ปวดศีรษะเรื้อรังอันตรายอาจเข้าข่าย "เนื้องอกในสมอง"
ปวดหัวเรื้อรังอย่าวางใจ ถึงอาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุจะดูเหมือนอาการทั่วไป จนหลายคนแก้ปัญหาด้วยการกินยาระงับอาการปวดซ้ำๆ และละเลยการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง แต่หากสังเกตอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย อาจพบสัญญาณที่บ่งบอกถึงความอันตรายของ ‘เนื้องอกในสมอง’ โรคไม่ไกลตัวที่พบได้ในทุกวัย และรักษาให้หายขาดได้หากรู้เท่าทัน
ทำความเข้าใจกับเนื้องอกในสมอง
เนื้องอกในสมอง (Brain Tumor) คือ ภาวะที่มีก้อนเนื้อผิดปกติในสมอง ซึ่งมีทั้งเป็นเนื้องอกที่ไม่ร้ายแรง และชนิดที่ร้ายแรงเป็นมะเร็ง แต่ถึงแม้จะเป็นเนื้องอกที่ไม่ร้ายแรงแต่ถ้ามีขนาดใหญ่ กดเบียดตำแหน่งสำคัญก็มีโอกาศเสียชีวิตหรือทุพพลภาพได้
สมองนั้นควบคุมการทำงานทุกอย่างของร่างกาย ดังนั้นอาการของเนื้องอกสมองมีได้มากมายหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ตำแหน่งที่กดเบียด และขนาดของตัวเนื้องอก ถ้าก้อนเนื้องอกขยายขนาด หรือโตขึ้นภายในกะโหลกศีรษะซึ่งมีเนื้อที่จำกัด ความดันภายในกะโหลกศีรษะจะสูงขึ้น ผู้ป่วยจึงมักมีอาการปวดศีรษะ หรือมีความผิดปกติร่วมที่แสดงออกต่างกันไป ตามแต่ว่าเนื้องอกกดทับสมองส่วนใดไว้ เช่น การมองเห็นแย่ลง ตามัว เห็นภาพซ้อน หน้าเบี้ยว แขนขาชา แขนขาอ่อนแรง ชัก พฤติกรรมเปลี่ยน หรือพูดไม่รู้เรื่อง เป็นต้น
เนื้องอกในสมอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- เนื้องอกชนิดเนื้อธรรมดา (Benign Brain Tumors) เป็นเนื้องอกเจริญเติบโตช้าภายในกะโหลกศีรษะ ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง โดยมากแล้วสามารถรักษาให้หายได้ หลังการรักษามีโอกาสน้อยที่ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นเนื้องอกในสมองซ้ำ
- เนื้องอกชนิดเนื้อร้าย (Malignant Brain Tumors) เป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์มะเร็ง อาจเกิดขึ้นบริเวณสมองโดยตรง หรือเป็นเซลล์มะเร็งจากอวัยวะส่วนอื่นลุกลามเข้าสู่สมอง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ และมะเร็งเต้านม เป็นต้น หลังการรักษาแล้วผู้ป่วยมีโอกาสที่จะกลับมาตรวจพบเนื้องอกซ้ำได้อีก
ชวนสังเกตอาการเสี่ยงโรคเนื้องอกในสมอง
สมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายและจิตใจ อาการ เนื้องอกในสมองผิดปกติจึงแสดงออกได้หลากหลายขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดเนื้องอกในสมอง ได้แก่
- อาการปวดหัว หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดเรื้อรังเกินกว่าสัปดาห์ และความปวดทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
- คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม
- เห็นภาพเบลอ ภาพซ้อน หรือมีปัญหาทางการมองเห็น
- พูดจาติดขัด บอกเล่าเป็นประโยคและลำดับเรื่องไม่ได้ รวมถึงมีปัญหาในการได้ยิน
- สูญเสียประสาทสัมผัสการรับรู้ มีปัญหาในการเคลื่อนไหว การทรงตัว
- แขนขาอ่อนแรง หรือเป็นอัมพาตครึ่งซีก
