ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง ทุกวัยเสี่ยง ทุกคนเลี่ยงได้
มองโรคหลอดเลือดสมองจากมุมใกล้ เฉพาะในประเทศไทยถูกจัดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง และการพิการเป็นอันดับ 3 เมื่อเทียบจากทั่วทั้งโลก น่ากลัวและไม่ไกลตัวอย่างที่หลายคนคิด โรคหลอดเลือดสมองเป็นได้ทุกวัย ไม่ได้จำกัดเฉพาะในผู้สูงอายุ หากดูจากสถิติรวมทั้งโลกจะพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 14.5 ล้านคนต่อปี และ 1 ใน 4 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุเริ่มต้นเพียง 25 ปีเท่านั้น นั่นหมายความว่าหนุ่มสาววัยแอคทีฟก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่นำไปสู่การเป็นอัมพาตได้เช่นกัน
โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คืออะไร ?
โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงแบบฉับพลัน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณสมอง อาจเกิดจากไขมันที่ไปเกาะผนังหลอดเลือดด้านในจนท่อนำเลือดตีบแคบลง โรคทางพันธุกรรม หลอดเลือดปริแตก หรือฉีกขาดจากภาวะความดันโลหิตสูง หรือมีลิ่มเลือดที่แข็งตัวชิ้นเล็กๆ หลุดไปตามกระแสเลือดแล้วอุดตันหลอดเลือดในสมอง จนกระทั่งส่งผลให้สมองขาดเลือด จากนั้นเซลล์สมองจะเริ่มตายภายในเวลาไม่กี่นาทีและค่อยๆ หยุดการทำงานลง เหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาท และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ที่อาจต่อยอดความรุนแรงไปจนถึงการเสียชีวิตได้
ความผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) : กว่าร้อยละ 80 ของโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด จนทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ มักเกิดร่วมกับภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว ซึ่งมีต้นเหตุมาจากไขมันที่อุดตันอยู่ทั่วผนังของหลอดเลือดจนทำให้เส้นเลือดตีบแข็ง โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณด้านข้างลำคอทั้งสอง ซึ่งมีหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้า การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่บริเวณคอจึงช่วยให้เห็นว่ามีการตีบตัน หรือเกิดลักษณะการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ปกติหรือไม่ รวมถึงสามารถวัดปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองว่ายังอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยประเมินความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองในอนาคตด้วย
- โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) : โรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้พบเห็นได้ประมาณร้อยละ 20 ของกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะที่หลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด กระทั่งเลือดจำนวนนั้นไหลเข้าไปคั่งในเนื้อสมองส่งผลให้เนื้อสมองตาย ซึ่งเกิดได้หลายตำแหน่งทั้งเลือดออกในแกนสมอง และเลือดออกนอกแกนสมอง แล้วเคลื่อนตัวมาเบียดแกนสมองอีกที มักพบในผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง รวมถึงผู้ที่มีผนังหลอดเลือดผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
วิธีสังเกตอาการด้วยหลักการ BEFAST สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมองได้ดังนี้
B - Balance มีปัญหากับสมดุลและการทรงตัว
ผู้ป่วยจะทรงตัวไม่เป็นปกติ ร่างกายเคลื่อนไหวไม่ประสานกันจนไม่สามารถทรงตัวได้ วิงเวียนศีรษะบ่อย ลุกยืนได้ยาก ร่วมกับอาการเดินเซ
E - Eye สายตาและการมองเห็นที่แย่ลง
ลานสายตาผิดปกติ มีมุมมองการมองเห็นแคบลงกว่าที่เคย ตาพร่ามัว หรือมองไม่เห็นอย่างเฉียบพลัน อาจเกิดขึ้นกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ข้างได้
F - Face หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
เกิดภาวะหน้าเบี้ยว กล้ามเนื้อใบหน้าขยับได้เพียงครึ่งซีก ปากเบี้ยว มุมปากตก สังเกตได้จากใบหน้าซีกซ้ายและซีกขวาทำงานไม่สัมพันธ์กัน หรืออาจมีน้ำลายไหลมุมปากเนื่องจากริมฝีปากไม่สามารถปิดให้สนิทได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของอาการโรคหลอดเลือด หรืออาการสโตรกที่มักสังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจนที่สุด
A - Arm แขนขาที่อ่อนแรง
อีกหนึ่งอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่เห็นได้ง่ายอีกหนึ่งอย่าง คือ อาการแขนขาอ่อนแรงที่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือมีอาการชา ไม่มีแรงอย่างเฉียบพลัน หยิบของแล้วหล่นหลุดมือคล้ายกล้ามเนื้ออ่อนแรง
S – Speech พูดไม่ชัด ติดขัด ขยับปากได้ยาก
ผู้ที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง ในบางครั้งอาจมีปัญหาทางการพูด มักจะพูดติดขัด ไม่เป็นคำ พูดไม่ชัด เมื่อขยับปากแล้วไม่สามารถบังคับริมฝีปากให้ขยับได้อย่างเคย จนไม่สามารถพูดสื่อความให้อีกฝ่ายเข้าใจได้ และอาจมีอาการลิ้นแข็งร่วมด้วย
T - Time มีอาการอย่างเฉียบพลัน
จากอาการทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้อาจเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือแสดงให้เห็นได้ชัดเจนในช่วงที่เพิ่งตื่นนอน แล้วหายไปภายใน 24 ชั่วโมง (จากอาการหลอดเลือดตีบชั่วคราว) แต่ก็นับเป็นอาการไม่ปกติที่ต้องรีบเข้าพบแพทย์ทันทีเช่นกัน
ทันทีที่พบสัญญาณเตือนเหล่านี้ควรรีบเดินทางเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุโดยด่วน เพราะทุกนาทีที่ผ่านไปหลังสังเกตพบอาการล้วนมีค่า วิวัฒนาการทางการแพทย์ค้นพบว่าหากผู้ป่วยได้รับการรักษาทันท่วงทีในเวลา 4 ชั่วโมง 30 นาที โดยรับการฉีดยาละลายลิ่มเลือดผ่านทางหลอดเลือดดำก่อนที่เนื้อสมองจะค่อยๆ ตายและหยุดการทำงาน นั่นหมายถึงโอกาสที่ผู้ป่วยจะห่างไกลจากความพิการและเสียชีวิตได้มากขึ้น
แนวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
- ปรับไลฟ์สไตล์ : การป้องกันที่ดีที่สุดคือการควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้วยตัวเอง โดยการรับประทานอาหารให้พอดีตามหลักโภชนาการ เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เค็มจัด หวานจ๋อย เพื่อลดความเสี่ยงในการก่อโรคความดันโลหิตสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขภาพ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะโรคหลอดลอดสมองตีบมีโอกาสเกิดลดลงหากควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้
- ตรวจสุขภาพประจำปี : หากอยู่ในวัยหนุ่มสาวที่สุขภาพร่างกายยังฟิต การเช็กอัปร่างกายโดยรวมปีละครั้งจะช่วยหาความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก รวมถึงค่าระดับน้ำตาล ไขมันในร่างกาย เพื่อสุขภาพแบบองค์รวมได้ แต่หากมีโรคประจำตัวอื่นๆ อยู่ก่อนแล้ว อย่างความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาให้ครบถ้วน และพบแพทย์ตามเวลานัดเสมอ
โปรแกรมตรวจสุขภาพ คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
ที่ศูนย์หัวใจและหลอดเลือดโรงพยาบาลวิมุต พร้อมดูแลคุณด้วยโปรแกรมคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง Standard Stroke Screening ตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาท ด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ Carotid Doppler ตรวจการไหลเวียนภายในหลอดเลือดแดงที่คอด้วยคลื่นความถี่สูง เพื่อหาจุดที่อาจมีการเกาะของไขมัน หินปูน หรือลิ่มเลือด มองหาทิศทางการไหลของเลือดและเส้นเลือดที่อาจตีบแคบลง พร้อมกับรายการเช็กอัปกว่า 11 รายการ ในราคาพิเศษ 3,990 บาท สนใจรายละเอียดคลิกที่นี่
โรคหลอดเลือดสมองเปรียบเหมือนระเบิดเวลาที่มักส่งสัญญาณเพียงเบาๆ ให้รู้ล่วงหน้าไม่นาน การรู้เท่าทันอาการเบื้องต้นและเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที เป็นการเพิ่มโอกาสรอดให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติ ไม่ต้องเป็นอัมพาตและลดโอกาสเสียชีวิตได้ เพราะโรคไม่เลือกอายุและช่วงวัย แนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อความชัวร์ ดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต
เวลา 08.00-20.00 น. หรือโทร 0-2079-0068
เรียบเรียงโดย นพ. กฤตวิทย์ รุ่งแจ้ง อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง

รุ่งแจ้ง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

เช็กอาการพาร์กินสัน อาการสั่นที่ไม่ควรมองข้าม
หากคุณมีอาการมือสั่น ตัวเกร็ง ลุกยืน หรือก้าวเดินได้ช้าและลำบากมากขึ้น รวมถึงแขนขากระตุกบ่อยๆ ตอนหลับ คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันได้ มาเช็กอาการพร้อมแนวทางการรักษาได้ที่นี่

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

เช็กอาการพาร์กินสัน อาการสั่นที่ไม่ควรมองข้าม
หากคุณมีอาการมือสั่น ตัวเกร็ง ลุกยืน หรือก้าวเดินได้ช้าและลำบากมากขึ้น รวมถึงแขนขากระตุกบ่อยๆ ตอนหลับ คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันได้ มาเช็กอาการพร้อมแนวทางการรักษาได้ที่นี่

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

เช็กอาการพาร์กินสัน อาการสั่นที่ไม่ควรมองข้าม
หากคุณมีอาการมือสั่น ตัวเกร็ง ลุกยืน หรือก้าวเดินได้ช้าและลำบากมากขึ้น รวมถึงแขนขากระตุกบ่อยๆ ตอนหลับ คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันได้ มาเช็กอาการพร้อมแนวทางการรักษาได้ที่นี่