
แต่ไหนแต่ไรมาปัญหาสุขภาพจิตก็ถือเป็นภัยที่คุกคามชีวิตของคนทั่วโลกอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ในญี่ปุ่นมียอดการฆ่าตัวตายสูงถึง 17,000 ราย หลังจากเผชิญกับโรคไปได้แค่ 4 เดือน ในขณะที่ประเทศไทยก็มีอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นถึง 22% และการระบาดระลอกใหม่นี้เอง จะเห็นได้ว่าผู้คนยิ่งมีความวิตกกังวลเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังไม่มีท่าทีที่จะลดลง แต่ในขณะเดียวกันเราก็ยังต้องใช้ชีวิตประจำวัน ต้องออกจากบ้านไปทำงาน มีการพบเจอผู้คน ท่ามกลางความหวาดระแวงว่าจะติดเชื้อหรือไม่

เข้าถึงโลกของผู้สูงอายุด้วยหัวใจ สร้างสุขภาพจิตอย่างไรให้เวิร์ก
ทำไมคนแก่ขี้งอนบ่อย น้อยใจเก่ง อารมณ์แปรปรวนบ่อยๆ ? มาทำความเข้าใจโลกของผู้สูงอายุให้มากขึ้น กับปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่คนในครอบครัวต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

“ตระหนักแต่ไม่ตระหนก” 2 ข้อควรรู้ สู้ทั้งฝุ่นทั้ง COVID แบบจิตไม่ตก
ในภาวะที่ฝุ่น PM 2.5 กลับมาเข้าขั้นวิกฤตอีกครั้ง กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อมรายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 แล้วพบว่าเกินค่ามาตรฐานถึง 70 พื้นที่ทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร

เช็กอาการ…แบบนี้ใช่ซึมเศร้าไหม กับแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อ
หากคุณมีอาการเครียด นอนไม่หลับ เศร้า ซึม เบื่อหน่าย ร้องไห้บ่อย หรืออยากฆ่าตัวตาย มาเช็กสุขภาพจิตเบื้องต้นว่าเป็นซึมเศร้าไหม ด้วยแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อนี้กัน

วิธีสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ เหตุคนไทยเครียดซึมเศร้า ยังไม่ติดโควิดแต่สุขภาพจิตใกล้โคม่า
แต่ไหนแต่ไรมาปัญหาสุขภาพจิตก็ถือเป็นภัยที่คุกคามชีวิตของคนทั่วโลกอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ในญี่ปุ่นมียอดการฆ่าตัวตายสูงถึง 17,000 ราย หลังจากเผชิญกับโรคไปได้แค่ 4 เดือน ในขณะที่ประเทศไทยก็มีอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นถึง 22% และการระบาดระลอกใหม่นี้เอง จะเห็นได้ว่าผู้คนยิ่งมีความวิตกกังวลเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังไม่มีท่าทีที่จะลดลง แต่ในขณะเดียวกันเราก็ยังต้องใช้ชีวิตประจำวัน ต้องออกจากบ้านไปทำงาน มีการพบเจอผู้คน ท่ามกลางความหวาดระแวงว่าจะติดเชื้อหรือไม่

เข้าถึงโลกของผู้สูงอายุด้วยหัวใจ สร้างสุขภาพจิตอย่างไรให้เวิร์ก
ทำไมคนแก่ขี้งอนบ่อย น้อยใจเก่ง อารมณ์แปรปรวนบ่อยๆ ? มาทำความเข้าใจโลกของผู้สูงอายุให้มากขึ้น กับปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่คนในครอบครัวต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

“ตระหนักแต่ไม่ตระหนก” 2 ข้อควรรู้ สู้ทั้งฝุ่นทั้ง COVID แบบจิตไม่ตก
ในภาวะที่ฝุ่น PM 2.5 กลับมาเข้าขั้นวิกฤตอีกครั้ง กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อมรายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 แล้วพบว่าเกินค่ามาตรฐานถึง 70 พื้นที่ทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร

เช็กอาการ…แบบนี้ใช่ซึมเศร้าไหม กับแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อ
หากคุณมีอาการเครียด นอนไม่หลับ เศร้า ซึม เบื่อหน่าย ร้องไห้บ่อย หรืออยากฆ่าตัวตาย มาเช็กสุขภาพจิตเบื้องต้นว่าเป็นซึมเศร้าไหม ด้วยแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อนี้กัน

“ตระหนักแต่ไม่ตระหนก” 2 ข้อควรรู้ สู้ทั้งฝุ่นทั้ง COVID แบบจิตไม่ตก
ในภาวะที่ฝุ่น PM 2.5 กลับมาเข้าขั้นวิกฤตอีกครั้ง กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อมรายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 แล้วพบว่าเกินค่ามาตรฐานถึง 70 พื้นที่ทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร

เช็กอาการ…แบบนี้ใช่ซึมเศร้าไหม กับแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อ
หากคุณมีอาการเครียด นอนไม่หลับ เศร้า ซึม เบื่อหน่าย ร้องไห้บ่อย หรืออยากฆ่าตัวตาย มาเช็กสุขภาพจิตเบื้องต้นว่าเป็นซึมเศร้าไหม ด้วยแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า 9 ข้อนี้กัน

วิธีสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ เหตุคนไทยเครียดซึมเศร้า ยังไม่ติดโควิดแต่สุขภาพจิตใกล้โคม่า
แต่ไหนแต่ไรมาปัญหาสุขภาพจิตก็ถือเป็นภัยที่คุกคามชีวิตของคนทั่วโลกอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ในญี่ปุ่นมียอดการฆ่าตัวตายสูงถึง 17,000 ราย หลังจากเผชิญกับโรคไปได้แค่ 4 เดือน ในขณะที่ประเทศไทยก็มีอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นถึง 22% และการระบาดระลอกใหม่นี้เอง จะเห็นได้ว่าผู้คนยิ่งมีความวิตกกังวลเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังไม่มีท่าทีที่จะลดลง แต่ในขณะเดียวกันเราก็ยังต้องใช้ชีวิตประจำวัน ต้องออกจากบ้านไปทำงาน มีการพบเจอผู้คน ท่ามกลางความหวาดระแวงว่าจะติดเชื้อหรือไม่

เข้าถึงโลกของผู้สูงอายุด้วยหัวใจ สร้างสุขภาพจิตอย่างไรให้เวิร์ก
ทำไมคนแก่ขี้งอนบ่อย น้อยใจเก่ง อารมณ์แปรปรวนบ่อยๆ ? มาทำความเข้าใจโลกของผู้สูงอายุให้มากขึ้น กับปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่คนในครอบครัวต้องใส่ใจเป็นพิเศษ