โดยปกติแล้วมดลูกที่เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงจะมีตำแหน่งอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน แต่รู้หรือไม่! ว่ามดลูกก็สามารถเคลื่อนที่ได้เช่นกัน หรือที่เรามักเรียกกันว่า “ภาวะมดลูกหย่อน” ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่ผู้หญิงควรให้ความสำคัญและเข้าใจ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างเหมาะสมย่อมกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหลายด้านอย่างคาดไม่ถึง อาการมดลูกหย่อนลงหรือต่ำลงจนผิดปกตินี้จะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร และอันตรายมากน้อยแค่ไหน หาคำตอบไปด้วยกันที่บทความนี้
มดลูกหย่อนคืออะไร?
มดลูกหย่อน (Prolapsed Uterus) หรือมดลูกต่ำ (Pelvic Organ Prolapse) เป็นภาวะที่มดลูกเลื่อนลงจากตำแหน่งปกติในอุ้งเชิงกรานเข้าใกล้ปากช่องคลอด เนื่องจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพยุงอุ้งเชิงกรานที่ทำหน้าที่ยึดมดลูกอ่อนแรงลง และในระยะยาวอาจทำให้อวัยวะอื่นๆ อย่างกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้หย่อนตามมาลงมาได้อีกด้วย
ภาวะมดลูกหย่อนเกิดจากสาเหตุใดบ้าง?
- อาการมดลูกหย่อนเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จากวัยหมดระดู หรือวัยทอง
- กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานเกิดความเสียหายจากการคลอดบุตรหลายครั้ง
- การยกของหนัก หรือใช้แรงเบ่งจากอาการท้องผูกเป็นระยะเวลานาน
- โรคและอาการที่ส่งผลต่อแรงดันในช่องท้อง ทำให้มีผลกระทบต่ออุ้งเชิงกราน เช่น อาการไอเรื้อรัง ท้องผูก หรือโรคอ้วน
- เคยผ่าตัดมดลูกหรือกระบังลมหย่อนมาก่อน จึงมีโอกาสที่อวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกรานจะเคลื่อนต่ำลงได้
ระดับความรุนแรงของภาวะมดลูกหย่อน
อาการมดลูกหย่อนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 : มดลูกเริ่มหย่อนลงมาจากตำแหน่งปกติ แต่ยังอยู่ในช่องคลอด
ระดับที่ 2 : มดลูกหย่อนลงมาที่บริเวณปากช่องคลอด
ระดับที่ 3 : มดลูกบางส่วนหย่อนออกมานอกช่องคลอด
ระดับที่ 4 : มดลูกทั้งหมดหย่อนออกมานอกช่องคลอด
เช็ก! อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน
ในผู้ที่เริ่มมีภาวะมดลูกหย่อนยังไม่มากจะไม่มีอาการผิดปกติแสดงออกมาให้เห็น แต่หากเกิดภาวะมดลูกหย่อนระดับที่ 2 ขึ้นไปจะเริ่มมีอาการ ดังนี้
- รู้สึกมีบางอย่างโผล่ออกมาจากช่องคลอด หรือเห็นเนื้อเยื่อโผล่ออกมาจากช่องคลอดชัดเจน
- รู้สึกมีอาการหน่วง ๆ ที่บริเวณอุ้งเชิงกราน
- ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเล็ด
- มีอาการเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- มีตกขาวออกมาก หรือมีเลือดออกมาจากช่องคลอด
- มีอาการท้องผูก
แนวทางการรักษาต้องทำอย่างไร?
เนื่องจากอาการมดลูกหย่อนมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน แพทย์จะเลือกใช้วิธีการรักษาตามความรุนแรงของการหย่อนตัวของมดลูก ดังนี้
- การรักษาด้วยอุปกรณ์พยุงช่องคลอด โดยแพทย์จะสอดห่วงที่เป็นซิลิโคนเข้าไปในช่องคลอด เพื่อช่วยพยุงมดลูกไม่ให้หย่อนตัวลงมา วิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงมากนัก
- การผ่าตัดรักษามดลูกหย่อน จะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยมีรูปแบบหรือเทคนิคการผ่าตัดหลายวิธี เช่น การเย็บซ่อมผนังช่องคลอด การผ่าตัดมดลูก และการผ่าตัดส่องกล้อง เป็นต้น
มดลูกหย่อนรักษาหายไหม? หากอาการมดลูกหย่อนไม่รุนแรงมาก สามารถใช้อุปกรณ์พยุงช่องคลอดหรือการผ่าตัดรักษาให้หายได้ แต่ในผู้ที่มีอาการมดลูกหย่อนในระดับรุนแรงแม้จะเข้ารับการผ่าตัดรักษาแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นอีกครั้งได้ โดยเฉพาะในคนที่มีอายุมาก หรือมีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์มาตรฐาน |
วิธีการป้องกันภาวะมดลูกหย่อนทำอย่างไร?
เพื่อป้องกันและลดโอกาสการเกิดภาวะมดลูกหย่อน คุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ดังนี้
- ออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานเป็นประจำ
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- ฝึกขมิบเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนและหลังคลอดบุตร
- รับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เพื่อเลี่ยงอาการท้องผูก เพราะการเบ่งจากอาการท้องผูกทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเกร็งและส่งผลต่อมดลูกไปด้วย
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ซึ่งส่งผลต่อความดันในช่องท้องและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
ถึงแม้อาการมดลูกหย่อนจะไม่รุนแรงจนอันตรายถึงชีวิต แต่ก็สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก ดังนั้นการรู้เท่าทันอาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะมดลูกหย่อนลงได้มาก และอย่าลืมให้ความสำคัญกับการดูแลใส่ใจสุขภาพและตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว…
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์สูตินรีเวช ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0066
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ฉันทศาสตร์รัศมี

เอี่ยมจิรกุล

ฉันทศาสตร์รัศมี

เอี่ยมจิรกุล

ฉันทศาสตร์รัศมี

เอี่ยมจิรกุล

ฉันทศาสตร์รัศมี

เอี่ยมจิรกุล
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

4 มะเร็งร้ายที่ผู้หญิงต้องระวัง พร้อมโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิง
เช็กให้ชัวร์เพื่อสุขภาพของผู้หญิงทุกคน กับ 4 มะเร็งร้ายทำลายชีวิต ที่สาวๆ ต้องหมั่นสังเกต พร้อมโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิงปี 2567 ราคาพิเศษจาก รพ. วิมุต

ก้าวสู่ชีวิตคู่อย่างมั่นใจ “ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน”
เริ่มต้นชีวิตคู่ที่สมบูรณ์แบบพร้อมสุขภาพดีไปด้วยกัน กับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน หลายคนอาจสงสัยว่าจำเป็นหรือไม่และต้องตรวจอะไรบ้าง เรามีคำตอบมาให้แล้วที่นี่

คุณแม่มือใหม่ ต้องเตรียมตัวอย่างไรหลังคลอด ?
ใกล้เวลาได้พบเจอกัน แต่คุณแม่มือใหม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง กับสิ่งที่ต้องเจอหลังคลอดลูก ที่นี่เราได้รวมข้อมูลเพื่อคุณแม่มือใหม่มาให้แล้ว

ไขข้อข้องใจ ทำไมผู้หญิงถึงควรฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ?
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมดลูกได้จริงไหม จำเป็นแค่ไหน ทำไมต้องฉีด

4 มะเร็งร้ายที่ผู้หญิงต้องระวัง พร้อมโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิง
เช็กให้ชัวร์เพื่อสุขภาพของผู้หญิงทุกคน กับ 4 มะเร็งร้ายทำลายชีวิต ที่สาวๆ ต้องหมั่นสังเกต พร้อมโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิงปี 2567 ราคาพิเศษจาก รพ. วิมุต

ก้าวสู่ชีวิตคู่อย่างมั่นใจ “ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน”
เริ่มต้นชีวิตคู่ที่สมบูรณ์แบบพร้อมสุขภาพดีไปด้วยกัน กับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน หลายคนอาจสงสัยว่าจำเป็นหรือไม่และต้องตรวจอะไรบ้าง เรามีคำตอบมาให้แล้วที่นี่

คุณแม่มือใหม่ ต้องเตรียมตัวอย่างไรหลังคลอด ?
ใกล้เวลาได้พบเจอกัน แต่คุณแม่มือใหม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง กับสิ่งที่ต้องเจอหลังคลอดลูก ที่นี่เราได้รวมข้อมูลเพื่อคุณแม่มือใหม่มาให้แล้ว

ไขข้อข้องใจ ทำไมผู้หญิงถึงควรฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ?
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมดลูกได้จริงไหม จำเป็นแค่ไหน ทำไมต้องฉีด

คุณแม่มือใหม่ ต้องเตรียมตัวอย่างไรหลังคลอด ?
ใกล้เวลาได้พบเจอกัน แต่คุณแม่มือใหม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง กับสิ่งที่ต้องเจอหลังคลอดลูก ที่นี่เราได้รวมข้อมูลเพื่อคุณแม่มือใหม่มาให้แล้ว

ไขข้อข้องใจ ทำไมผู้หญิงถึงควรฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ?
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมดลูกได้จริงไหม จำเป็นแค่ไหน ทำไมต้องฉีด

4 มะเร็งร้ายที่ผู้หญิงต้องระวัง พร้อมโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิง
เช็กให้ชัวร์เพื่อสุขภาพของผู้หญิงทุกคน กับ 4 มะเร็งร้ายทำลายชีวิต ที่สาวๆ ต้องหมั่นสังเกต พร้อมโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิงปี 2567 ราคาพิเศษจาก รพ. วิมุต

ก้าวสู่ชีวิตคู่อย่างมั่นใจ “ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน”
เริ่มต้นชีวิตคู่ที่สมบูรณ์แบบพร้อมสุขภาพดีไปด้วยกัน กับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน หลายคนอาจสงสัยว่าจำเป็นหรือไม่และต้องตรวจอะไรบ้าง เรามีคำตอบมาให้แล้วที่นี่