ชวนสังเกตอาการแผลในกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องที่ต้องระวัง !
ชวนสังเกตอาการแผลในกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องที่ต้องระวัง !
ใครที่มีอาการปวดท้องบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นตอนท้องว่าง หลังกินอิ่ม หลังกินเผ็ด หรือนอนๆ อยู่ตอนกลางคืนก็ปวดท้องขึ้นมาจนนอนไม่ได้ เลยอดสงสัยไม่ได้ว่าอาการปวดท้องนี้เกิดจาก “แผลในกระเพาะอาหาร” หรือเปล่า มาเช็คกันว่าแผลในกระเพาะอาหารมีอาการอย่างไร พร้อมแนวทางการดูแลตัวเองและการรักษา
“แผลในกระเพาะอาหาร” สาเหตุเกิดจากอะไร
โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer disease) หมายถึง โรคที่มีแผลเกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร และ/ หรือลำไส้เล็กส่วนต้น เกิดขึ้นได้จากการเสียสมดุลระหว่างปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดการทำลายเยื่อบุผิวทางเดินอาหารที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ได้แก่ กรดและน้ำย่อย กับปัจจัยป้องกันเยื่อบุผิวทางเดินอาหารที่สวนทางลดลง ได้แก่ การสร้างเยื่อเมือกลดลง ผิวกระเพาะอาหารขาดเลือดมาเลี้ยง เป็นต้น แต่ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารนั้นได้แก่ การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) และการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) หรือแอสไพริน
โดยเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือเอช ไพโลไร (H. pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารได้เนื่องจากสามารถอยู่ได้ในสภาวะที่มีความเป็นกรดสูง ส่วนใหญ่มักได้รับมาจากอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสที่จะพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
เช็กอาการแผลในกระเพาะอาหาร อาการเป็นอย่างไรบ้าง
- ปวดท้องใต้ลิ้นปี่ หรือท้องช่วงบน มักมีอาการปวดแสบร้อนร่วมกับจุกแน่นท้อง บริเวณใต้ลิ้นปี่ ท้องช่วงบนเยื้องไปทางซ้าย หรือเหนือสะดือ
- ท้องอืด แน่นท้อง อิ่มเร็ว ในบางรายอาจไม่มีอาการปวดท้องแต่จะมีอาการท้องอืด จุกแน่นท้องเหมือนอาหารไม่ย่อย หรือรู้สึกไม่สบายท้อง รวมถึงรู้สึกมีลมในท้อง ไม่สามารถทานอาหารได้ตามปกติ
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลดลง เมื่อรู้สึกไม่สบายท้อง แน่นท้อง มักมีอาการเบื่ออาหารและรับประทานได้น้อยลงร่วมด้วย ส่งผลให้น้ำหนักลดลง รวมไปถึงอาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนหลังกินอาหารได้
- ปวดท้องเฉียบพลันรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารทะลุ หน้าท้องแข็งตึงทั้งท้อง กดแล้วเจ็บ
- อุจจาระมีสีดำ ซึ่งเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารมีเลือดออก
- ซีดและอ่อนเพลีย หากมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจทำให้มีภาวะซีดและอ่อนเพลียได้ อาจตรวจพบภาวะขาดธาตุเหล็กเนื่องจากการเสียเลือดเรื้อรัง
- อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ เมื่อไม่ได้รับการรักษา
แนวทางการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร
การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่ทั้งนี้มักจะต้องรับประทานยายับยั้งการหลั่งกรด หรือยารักษาแผลในกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-12 สัปดาห์ (ขึ้นกับตำแหน่งของแผล) และควรตรวจหาการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เพราะ หากตรวจพบการติดเชื้อ จะต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรร่วมด้วย และควรหยุดยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือแอสไพริน เมื่อไม่มีข้อบ่งชี้ หรือรับประทานยายับยั้งการหลั่งกรดควบคู่กัน
โรคแผลในกระเพาะอาหารเป็นโรคที่สามารถมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก ดังนั้น นอกจากการป้องกันการติดเชื้อผ่านอาหารที่อาจปนเปื้อนแล้ว ผู้ป่วยควรกินอาหารให้ตรงเวลา กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย เลี่ยงอาหารรสจัด อาหารมัน งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอและจัดการความเครียดให้เหมาะสม เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคแผลในกระเพาะอาหารได้แล้ว แต่หากมีอาการปวดท้องรุนแรงหรือเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมากควรรีบพบแพทย์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0054
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน

จิริยะสิน
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา