ผ่าตัดกระเพาะ ทางเลือกจัดการโรคอ้วนอย่างปลอดภัย
ความกังวลเรื่องความอ้วนและปัญหารูปร่างที่เปลี่ยนไป ทำให้ใครหลายคนมีประสบการณ์ลดน้ำหนักมามากมาย ทั้งการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีกับบางคน ในขณะเดียวกันยังมีหลายคนที่กำลังเผชิญกับโรคอ้วน หรือภาวะที่มีน้ำหนักตัวและมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นๆ ได้ “การผ่าตัดกระเพาะ” เป็นหนึ่งในวิธีการที่ช่วยลดน้ำหนักและรักษาโรคอ้วนได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณเข้าใจการผ่าตัดกระเพาะอย่างถูกต้องมาติดตามไปพร้อมกันได้ที่นี่
การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก คืออะไร? (Bariatric Surgery)
เป็นวิธีการผ่าตัดลดขนาดของกระเพาะอาหารให้เล็กลง ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาโรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความจุของกระเพาะอาหารและการดูดซึม ในการจำกัดปริมาณอาหารและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ปริมาณแคลอรี่เข้าสู่ร่างกายลดลงและน้ำหนักลดลง หลังการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยจะสามารถลดน้ำหนักได้ดีขึ้น ควบคุมน้ำหนักได้ง่าย ทั้งการออกกำลังกายและควบคุมการพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
การผ่าตัดกระเพาะเหมาะกับใครบ้าง?
การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก เป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีความปลอดภัยและสามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานมากเกินไป และไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยวิธีปกติ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ โดยจะมีเกณฑ์การประเมินในแต่ละบุคคล และจำเป็นต้องพบแพทย์หลายสาขา ทั้งอายุรแพทย์ทางเดินอาหาร นักโภชนาการ จิตแพทย์ แพทย์โรคผิวหนัง หรือศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เพื่อร่วมกันวินิจฉัยก่อนจึงจะสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการผ่าตัดรักษาได้
ใครสามารถเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารได้บ้าง
ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาต่อไปนี้
- อายุ ระหว่าง 18-65 ปี
- ค่า BMI > 35 kg/m²
- ค่า BMI 32 kg/m² หรือมีโรคร่วมจากความอ้วน เช่น เบาหวาน ,ความดันโลหิตสูง
- พยายามออกกำลังกายและควบคุมอาหารแล้วแต่ไม่ได้ผล
- ไม่มีข้อห้ามในการเข้ารับผ่าตัด เช่น โรคมะเร็ง ภาวะติดสุรา สารเสพติด โรคทางจิตเวช หรือผู้ที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้หลังผ่าตัด
วิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหารมีกี่แบบ?
ปัจจุบันการผ่าตัดกระเพาะอาหารมีหลายวิธี แต่วิธีที่ศัลยแพทย์นิยมนำมาใช้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดผ่านการส่องกล้องทั้งหมด ซึ่งช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการรักษามีขนาดแผลที่เล็ก ลดความเจ็บปวดและฟื้นตัวได้เร็ว ดังนี้
- การผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ Laparoscopic Sleeve Gastrectomy (LSG)
ศัลยแพทย์จะทำการตัดเย็บกระเพาะอาหารให้เล็กลง โดยจะตัดกระเพาะออกประมาณ 75-80% จนเหลือปริมาณความจุอยู่ที่ 150 cc โดยจะเลือกตัดเอาเฉพาะส่วนที่จำเป็นและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเท่านั้น ซึ่งส่วนที่ถูกตัดออกจะเป็นกระเพาะส่วนที่ผลิตฮอร์โมนทำให้รู้สึกหิว ทำให้ลดอาการหิวบ่อย ซึ่งวิธีนี้ทำให้ความจุของกระเพาะลดลงอย่างมาก รับประทานอาหารได้น้อย รู้สึกแน่นและอิ่มเร็ว สามารถลดน้ำหนักส่วนเกินได้ประมาณร้อยละ 50-60
- การผ่าตัดบายพาส Laparoscopic Roux-en Y Gastric bypass (LRYGB)
เป็นการทำให้กระเพาะอาหารเล็กลงร่วมกับการทำทางเดินอาหารใหม่ร่วมด้วย ซึ่งศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดกระเพาะส่วนต้นให้เล็กลงประมาณ 1-2 ออนซ์ จากนั้นจะนำลำไส้เล็กความยาว 180-200 ซม.บายพาสมาต่อกับกระเพาะอาหารเพื่อลดการดูดซึม หลังผ่าตัดจะรับประทานอาหารได้น้อยลง ร่วมกับมีการเผาผลาญไขมันและสารอาหารที่สะสมไว้ได้มากขึ้น ทำให้น้ำหนักลดลงได้ดี ซึ่งในวิธีนี้สามารถลดน้ำหนักส่วนเกินได้ประมาณร้อยละ 70-80
การผ่าตัดกระเพาะ ลดน้ำหนักลงได้อย่างไร?
การผ่าตัดกระเพาะอาหารช่วยให้น้ำหนักลดลงได้ด้วยหลักการ ดังต่อไปนี้
- เมื่อผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง สามารถลดปริมาณอาหารเข้าสู่ร่างกายได้ ทำให้กินไม่มากและอิ่มเร็ว
- ลดการดูดซึมอาหาร จากการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงทางเดินอาหารให้อาหารที่เข้ามามีระยะพบน้ำย่อยและดูดซึมได้ลดลง
- ปรับฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ในร่างกายช่วยลดความหิว ทำให้ฮอร์โมนทำงานได้ดีขึ้น เช่น ฮอร์โมนรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักไม่ได้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อความสวยงาม แต่เป็นการทำเพื่อรักษาสุขภาพกายให้ดีขึ้น ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะจึงต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อทำความเข้าใจรายละเอียดต่างๆ อย่างถูกต้องก่อน สำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน การผ่าตัดกระเพาะก็เป็นหนึ่งในวิธีมาตรฐานในการรักษาโรคอ้วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้ดี อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเส้นเลือดในสมองได้ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคอ้วนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถควบคุมน้ำหนักในระยะยาวได้ดี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0040
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
สุรกิจบวร
สุรกิจบวร
สุรกิจบวร
สุรกิจบวร
สุรกิจบวร
สุรกิจบวร
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง
2 วิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ฉบับอยู่บ้านก็ทำได้
เป็นก้อนที่นม หรือจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือเปล่า มาเช็กให้ชัวร์ว่าใช่ไหมกับวิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้แม้ตอนอาบน้ำ
ผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) ตรงจุด แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว
ทำความรู้จักเทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) กับผลลัพธ์ที่ให้มากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง แต่จะเหมาะกับการรักษาโรคใดและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ไปติดตามที่บทความนี้
เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment)
เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment) ปัญหาคาใจที่คนส่วนใหญ่มักจะกังวลกันก็คือ เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วกว่าจะได้การวินิจฉัยนั้นเราจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง?
ยิ่งอายยิ่งไม่หาย ‘ริดสีดวง’ รู้ทันรักษาได้เร็ว
ริดสีดวง ความเจ็บปวดจากการถ่ายท้อง ที่ถ่ายยาก เบ่งนาน มีเลือดปน มีก้อนเนื้อยื่นออกมา ทำให้รู้สึกปวดทรมาน แต่รักษาหายได้ เพียงแค่รู้เท่าทันและไม่อายที่จะรักษา
2 วิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ฉบับอยู่บ้านก็ทำได้
เป็นก้อนที่นม หรือจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือเปล่า มาเช็กให้ชัวร์ว่าใช่ไหมกับวิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้แม้ตอนอาบน้ำ
ผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) ตรงจุด แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว
ทำความรู้จักเทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) กับผลลัพธ์ที่ให้มากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง แต่จะเหมาะกับการรักษาโรคใดและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ไปติดตามที่บทความนี้
เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment)
เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment) ปัญหาคาใจที่คนส่วนใหญ่มักจะกังวลกันก็คือ เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วกว่าจะได้การวินิจฉัยนั้นเราจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง?
ยิ่งอายยิ่งไม่หาย ‘ริดสีดวง’ รู้ทันรักษาได้เร็ว
ริดสีดวง ความเจ็บปวดจากการถ่ายท้อง ที่ถ่ายยาก เบ่งนาน มีเลือดปน มีก้อนเนื้อยื่นออกมา ทำให้รู้สึกปวดทรมาน แต่รักษาหายได้ เพียงแค่รู้เท่าทันและไม่อายที่จะรักษา
เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment)
เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment) ปัญหาคาใจที่คนส่วนใหญ่มักจะกังวลกันก็คือ เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วกว่าจะได้การวินิจฉัยนั้นเราจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง?
ยิ่งอายยิ่งไม่หาย ‘ริดสีดวง’ รู้ทันรักษาได้เร็ว
ริดสีดวง ความเจ็บปวดจากการถ่ายท้อง ที่ถ่ายยาก เบ่งนาน มีเลือดปน มีก้อนเนื้อยื่นออกมา ทำให้รู้สึกปวดทรมาน แต่รักษาหายได้ เพียงแค่รู้เท่าทันและไม่อายที่จะรักษา
2 วิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ฉบับอยู่บ้านก็ทำได้
เป็นก้อนที่นม หรือจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือเปล่า มาเช็กให้ชัวร์ว่าใช่ไหมกับวิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้แม้ตอนอาบน้ำ
ผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) ตรงจุด แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว
ทำความรู้จักเทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) กับผลลัพธ์ที่ให้มากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง แต่จะเหมาะกับการรักษาโรคใดและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ไปติดตามที่บทความนี้