- สับสบ มึนงง มีปัญหาด้านการจดจำ หรือความทรงจำขาดช่วง
- มีอาการชัก เกร็ง โดยไม่เคยมีประวัติการชักมาก่อน
- มีบุคลิก และพฤติกรรมที่แตกต่างจากเคย และมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ หรืออารมณ์ที่แปรปรวน
หาต้นตอเนื้องอกในสมองด้วย MRI
สำหรับการตรวจวินิจฉัยแพทย์จะเริ่มตรวจวินิจฉัยเนื้องอกในสมองด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยละเอียด และตรวจสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI เพื่อหาตำแหน่งของเนื้องอกที่ชัดเจน รวมถึงขนาด และความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในกะโหลกศีรษะ และอาจตรวจด้วยเครื่องซีทีสแกน (CT Scan) เพื่อดูที่มาของเนื้องอกหรือการแพร่กระจาย ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ (Biopsy) ร่วมด้วย เพื่อช่วยในการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ
ศูนย์เอกซเรย์โรงพยาบาลวิมุต เราพร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคและค้นหาความผิดปกติในร่างกายด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI : Magnetic Resonance Imaging) ที่คำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้รับบริการเป็นสำคัญ อุโมงค์กว้างรองรับได้ทุกสรีระ ใช้เวลาตรวจสั้นลง ให้เสียงเบา มาพร้อมเทคโนโลยีจับการหายใจแบบไร้สาย (Red eye) ช่วยลดการติดอุปกรณ์และสายรัดขณะอยู่ในเครื่องตรวจ มีเสียงแจ้งอัตโนมัติหลายภาษา เพื่อรายงานเวลาที่เหลือในการตรวจ เมื่อพบการกลั้นหายใจ หรือการขยับของเตียง ซึ่งช่วยให้ผู้รับบริการคลายความกังวล ลดความอึดอัด และเปลี่ยนความรู้สึกให้การตรวจ MRI ไม่น่ากลัวอีกต่อไป
เนื้องอกในสมองตรวจพบเร็ว… รักษาได้
เนื้องอกในสมองรักษายังไง… สำหรับท่านใดที่มีข้อสงสัยว่าหากพบเจอเนื้องอกในสมองแล้ว จะต้องรักษาอย่างไร ในส่วนนี้ต้องแยกเป็นกรณีตามชนิดของเนื้องอกที่พบเจอ หากตรวจพบเนื้องอกในสมองและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกชนิดเนื้อธรรมดา สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกให้ได้มากที่สุด หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะหายขาดจากโรคเนื้องอกในสมองทันที แต่กรณีที่แพทย์ตรวจพบว่าเป็นเนื้องอกชนิดเนื้อร้าย ผู้ป่วยจำเป็นต้องรักษาต่อด้วยการฉายรังสี หรือให้เคมีบำบัดต่อไป
อย่าปล่อยให้สัญญาณเสี่ยงโดยเฉพาะอาการปวดหัวเรื้องรังเหล่านี้ผ่านไป เพราะเนื้องอกในสมองเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรค ขณะเดียวกันอาการปวดหัว และความผิดปกติต่างๆ อาจไม่ได้บ่งบอกถึงภาวะเนื้องอกในสมองเสมอไป สำหรับท่านใดที่มีอาการจึงควรเข้ารับการวินิจฉัยหาที่มาของความเจ็บป่วยและพิจารณาแนวทางการรักษาอย่างตรงจุดโดยแพทย์เฉพาะทาง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 17:00 น. โทร. 02-079-0068
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

เสกขพันธุ์

เสกขพันธุ์

เสกขพันธุ์

เสกขพันธุ์

เสกขพันธุ์

เสกขพันธุ์
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่