"บอลลูนหัวใจ" ทางเลือกใหม่เพื่อการรักษาหัวใจและหลอดเลือดตีบ
เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย...หากคุณมีอาการเหล่านี้ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้ แต่ไม่ต้องกังวล เพราะปัจจุบันมีนวัตกรรมการรักษาที่เรียกว่า “บอลลูน และขดลวดถ่างขยายเส้นเลือดหัวใจ” ที่ช่วยเปิดทางให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ แถมระยะพักฟื้นสั้น ฟื้นตัวได้เร็วอีกด้วย
บอลลูนหัวใจคืออะไร?
บอลลูนหัวใจ หรือที่เรียกว่า "การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน" (Percutaneous Coronary Intervention: PCI) เป็นหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยแพทย์จะสอดสายสวนขนาดเล็กที่มีบอลลูนอยู่ตรงปลาย เข้าไปทางหลอดเลือดแดงหัวใจที่บริเวณขาหนีบหรือข้อมือ โดยจะมีการฉีดสารทึบรังสีเพื่อค้นหาตำแหน่งที่ตีบตัน เมื่อถึงตำแหน่งที่หลอดเลือดตีบ แพทย์จะทำการขยายบอลลูนเพื่อดันให้หลอดเลือดเปิดกว้างขึ้น และอาจใส่ขดลวดค้ำยัน (Stent) เพื่อช่วยให้หลอดเลือดคงรูปและเปิดกว้างอยู่เสมอ
การรักษาบอลลูนหัวใจเหมาะกับใคร ?
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
บอลลูนหัวใจช่วยเรื่องอะไร ?
- เปิดหลอดเลือดที่ตีบหรือตัน เพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
- เปิดและขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบเรื้อรัง ลดอาการเจ็บหน้าอกและเหนื่อยง่าย
ซึ่งผลดังกล่าว ทำให้ลดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งนำมาสู่การเสียชีวิต และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
ขั้นตอนการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยการทำบอลลูนหัวใจ
หลังจากที่ตรวจเช็กร่างกาย จะมีการงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำบอลลูน และใส่ขดลวดถ่างขยาย เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
สำหรับขั้นตอนการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยการทำบอลลูนหัวใจมีด้วยกัน ดังนี้
- แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณข้อมือชวา หรือขาหนีบ
- จากนั้นจะสอดสายสวนเข้าไปในหลอดเลือดแดงหัวใจ (Catheter) และฉีดสารทึบรังสี เพื่อค้นหาตำแหน่งของหลอดเลือดที่ตีบตัน ร่วมกับการใช้กล้อง X-ray เพื่อค้นหาตำแหน่งที่หลอดเลือดตีบ ในการกำหนดตำแหน่งที่ต้องทำบอลลูนเส้นเลือดหัวใจต่อไป
- เมื่อถึงตำแหน่งที่หลอดเลือดตีบตัน แพทย์จะทำการขยายบอลลูน เพื่อเบียดคราบไขมันที่เกาะปิดทางการไหลของเลือด ให้ชิดผนังเส้นเลือดและเปิดหลอดเลือดให้กว้างขึ้น เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น โดยในปัจจุบันแพทย์มักจะมีการใส่ขดลวด (Stent) ซึ่งเป็นอุปกรณ์พิเศษที่ทำจากโลหะพิเศษ มีลักษณะเป็นโครงตาข่าย และเคลือบด้วยยาป้องกันหลอดเลือดตีบตัน กางค้ำยันหลอดเลือดบริเวณนั้นไม่ให้กลับมาตีบตันซ้ำ
- แพทย์จะทำการฉีดสารทึบรังสีอีกครั้ง เพื่อตรวจเช็กสภาพหลอดเลือดหัวใจหลังทำบอลลูน หรือใส่ขดลวด และสังเกตอาการผู้ป่วย รวมถึงการไหลเวียนของเลือดลงไปที่หลอดเลือดหัวใจส่วนปลาย ถ้าผลการทำบอลลูน และใส่ขดลวดอยู่ในสภาวะที่เรียบร้อยดี แพทย์จะทำการดึงสายสวนออก และสิ้นสุดการทำหัตถการ
- แต่ทั้งนี้แพทย์จะคาท่อที่ได้สอดไว้ที่ข้อมือหรือขาหนีบไว้อีกประมาณ 4 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำท่อนี้ออก และปิดแผลด้วยพลาสเตอร์เหนียว ร่วมกับการกดโดยใช้ปลอกรัดข้อมือในการห้ามเลือด หรือหมอนทรายกดที่บริเวณขาหนีบ อีกประมาณ 2 ชั่วโมง
การดูแลตัวเองหลังทำบอลลูนหัวใจ
หลังจากทำการรักษาหลอดเลือดตีบด้วยการทำบอลลูนหัวใจ ควรดื่มน้ำให้มาก เพื่อขับสารทึบรังสีออกจากร่างกาย (อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ตามสภาวะร่างกาย) และหลังจากพักฟื้นเพียง 1-2 วัน ผู้ป่วยที่ทำบอลลูนหัวใจ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานยาให้ครบถ้วนตามที่แพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงการยกของหนักโดยใช้แขนหรือขาข้างที่ทำหัตถการ เลี่ยงการออกกำลังกายหนักประมาณ 5-7 วัน รวมถึงไปพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อติดตามอาการอีกครั้ง
บอลลูนหัวใจเป็นทางเลือกการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคุณ และอย่าปล่อยให้อาการเจ็บป่วยหัวใจเป็นอุปสรรคต่อชีวิตของคุณ ที่โรงพยาบาลวิมุต เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้ปรึกษาเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ให้คุณกลับมามีหัวใจที่แข็งแรงอีกครั้ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 17:00 น. โทร. 0-2079-0042
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ภิบาลญาติ

ภิบาลญาติ

ภิบาลญาติ

ภิบาลญาติ

ภิบาลญาติ

ภิบาลญาติ
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

อาการเตือน เจ็บอกรุนแรง..อาจเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บกลางอก ใจสั่น เวียนหัว หายใจหอบ สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ” มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค
ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้

5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

อาการเตือน เจ็บอกรุนแรง..อาจเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บกลางอก ใจสั่น เวียนหัว หายใจหอบ สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ” มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค
ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้

5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

อาการเตือน เจ็บอกรุนแรง..อาจเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บกลางอก ใจสั่น เวียนหัว หายใจหอบ สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ” มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค
ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้
แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special A
2,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special B
4,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special C
4,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special A
2,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special B
4,500 บาท
