เช็กด่วน! ปวดหัวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่

04 พ.ค. 66  | ศูนย์อายุรกรรม
แชร์บทความ      

เช็กด่วน! ปวดหัวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่

ปวดหัวไมเกรน คงเป็นอาการที่คุณมักจะได้ยินจากคนรอบตัว หรือแม้แต่ตัวคุณเองอาจจะกำลังเผชิญกับอาการนี้อยู่โดยไม่รู้ตัวก็ได้! ปัจจุบันอาการปวดหัวไมเกรนสามารถเป็นได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่วัยทำงาน เกิดได้จากหลายปัจจัยและเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง บางอาการขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล การลดปัจจัยเสี่ยงและปรับพฤติกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดการปวดไมเกรนได้ดีอีกทางหนึ่ง ใครกำลังมีอาการปวดหัวไมเกรนอยู่ วันนี้เรามาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันอาการปวดไมเกรนกำเริบและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในอนาคตกัน

อาการปวดหัวไมเกรน ปวดแบบนี้ใช่ไมเกรนหรือไม่ ?

ไมเกรน เป็นอาการปวดหัวชนิดเรื้อรังมีอาการเป็นๆ หายๆ ลักษณะของการปวดส่วนใหญ่จะปวดแบบตุ้บๆ และมีอาการปวดหัวข้างเดียวบริเวณขมับ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการปวดทั้ง 2 ข้างตั้งแต่ครั้งแรก โดยจะค่อยๆ เพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แล้วจึงบรรเทาลงจนหายไป อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไวต่อแสง ในบางรายมีอาการชาที่มือ-แขน หรือมีอาการอ่อนแรงของแขน-ขาซีกหนึ่งของร่างกายร่วมด้วย โดยอาการปวดหัวไมเกรนจะไม่เลือกเวลา บางครั้งอาจปวดกลางดึก หรือตื่นเช้ามาแล้วปวดก็ได้เช่นกัน

ประเภทของอาการปวดไมเกรน

  1. ประเภทที่มีการเตือนนำ (Migraine with Aura) หรือเรียกอีกอย่างว่ากลุ่มที่มีอาการออร่า ลักษณะของอาการจะเห็นแสง อาจมีหรือไม่มีสีก็ได้ โดยมีลักษณะเป็นเส้นซิกแซกคล้ายฟันเลื่อย เห็นภาพมืดไปเป็นบางส่วน มองเห็นภาพไม่ชัด หรือเห็นภาพบิดเบี้ยว  
  2. ประเภทที่ไม่มีการเตือน (Common Migraine) หรือเรียกอีกอย่างว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการออร่า จะพบเฉพาะอาการปวดหัวเท่านั้น

สาเหตุและสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน

  1. แสงแดดจ้า แสงไฟที่สว่างมากๆ หรือแสงไฟกะพริบ
  2. อยู่ในสถานที่เสียงดัง อึกทึก
  3. ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน
  4. ออฟฟิศซินโดรม ปวดศีรษะส่วนหน้า หรือปวดกระบอกตา
  5. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง
  6. อาหารและเครื่องดื่ม เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน ชีส ผงชูรส แอลกอฮอล์ และกาแฟ 
  7. กินอาหารไม่ตรงเวลา

ปรับพฤติกรรมลดต้นเหตุอาการปวดหัวไมเกรน

การใช้ชีวิตประจำวันของเราส่งผลต่อร่างกายอย่างแน่นอน ทั้งการเลือกรับประทานอาหารและการนอนหลับพักผ่อน ดังนั้นการปรับพฤติกรรมเสี่ยงจึงเป็นอีกวิธีที่สามารถลดอาการปวดไมเกรนได้อย่างตรงจุด 

  1. นอนพักในที่มืดและเงียบสงบ
  2. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดอาการปวดไมเกรน
  3. ประคบเย็นบริเวณศีรษะ
  4. ปรับเวลานอนและอาหารที่มีส่วนกระตุ้น
  5. เลี่ยงการใช้งานคอมพิวเตอร์นานเกินไป
  6. ลดการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ 

ถึงแม้ว่าอาการปวดหัวไมเกรนจะสามารถบรรเทาและมีแนวทางการรักษาที่หลากหลาย แต่ก็คงไม่มีใครอยากมีอาการปวดหัวไปเรื่อยๆ ใช่หรือไม่ เพราะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตทั้งในด้านการทำงาน การเรียนโดยตรง สำหรับใครที่กำลังเผชิญอยู่กับปัญหาการปวดไมเกรนมาเป็นเวลานานและมีอาการปวดรุนแรงเรื้อรัง อย่าปล่อยให้อาการปวดรบกวนชีวิตของคุณ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม 

ในปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษาที่หลากหลาย เช่น การฉีดยาลดอาการปวดไมเกรน แพ็กเกจ รักษาโรคปวดไมเกรน ด้วยยาฉีดในผู้ใหญ่ เป็นวิธีการรักษาที่ดีอีกหนึ่งทางเลือก เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยยับยั้งสาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรนโดยตรง คล้ายกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ คือมีความสามารถในการป้องกันไม่ใช่การรักษา ช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดหัวลง สามารถเข้ารับการปรึกษาและรายละเอียดอื่นๆ ของแพ็กเกจได้ที่โรงพยาบาลวิมุตในเวลาทำการ

เรียบเรียงโดย นพ. กฤตวิทย์ รุ่งแจ้ง อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต 

เวลาทำการ 08.00 - 20.00 น. โทร. 0-2079-0068

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์


แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
นพ.กฤตวิทย์
รุ่งแจ้ง
อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง ทุกวัยเสี่ยง ทุกคนเลี่ยงได้

หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว แขนขาก็ไม่มีแรง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้ มาเช็กอาการเบื้องต้นให้ทันเวลา ก่อนเสี่ยงอัมพาตและเสียชีวิตได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม

ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เช็กอาการพาร์กินสัน อาการสั่นที่ไม่ควรมองข้าม

หากคุณมีอาการมือสั่น ตัวเกร็ง ลุกยืน หรือก้าวเดินได้ช้าและลำบากมากขึ้น รวมถึงแขนขากระตุกบ่อยๆ ตอนหลับ คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันได้ มาเช็กอาการพร้อมแนวทางการรักษาได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง