12 อาการปลายประสาทอักเสบ พร้อมวิธีการรักษาที่ไม่ได้จบแค่วิตามิน
12 อาการปลายประสาทอักเสบ พร้อมวิธีการรักษาที่ไม่ได้จบแค่วิตามิน
ปลายประสาทอักเสบ ภัยเงียบอันตรายที่ไม่ได้ถูกพบเจอแค่เพียงในผู้สูงวัยเท่านั้น แต่ปัจจุบัน “วัยทำงาน” กลับเป็นกลุ่มที่ขึ้นมาแตะสถิติการพบเจอโรคนี้ได้มากขึ้น เนื่องจากใช้ชีวิต การพักผ่อนน้อย เครียด กดดันตัวเอง รับประทานอาหารไม่หลากหลายทำให้ขาดสารอาหาร แถมยังซ้ำเติมร่างกายด้วยการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ จนบางคนอาจมีอาการเหน็บชา ปวดแสบปวดร้อนตามมือ เวียนหัว เดินเซ หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยวได้ ซึ่งไม่ได้จบการรักษาด้วยแค่ “วิตามิน” วันนี้เราชวนคุณมาดูกันว่าโรคปลายประสาทอักเสบนั้นมีอาการเป็นอย่างไร เพื่อสังเกตตัวเองและคนรอบข้าง พร้อมแนวทางการรักษากัน
เส้นประสาทอักเสบและปลายประสาทอักเสบ การรักษาที่ไม่ได้จบแค่วิตามิน
ร่างกายมนุษย์ รับรู้ร้อนหนาว สัมผัส เจ็บปวดโดยใช้เส้นประสาท การสั่งการออกสีหน้า กะพริบตา ยิ้ม ขยับแขนขาก็ต้องใช้การสั่งการของเส้นประสาท หรือแม้กระทั่งการเต้นของหัวใจ การหายใจ การย่อยอาหารและขับถ่ายล้วนต้องพึ่งพาระบบประสาทและเส้นประสาทด้วยกันทั้งนั้น
ซึ่งร่างกายทั้งหมดที่รับรู้ความรู้สึกและสั่งการเคลื่อนไหวนั้น จะแบ่งเส้นประสาทตามตำแหน่งและหน้าที่ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ดังนี้
- เส้นประสาทสมอง เป็นเส้นประสาทที่ออกมาจากสมองโดยตรง ทำหน้าที่รับสัมผัสและควบคุมการทำงานของใบหน้าและลำคอเป็นหลัก มีทั้งหมด 12 คู่ โดยทำหน้าที่ รับกลิ่น มองเห็น กลอกลูกตา ออกสีหน้า รับสัมผัสใบหน้า การได้ยิน การทรงตัว ตลอดจนการควบคุมลิ้นและการกลืน เป็นต้น
- เส้นประสาทไขสันหลัง จัดเป็นเส้นประสาทส่วนปลายที่แยกออกมาจากไขสันหลัง รับผิดชอบตั้งแต่ลำคอจนถึงปลายเท้า โดยมีทั้งหมด 31 คู่ ทำหน้าที่ในการรับสัมผัสร้อน เย็น เจ็บปวด รับรู้การทรงตัวของร่างกาย การสั่งการขยับแขนและขา เป็นต้น
- เส้นประสาทอัตโนมัติ เป็นเส้นประสาทที่อยู่เหนือการควบคุมของจิตใจ แต่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก เช่น ดูแลเรื่องความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ การขับเหงื่อปรับอุณหภูมิในร่างกาย การเคลื่อนไหวของลำไส้และระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น
เช็กลิสต์! เส้นประสาทอักเสบและปลายประสาทอักเสบ มีอาการอย่างไรบ้าง
เพราะเส้นประสาทเรียงร้อยอยู่ทั่วร่างกาย โดยหากมีจุดใดที่ทำงานผิดปกติ เกิดการอักเสบจะทำให้มีอาการ ดังนี้
1. ชามือ ชาเท้า อาการเหน็บชา ยิบๆ ซ่าๆ ปลายมือ ปลายเท้า หรือบ้างก็รู้สึกเสียวแปล๊บๆ เหล่านี้เป็นอาการสำคัญที่บ่งบอกได้ว่าปลายประสาทกำลังมีความผิดปกติ อาการเหน็บชาสามารถลุกลามไปยังต้นแขนและต้นขาได้หากปล่อยทิ้งไว้
2. ปวดแสบปวดร้อน บางคนจะรู้สึกแสบร้อน ตามตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย หรือบางครั้งแค่ลูบที่ผิวเบาๆ ก็กลับเจ็บปวดทรมาน
3. รู้สึกเหมือนสวมถุงมือตลอดเวลา ในรายที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบจะรู้สึกว่าเหมือนตัวเองมีความหนา ชาๆ ด้านๆ ปลายทือปลายเท้า เสมือนสวมถุงมือ หรือถุงเท้าอยู่ตลอดเวลา
4. ไวต่อการสัมผัส เส้นประสาทรับสัมผัสที่รับความรู้สึกทำงานผิดปกติ อาจทำให้รู้สึกเจ็บ แสบร้อนได้ง่ายเมื่อมีสิ่งต่างๆ เข้ามาสัมผัสร่างกาย เช่น ล้างหน้า แต่งหน้าก็ปวดใบหน้ามากๆ
5. เจ็บปวดในกิจกรรมที่ไม่น่าปวด บางคนอาจรู้สึกปวดตามมือ หรือเท้าได้ในบางกิจกรรม เช่น การปวดเท้าเมื่อก้าวเดิน หรือปวดแสบเท้าขณะนอนห่มผ้าเพราะผ้าห่มทับเท้า เป็นต้น
6. หกล้มง่าย สำหรับบางคนที่เส้นประสาทควบคุมการทรงตัวทำงานผิดปกติ จะทำให้มีอาการเดินเซ ทรงตัวลำบาก หรือหกล้มได้ง่าย
7. กล้ามเนื้ออ่อนแรง เมื่อเส้นประสาทที่คอยสั่งการกล้ามเนื้อให้เดิน หรือหยิบจับสิ่งของอักเสบเกิดความเสียหาย จะทำให้ไม่มีแรงลุกจากเก้าอี้ ขึ้นบันได หยิบจับสิ่งของไม่ได้ หรือแม้กระทั่งบิดเปิดขวดน้ำก็ลำบาก
8. อัมพาต เนื่องจากการสั่งการของการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมีปัญหาจากเส้นประสาทที่อักเสบ บางรายอาจถึงขั้นเป็นอัมพาตเดินไม่ได้
9. แพ้ความร้อน เนื่องจากระบบปลายประสาทที่คอยควบคุมอุณหภูมิให้ร่างกายสมดุลทำงานผิดปกติ ทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากโรคที่มากับความร้อนได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่ตะคริว ไม่สบาย เจ็บป่วยจากแดดง่าย เป็นลมแดด หรือฮีทสโตรกได้
10. เหงื่อออกมาก หรือน้อยผิดปกติ ในระบบปลายประสาทอัตโนมัติที่ทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิจะสัมพันธ์กับการควบคุมเหงื่อ ซึ่งหากระบบประสาทอัตโนมัติเกิดการอักเสบจะทำให้เหงื่อออกมาน้อย หรือมากผิดปกติได้ โดยอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ เสียสมดุลเกลือแร่และเสี่ยงต่อชีวิตได้
11. มีปัญหาในการขับถ่ายและย่อยอาหาร บางรายอาจพบว่าตัวเองมีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ การขับถ่าย หรือการย่อยอาหาร เช่น ปัสสาวะไม่ออก ขับถ่ายไม่สุด ขับถ่ายไม่ได้ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เป็นต้น
12. หน้ามืด เวียนหัว เนื่องจากระบบปลายประสาทมีหน้าที่ในการดูแลความดันโลหิต ซึ่งในบางรายอาจมีอาการหน้ามืด เวียนหัวได้บ่อย สืบเนื่องมาจากภาวะความดันต่ำได้
วิธีการรักษาโรคปลายประสาทอักเสบ
สำหรับวิธีการรักษาปลายประสาทอักเสบนั้นมีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการและตำแหน่งที่เป็น โดยแพทย์จะทำการซักประวัติและสอบถามอาการ ร่วมกับการตรวจร่างกายในบริเวณที่มีอาการ รวมถึงอาจมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมได้ ก่อนเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยและรักษาดังนี้
- ในรายที่ไม่รุนแรงมาก สามารถรับประทานยาลดการอักเสบ (NSAIDs) ได้
- ใช้ยาทา หรือแผ่นแปะแก้ปวดเฉพาะจุด
- ใช้การกระตุ้นไฟฟ้า ลดความเจ็บปวด
- การผ่าตัดเพื่อลดแรงกดทับ ในรายที่เส้นประสาทอักเสบจากการกดทับ
- กายภาพบำบัด เพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อจากความเสียหายของเส้นประสาท
จะเห็นได้ว่า เส้นประสาทมีความสำคัญกับร่างกายของเราอย่างมาก ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นทาง หรือถนนของการรับรู้สัมผัส และส่งคำสั่งในการเคลื่อนไหวทั่วร่างกาย หากเกิดความเสียหายย่อมส่งผลต่อการควบคุมร่างกายและการใช้ชีวิต ดังนั้น โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจและวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง เพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องและจำเพาะต่อโรค เพราะในบางโรคที่ซับซ้อนอาจจะต้องใช้ยาที่มีความจำเพาะในการรักษา เช่น ยาแก้ปวด ยาสเตียรอยด์ หรือแม้กระทั่งยาเคมีบำบัด เพราะเส้นประสาทอักเสบ หรือปลายประสาทอักเสบไม่ได้จบการรักษาแค่วิตามิน อย่าลืมที่จะหันกลับมาดูแลสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบถ้วนทุกหมู่โภชนาการ ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรง
ทั้งนี้หากพบว่ามีอาการชา หรือปวดแสบปวดร้อนที่มือ เท้า หรือมีอาการของปลายประสาทอักเสบอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้น แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์
ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 09:00-20:00 โทร. 0-2079-0024
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
ธนชาญวิศิษฐ์
ธนชาญวิศิษฐ์
ธนชาญวิศิษฐ์
ธนชาญวิศิษฐ์
ธนชาญวิศิษฐ์
ธนชาญวิศิษฐ์
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง
เช็กด่วน! ปวดหัวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ตรวจสอบสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน และวิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง พร้อมหาคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร
ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่
รู้ทันโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน (Stroke) ทุกวัยเสี่ยง ทุกคนเลี่ยงได้
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย
เช็กด่วน! ปวดหัวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ตรวจสอบสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน และวิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง พร้อมหาคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร
ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่
รู้ทันโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน (Stroke) ทุกวัยเสี่ยง ทุกคนเลี่ยงได้
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย
รู้ทันโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน (Stroke) ทุกวัยเสี่ยง ทุกคนเลี่ยงได้
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย
เช็กด่วน! ปวดหัวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ตรวจสอบสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน และวิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง พร้อมหาคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร
ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่