พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่คงมีประสบการณ์ที่ลูก หรือเด็กน้อยที่คุณรักมีอาการปวดท้อง ซึ่งหลายคนคงจะกังวลไม่น้อย โดยเฉพาะถ้าอาการปวดท้องเกิดขึ้นบ่อยๆ เรื้อรัง จนกลัวว่าอาจจะมีสาเหตุจากโรคร้ายแรง เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประมาณร้อยละ 90 ของเด็กปวดท้องเรื้อรังไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากโรคทางร่างกาย โดยเฉพาะโรคแผลในกระเพาะอาหารอย่างที่กลัวกัน เพราะเป็นสาเหตุที่พบได้น้อยมากๆ ในเด็ก
เมื่อสาเหตุไม่ใช่โรคทางร่างกาย แล้วทำไมเด็กจึงปวดท้อง ?
คำอธิบายที่ยอมรับในปัจจุบัน เชื่อว่าเกิดจากประสาทรับความรู้สึกของกระเพาะอาหารและลำไส้ในเด็กกลุ่มนี้มีความไวมากต่อสิ่งกระตุ้นตามธรรมชาติ เช่น ลมในท้อง กินอาหารเผ็ด กินอาหารผิดเวลา เป็นต้น จึงทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ง่าย และที่พบได้เสมอคือการที่เด็กมีอาการปวดท้องนั้นมักเกี่ยวข้องกับอารมณ์เครียด วิตกกังวล เพราะสมองและทางเดินอาหารมีเส้นประสาทเชื่อมโยงกัน ดังนั้นเมื่อเด็กมีความเครียด มีความกังวลจากปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนหรือปัญหาในบ้าน ก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ หรือในเด็กเล็กที่มักจะบ่นปวดท้องเมื่อไม่พอใจเวลาถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ เช่น กินข้าว ไปโรงเรียน ทำการบ้าน เป็นต้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูก หรือเด็กปวดท้อง มีสาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากโรคทางกาย ?
เด็กที่มีอาการปวดท้อง โดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคทางกาย มีอาการที่คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ดังนี้
- มีลักษณะเป็นๆ หายๆ
- ไม่มีเวลาปวดท้องที่แน่นอน บางครั้งจะปวดนาน บางครั้งไม่นานก็หายเอง
- เด็กมักจะรู้สึกปวดท้องบริเวณรอบสะดือเป็นส่วนใหญ่ หรือย้ายตำแหน่งปวดไม่แน่นอน
- เด็กบางคนมีอาการปวดท้องรุนแรงจนต้องหยุดทำกิจกรรมในขณะนั้น แต่ส่วนใหญ่จะยังคงเล่น หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ตามปกติในขณะที่บอกว่าปวดท้อง
- ไม่มีอาการร่วมอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ท้องเสียหรือท้องผูก เป็นต้น
ในเด็กที่ปวดท้องไร้สาเหตุโรคทางกาย ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเด็กที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นปกติ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถหายห่วง คลายกังวลในด้านการเจริญเติบโตของเด็ก หรือลูกน้อยที่คุณรักได้
อาการปวดท้องเรื้อรังของเด็กลักษณะใดที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย
คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกมาพบกุมารแพทย์หากพบว่าลูกมีอาการปวดท้องในลักษณะดังนี้
- เด็ก หรือลูกน้อยมีอาการปวดท้องที่รุนแรงจนรบกวนกิจกรรมปกติ หรือการเรียนอยู่เสมอ
- มักตื่นนอนกลางดึกเพราะอาการปวดท้อง
- มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- มีอาการร่วม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก ตัวเหลือง ตาเหลือง ซีด เป็นต้น
โดยอาการปวดท้องเหล่านี้ อาจเป็นอาการที่สาเหตุมาจากความเจ็บป่วยทางกายที่คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกมาปรึกษากุมารแพทย์
จะดูแลเด็กปวดท้องที่ไม่มีสาเหตุจากโรคทางกายได้อย่างไร ?
เมื่อลูกน้อย หรือเด็กปวดท้อง ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคทางกายนั้น อันดับแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องไม่กังวลต่ออาการปวดท้องของลูก เพราะสาเหตุไม่ได้เกิดจากโรคทางกายจึงไม่มีอันตรายต่อชีวิต และไม่ควรแสดงความห่วงใยด้วยการถามบุตรหลานบ่อยๆ ถึงอาการปวดท้อง เพราะการถามย้ำจะยิ่งตอกย้ำวิตกกังวลและทำให้เด็กรู้สึกปวดอยู่เรื่อยๆ ได้ และในขณะที่เด็กมีอาการ ผู้ปกครองไม่ควรแสดงความวิตกจนเกินเหตุ แต่ควรให้การดูแลสนใจตามปกติ ปลอบใจว่าปวดสักพักก็หาย และอาจให้กินยาเคลือบกระเพาะอาหารประเภทยาธาตุน้ำขาว หรือยาลดกรดอลัมมิลค์ (Alum milk) ได้ ถ้าเด็กมีอาการปวดท้องมาก หรือปวดท้องเป็นเวลานานพอสมควร
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรทบทวนว่ากิจกรรมใดที่ดูเป็นการบังคับเด็กมากเกินไปจนทำให้เด็กตึงเครียด ก็ควรลดความเข้มงวดลง หรือปรับเปลี่ยนกิจกรรมนั้นๆ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาปวดท้องของลูกที่เกิดจากความเครียด
ที่โรงพยาบาลวิมุต เรายินดีให้คำปรึกษาปัญหาโรคทางเดินอาหารในเด็ก โดยคุณหมอเด็กผู้เชี่ยวชาญ พร้อมพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การดูแลเด็กแรกเกิดจนถึง 15 ปี ร่วมกับเทคโนโลยี เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของโรคได้อย่างแม่นยำ เปิดบริการตลอด 24 ชม.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์กุมารเวช ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต
ให้บริการ 24 ชั่วโมง โทร. 0-2079-0038
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์ได้
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

เด็กนอนกรน... อาจไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อันตรายที่ต้องรีบเช็กด่วน
ฝันร้ายของลูกน้อย... อาจมาจากเสียงเด็กนอนกรน! ที่อาจเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ ชวนไขข้อข้องใจเรื่อง "นอนกรนในเด็ก" ที่พ่อแม่ควรรู้! เกิดจากอะไร กำลังบอกอะไรและอันตรายอย่างไร

ส่องสุขภาพเด็กอ้วนที่น่ารัก กับความอันตรายที่แอบแฝง
ในเด็กอ้วนที่ดูน่ารัก อาจกำลังเป็นเด็กที่เสี่ยงกับโรคอ้วนในเด็กได้ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูอันตรายแฝงที่แอบซ่อนอยู่ในเด็กอ้วน พร้อมแนวทางการรักษากันได้ที่นี่

ลูกของคุณเสี่ยงมีพฤติกรรมคล้าย-ออทิสติกหรือไม่?
พฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือในสื่อสังคมมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” เป็นภาวะที่เด็กขาด “การกระตุ้น” ในการสื่อสารสองทางโรคออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดจาก "ขาดการกระตุ้น" เป็นหลัก

เตรียมลูกรักให้ Ready เมื่อเปิดเทอมนี้ Covid มาเยือน
ช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์คุณพ่อแม่ก็วุ่นวายไปอีกแบบ แต่พอลูกน้อยไปโรงเรียนในสภาวะแบบนี้ความวุ่นวายก็กลับกลายเป็นความกังวล

เด็กนอนกรน... อาจไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อันตรายที่ต้องรีบเช็กด่วน
ฝันร้ายของลูกน้อย... อาจมาจากเสียงเด็กนอนกรน! ที่อาจเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ ชวนไขข้อข้องใจเรื่อง "นอนกรนในเด็ก" ที่พ่อแม่ควรรู้! เกิดจากอะไร กำลังบอกอะไรและอันตรายอย่างไร

ส่องสุขภาพเด็กอ้วนที่น่ารัก กับความอันตรายที่แอบแฝง
ในเด็กอ้วนที่ดูน่ารัก อาจกำลังเป็นเด็กที่เสี่ยงกับโรคอ้วนในเด็กได้ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูอันตรายแฝงที่แอบซ่อนอยู่ในเด็กอ้วน พร้อมแนวทางการรักษากันได้ที่นี่

ลูกของคุณเสี่ยงมีพฤติกรรมคล้าย-ออทิสติกหรือไม่?
พฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือในสื่อสังคมมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” เป็นภาวะที่เด็กขาด “การกระตุ้น” ในการสื่อสารสองทางโรคออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดจาก "ขาดการกระตุ้น" เป็นหลัก

เตรียมลูกรักให้ Ready เมื่อเปิดเทอมนี้ Covid มาเยือน
ช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์คุณพ่อแม่ก็วุ่นวายไปอีกแบบ แต่พอลูกน้อยไปโรงเรียนในสภาวะแบบนี้ความวุ่นวายก็กลับกลายเป็นความกังวล

ลูกของคุณเสี่ยงมีพฤติกรรมคล้าย-ออทิสติกหรือไม่?
พฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือในสื่อสังคมมักเรียกว่า “ออทิสติกเทียม” เป็นภาวะที่เด็กขาด “การกระตุ้น” ในการสื่อสารสองทางโรคออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดจาก "ขาดการกระตุ้น" เป็นหลัก

เตรียมลูกรักให้ Ready เมื่อเปิดเทอมนี้ Covid มาเยือน
ช่วงที่ลูกต้องเรียนออนไลน์คุณพ่อแม่ก็วุ่นวายไปอีกแบบ แต่พอลูกน้อยไปโรงเรียนในสภาวะแบบนี้ความวุ่นวายก็กลับกลายเป็นความกังวล

เด็กนอนกรน... อาจไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อันตรายที่ต้องรีบเช็กด่วน
ฝันร้ายของลูกน้อย... อาจมาจากเสียงเด็กนอนกรน! ที่อาจเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ ชวนไขข้อข้องใจเรื่อง "นอนกรนในเด็ก" ที่พ่อแม่ควรรู้! เกิดจากอะไร กำลังบอกอะไรและอันตรายอย่างไร

ส่องสุขภาพเด็กอ้วนที่น่ารัก กับความอันตรายที่แอบแฝง
ในเด็กอ้วนที่ดูน่ารัก อาจกำลังเป็นเด็กที่เสี่ยงกับโรคอ้วนในเด็กได้ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูอันตรายแฝงที่แอบซ่อนอยู่ในเด็กอ้วน พร้อมแนวทางการรักษากันได้ที่นี่