เช็กให้ชัวร์ เจ็บหน้าอกข้างซ้ายแบบนี้ เป็นโรคอะไรกันแน่

17 มี.ค. 66  | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด
แชร์บทความ      

เช็กให้ชัวร์เจ็บหน้าอกข้างซ้ายแบบนี้ เป็นโรคอะไรกันแน่

เจ็บหน้าอกข้างซ้าย อาการแบบนี้เป็นโรคหัวใจไหม ? เชื่อว่าใครที่กำลังมีอาการเจ็บหน้าอกโดยเฉพาะบริเวณข้างซ้าย คงกังวลไม่น้อยเลยทีเดียวว่าตัวเองจะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่ แต่อย่าเพิ่งตกอกตกใจกันไป เพราะการเจ็บหน้าอกข้างซ้ายอาจไม่ได้หมายความว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อโรคหัวใจเท่านั้น แต่ยังสามารถสื่อถึงโรคอื่นๆ ได้อีกเช่นกัน

เจ็บหน้าอกข้างซ้าย เป็นโรคอะไรได้บ้าง ?

อาการเจ็บหน้าอกบริเวณข้างซ้ายอาจไม่ได้หมายความว่าเรากำลังเผชิญหน้าอยู่กับโรคหัวใจเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายโรคที่มีอาการข้างเคียง หรือสัญญาณเตือนในรูปแบบของการเจ็บหน้าอกได้อีกเช่นกัน ดั้งนั้นเราจึงควรสังเกตลักษณะอาการของการปวดเพิ่มเติมเข้าประกอบด้วย เช่น ปวดร้าวลงแขนไหม เจ็บร่วมกับการเหนื่อยหอบหรือไม่ หรือลักษณะอาการเจ็บเป็นลักษณะใด เช่น เจ็บแบบจุกหนักๆ เจ็บแบบแปล๊บๆ เหมือนมีอะไรแหลมมาทิ่ม  ซึ่งอาการที่แตกต่างกันเหล่านี้ สามารถบ่งบอกโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเจ็บหน้าอกข้างซ้ายได้ ดังต่อไปนี้

1. โรคปอดรั่ว

สำหรับคนที่เป็นโรคปอดรั่ว ส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการบาดเจ็บ หรือโรคที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มปอด ซึ่งทำให้อากาศที่หายใจรั่วจากถุงลมเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด โดยจะมีอาการเจ็บแปล๊บที่หน้าอกอย่างฉับพลัน สามารถเจ็บได้ทั้งซ้ายและขวา แต่จะชัดเจนข้างใดข้างหนึ่ง ร่วมกับความรู้สึกแน่นๆในหน้าอกด้านนั้นๆ พร้อมกับหายใจไม่อิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อาจมีอาการไอร่วมด้วยได้ ซึ่งหากปล่อยเอาไว้นาน โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวได้ในที่สุด

2. ลิ่มเลือดอุดตันในปอด

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด มักเกิดกับคนที่ต้องเดินทางนานๆ นั่งนานๆ ไม่ค่อยได้ขยับร่างกายและแขนขา อาจร่วมกับการขาดน้ำ ทำให้เกิดภาวะเลือดข้นหนืดมากขึ้น เมื่อเลือดมีความหนืด จะจับตัวกันเป็นลิ่มเลือดที่ขา และไหลเข้าไปอุดตันที่เส้นเลือดในปอดได้ ซึ่งอาการของคนที่มีลิ่มเลือดอุดตันในปอด มักจะหายใจเหนื่อยหอบ ไอแห้งหรือไอออกเลือด เจ็บหน้าอกด้านใดด้านหนึ่ง หรือแน่นหน้าอกคล้ายโรคหัวใจได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม มักไม่ค่อยปวดร้าวไปตามแขนซ้าย อาจมีอาการเหนื่อยมากขึ้นเวลาออกแรง อีกทั้งต่อให้นั่ง พักอาการเจ็บหน้าอกก็จะไม่หายไป ผู้ป่วยบางส่วนอาจมีประวัติการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นส่วนประกอบ สำหรับบางคนที่มีอาการหนัก มีลิ่มเลือดอุดตันในปอดขนาดใหญ่ หรือที่ขั้วปอด อาจเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

3. โรคกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนโรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศ ที่สามารถมีอาการเจ็บแบบแสบร้อน ตั้งแต่บริเวณลิ้นปี่ขึ้นมากลางอก หรือเยื้องๆไปทางหน้าอกด้านซ้าย บางคนอาจแสบร้อนขึ้นมาถึงในลำคอ มีน้ำรสเปรี้ยวไหลย้อนขึ้นมาในปาก หรือปวดบีบๆ ที่หน้าอกร่วมกับร้อนกลางอกได้เช่นกัน แต่จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้ขยับตัวหรือลุกขึ้นเดิน หรืออยู่ในท่านั่ง และอาการมักแย่ลง ถ้าล้มตัวลงนอน ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นผลมาจากกรดในกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหารและทำให้เกิดการระคายเคืองตามแนวของหลอดอาหาร โดยส่วนใหญ่โรคนี้ มักจะไม่มีอาการหอบเหนื่อยปรากฎชัดเจน ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก็สามารสร้างความทรมานให้กับการใช้ชีวิตประจำวัน หรือเวลาทำงานได้ เช่นกัน

4. กระดูกซี่โครงอักเสบ

อาการเจ็บหน้าอกจากภาวะกระดูกซี่โครงอักเสบ มักมีอาการเจ็บแบบแปลบๆ ฉับพลันที่ผนังหน้าอก กดแล้วจะรู้สึกเจ็บและสามารถบอกตำแหน่งที่เจ็บได้ชัดเจน โดยมักจะเจ็บมากขึ้นเมื่อต้องนอนหงาย ไอ จาม เปลี่ยนท่าทาง หรือหายใจเข้าลึกๆ และเมื่ออยู่นิ่งสักพักอาการจะค่อยๆ ทุเลาลง ทั้งนี้หากรู้สึกเจ็บในช่วงระยะเวลาสั้นๆแล้วอาการดีขึ้น อาจไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล แต่หากมีอาการเจ็บติดต่อกันนานเกิน 20 นาที หรือเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ ควรไปโรงพยาบาลเพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม

5. กล้ามเนื้อหน้าอกอักเสบ

มักพบได้บ่อยในคนที่ไอติดต่อกันเป็นเวลานาน ยกของหนัก นักกีฬา หรือผู้ชื่นชอบการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกและต้นแขน ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหน้าอกอักเสบ โดยจะทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณหน้าอกได้ทั้งซ้าย ขวา หรือกลางอกใกล้ตำแหน่งซี่โครง แต่จะไม่ร้าวไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ใจสั่น ถ้าอาการเจ็บไม่รุนแรง ควรงดการใช้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวไปก่อนสักระยะหนึ่งก่อน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ฟื้นฟูตัวเองเสียก่อน อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรมาตรวจรับการวินิจฉัยโดยเร็ว เพื่อความปลอดภัย

6. โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นภาวะที่อันตรายและสามารถทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการเปิดหลอดเลือดที่อุดตันโดยด่วน โดยมักเกิดจากการมีปริแตกของคราบหินปูน หรือผนังหลอดเลือด้านใน ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจตำแหน่งนั้นๆ และ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจปลายจากตำแหน่งที่อุดดันได้ กล้ามเนื้อหัวใจจึงขาดเลือดและออกซิเจน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยมักจะมีอาการแน่นกลางอกหรือจุกใต้ลิ้นปี่ แต่ในบางครั้งสามารถเจ็บที่ตำแหน่งค่อนไปทางซ้ายของหน้าอกได้ ความรู้สึกจะเหมือน ถูกกดทับที่หน้าอกหนัก อาจมีเหงื่อออก ใจสั่น ร่วมด้วย อาการเจ็บหน้าอก อาจปวดร้าวไปกราม หัวไหล่ คอ ขากรรไกร หรือหลังได้เช่นกันในบางราย และหากพบว่าตัวเองมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

7. โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มที่ล้อมรอบหัวใจ จึงทำให้มีอาการแน่นหน้าอก เจ็บบริเวณหน้าอกซ้าย หรือกลางอกแบบแปล๊บๆ เหมือนถูกของแหลมทิ่มได้ และสามารถร้าวไปที่คอ แขน หัวไหล่ หรือบริเวณสะบักข้างซ้ายได้เช่นกัน โดยอาการจะแย่ลงเมื่อหายใจเข้า ไอ หรืออยู่ในท่านอน แต่จะดีขึ้นเมื่อได้นั่งโน้มตัวไปข้างหน้า

8. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง เป็นโรคที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเรื้อรังนั่นเอง โดยอาการที่มักจะแสดงให้ทราบคือ อาการเจ็บหน้าอกตรงกลาง หรือค่อนไปทางซ้าย และอาจมีอาการร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางคนมีอาการปวดร้าวขึ้นไปตามคอ และแน่นกลางอกหมือนมีของหนักทับ เหงื่อไหลโชกร่วมด้วย และอาการจะแย่ลงเมื่อต้องออกแรงมากขึ้น แต่จะดีขึ้นเมื่อได้หยุดพัก ซึ่งหากปล่อยไว้อาจทำให้เส้นเลือดตีบมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเส้นเลือดหัวใจเกิดการตีบตันแบบเฉียบพลันซ้อนขึ้นมา จนอาจทำให้เสี่ยงต่อชีวิตได้ จึงแนะนำให้เข้าตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม หากพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง จะได้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทัน และลดโอกาสการเสียชีวิตได้

ทั้งหมดนี้คือโรคที่เราสามารถพบได้เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกซ้าย ไม่ใช่เพียงแค่โรคหัวใจเพียงอย่างเดียวที่สามารถมีอาการนี้ได้ แต่ยังสามารถหมายถึงโรคปอด กระดูก กล้ามเนื้อ หรือทางเดินอาหารได้อีกเช่นกัน สำหรับใครที่มีความกังวล ไม่แน่ใจว่า อาการเจ็บหน้าอกของตัวของท่านเอง เสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่ สามารถเข้าตรวจเพื่อคัดกรองโรคเกี่ยวกับหัวใจกับแพ็กเกจสุดคุ้ม ได้ดังนี้

แพ็กเกจการตรวจหัวใจ เช็กให้ชัวร์ เจ็บหน้าอกข้างซ้ายแบบนี้ใช่โรคหัวใจไหม ?

  • แพ็กเกจ Touch You Heart Special A ที่ตรวจโดยการใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG หรือ ECG)
  • แพ็กเกจ Touch You Heart Special B ที่ตรวจโดยการใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจและการวิ่งสายพาน (EST)
  • แพ็กเกจ Touch You Heart Special C ที่ตรวจโดยการใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจและคลื่นเสียงความถี่สูง (ECHO)
  • แพ็กเกจ Touch You Heart Special D เป็นการตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CAC) ที่ตรวจโดยการใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจและเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan)

 

เรียบเรียงโดย นพ. ศรัณย์พงศ์ ภิบาลญาติ อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

ศูนย์หลอดเลือดและหัวใจ โรงพยาบาลวิมุต เวลา 08.00-17.00 น. โทร. 0-2079-0042

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ได้

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

 

ผู้เขียน
นพ. ศรัณย์พงศ์ ภิบาลญาติ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.ศรัณย์พงศ์
ภิบาลญาติ
อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!

อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง

มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ชวนเช็กอาการ เจ็บหน้าอกแบบนี้… อาจเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

เจ็บหน้าอก ใจสั่น อย่าวางใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดหัวใจตีบ” ได้ มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค

ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง