ภาวะลิ่มเลือดอุดตันคือภัยเงียบแอบแฝงอยู่ในระบบเลือดที่ต้องไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ อันประกอบไปด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และน้ำเหลือง โดยมีผนังหลอดเลือดเป็นท่อลำเลียง เพื่อนำอาหารและออกซิเจนไปให้ทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงลำเลียงของเสียและคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากเนื้อเยื่อ ลิ่มเลือดอุดตันเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเลือดเกิดการแข็งตัวและสร้างลิ่มเลือดในหลอดเลือด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ โดยลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นจะทำให้การไหลเวียนของเลือดถูกขัดขวาง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ อาจกลายเป็นความอันตรายที่สามารถคร่าชีวิตไปได้แบบฉับพลัน
โดยลิ่มเลือดอุดตันแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "Blood Clot" หรือ "Thrombosis" ขึ้นอยู่กับบริบทที่ใช้ ซึ่ง "Thrombosis" มักใช้เมื่อพูดถึงการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด อาการของหลอดเลือดอุดตันขึ้นอยู่กับว่าเกิดขึ้นในส่วนใดของร่างกาย เช่น
- อาการในหลอดเลือดแดง: อาจมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หรืออาการอัมพฤกษ์
- อาการในหลอดเลือดดำ: อาจมีอาการบวมที่ขา หรือเกิดอาการปวดที่มีความรุนแรง
ทั้งนี้ลิ่มเลือดอุดตันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของโรคหัวใจและหลอดเลือดร้ายแรง ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอัมพฤกษ์-อัมพาต และโรคหลอดเลือดดำตีบตัน จากสถิติพบว่า 1 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตทั่วโลกล้วนมีภาวะลิ่มเลือดอุดตันโดยไม่พบสัญญาณอันตรายล่วงหน้า และยังมีผู้ประสบภาวะดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเกิดจากอะไร
- ผนังหลอดเลือดผิดปกติ มักเกิดจากไขมันที่เกาะสะสมอยู่บริเวณผนังหลอดเลือด จนเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตัน หรืออาจเกิดขึ้นจากการถูกของมีคมบาด หรือเข้ารับการทำหัตถการบางอย่างจนผนังหลอดเลือดได้รับความเสียหาย อาจส่งผลให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้เช่นเดียวกัน
- การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ จากหัวใจที่เต้นผิดจังหวะส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่ต่อเนื่อง ภาวะช็อก ความดันโลหิตต่ำ หรือหลอดเลือดถูกกดทับไว้เป็นเวลานานเนื่องจากไม่ได้ขยับร่างกาย ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ทั้งสิ้น เพราะเมื่อเลือดไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้น้อยลง เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว น้ำเหลือง และเกล็ดเลือด อาจเสี่ยงต่อการตกตะกอนได้ง่าย และกลายเป็นลิ่มเลือดในที่สุด
- การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ จากสารห้ามการแข็งตัวของเลือดบกพร่อง โดยเฉพาะโปรตีนที่ร่างกายต้องใช้เพื่อยับยั้งการแข็งตัวของเลือดต่ำลง การอักเสบ การติดเชื้อ อาจก่อให้เกิดเป็นลิ่มเลือดอุดตัน และยังสามารถเกิดได้จากการใช้ยา หรือภาวะโรคต่างๆ ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ก่อนแล้ว
ชวนสังเกตอาการลิ่มเลือดอุดตัน
เนื่องจากลิ่มเลือดอุดตันเกิดได้หลายส่วนของร่างกาย ซึ่งจะมีอาการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดว่าเป็นบริเวณอวัยวะใด โดยตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูงและพบได้มาก ได้แก่
1. ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา หรือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก(DVT)
เมื่อเกิดลิ่มเลือดอุดตันผู้ป่วยจะมีอาการขาบวม ตึง กดแล้วเจ็บ มีรอยแดง เดินแล้วมีอาการปวดบวมมากขึ้นในเวลา 2-3 วัน อาจเกิดหลังจากการเดินทาง อาจจะมีสีผิวของขาเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมักเริ่มต้นบริเวณน่อง หากไม่รักษา จะทำให้เกิดความเสี่ยงลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันในปอด ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต
2. ลิ่มเลือดอุดตันในปอด(PE)
เป็นภาวะที่อันตรายถึงแก่ชีวิต เกิดจากลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกบริเวณขาหลุดไปยังหลอดเลือดในปอด และเกิดการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเอาไว้ ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจไม่ทั่วปอด เจ็บหน้าอก และอาจเจ็บมากขึ้นเมื่อหายใจเข้าลึกๆ มีอาการหายใจเร็วโดยไม่พบสาเหตุ หัวใจเต้นเร็ว อาจมีอาการวิงเวียนคล้ายจะเป็นลมจนถึงกับหมดสติได้
3. ลิ่มเลือดอุดตันในสมอง
ขั้นต้นผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะรุนแรงและปวดมากขึ้นเรื่อยๆ อ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก พูดไม่ชัด หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการชัก เนื่องจากสมองกำลังขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
นอกจากนี้ยังสามารถพบลิ่มเลือดอุดตันได้บริเวณอื่นในร่างกาย อาทิ ตลอดแนวหลอดเลือดในช่องท้อง บริเวณม้าม ตับ เป็นต้น ที่ก่อให้เกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดไปจนถึ
งลำไส้เน่าได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
- มักพบได้บ่อยในผู้ที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรืออยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ผ่าตัดข้อสะโพก เปลี่ยนข้อเข่า และผ่าตัดใหญ่อื่นๆ โดยนอนอยู่กับเตียงเป็นเวลานาน ไม่สามารถขยับขาหรือลุกเดินได้
- กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากผนังหลอดเลือดมีความเสื่อมตามวัย จึงยิ่งเพิ่มโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้นั่นเอง
- ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิด โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคอักเสบเรื้อรัง การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การใช้ยาคุมกำเนิด สูบบุหรี่ และในหญิงตั้งครรภ์ ล้วนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้มากกว่าคนทั่วไป
- การเดินทางโดยเครื่องบินซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงความดัน การเดินทางโดยรถยนต์หรือรถไฟที่ต้องนั่งนานและไม่ได้ขยับให้เกิดการเคลื่อนไหว
รักษาอย่างไรหากตรวจพบลิ่มเลือดอุดตัน
หลังจากวินิจฉัยแล้วว่าเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน แพทย์จะให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งมีทั้งชนิดฉีดและรับประทาน ตามแต่ระดับความรุนแรงของโรค เพื่อสลายลิ่มเลือดเดิมให้ค่อยๆ หายไป และลดการเกิดลิ่มเลือดชุดใหม่ ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกและได้รับการรักษาในช่วง 3-6 เดือนแรก ผู้ป่วยจะสามารถหายขาดจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้
หากคุณรู้สึกมีอาการที่น่าสงสัย ควรเข้ารับการตรวจเช็กทันที เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทำไมคุณถึงควรเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลวิมุต
โรงพยาบาลวิมุตเป็นสถานพยาบาลที่มีชื่อเสียงในด้านการรักษาโรคหลอดเลือด โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการรักษาอย่างมีคุณภาพ
- การตรวจวินิจฉัยที่ทันสมัย: โรงพยาบาลวิมุตมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการตรวจสอบลิ่มเลือด เช่น การทำอัลตราซาวด์หลอดเลือดและการตรวจ CT Scan เพื่อให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำ
- การรักษาที่เหมาะสม: ทีมแพทย์จะพิจารณาและให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการผ่าตัด
- การดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่: ที่โรงพยาบาลเรามีพยาบาลวิชาชีพที่คอยดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตและทุพพลภาพไปทั่วโลก รวมถึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ อีกมาก วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงแบบองค์รวม เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ออกกำลังกายเป็นประจำ ร่วมกับเฝ้าระวังความผิดปกติของร่างกาย และปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อพบอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 4 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00 - 20:00 น. โทร. 0-2079-0040
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

วิลาศรัศมี

วิลาศรัศมี

วิลาศรัศมี

วิลาศรัศมี

วิลาศรัศมี

วิลาศรัศมี
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

2 วิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ฉบับอยู่บ้านก็ทำได้
เป็นก้อนที่นม หรือจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือเปล่า มาเช็กให้ชัวร์ว่าใช่ไหมกับวิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้แม้ตอนอาบน้ำ

ผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) ตรงจุด แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว
ทำความรู้จักเทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) กับผลลัพธ์ที่ให้มากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง แต่จะเหมาะกับการรักษาโรคใดและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ไปติดตามที่บทความนี้

เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment)
เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment) ปัญหาคาใจที่คนส่วนใหญ่มักจะกังวลกันก็คือ เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วกว่าจะได้การวินิจฉัยนั้นเราจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง?

ยิ่งอายยิ่งไม่หาย ‘ริดสีดวง’ รู้ทันรักษาได้เร็ว
ริดสีดวง ความเจ็บปวดจากการถ่ายท้อง ที่ถ่ายยาก เบ่งนาน มีเลือดปน มีก้อนเนื้อยื่นออกมา ทำให้รู้สึกปวดทรมาน แต่รักษาหายได้ เพียงแค่รู้เท่าทันและไม่อายที่จะรักษา

2 วิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ฉบับอยู่บ้านก็ทำได้
เป็นก้อนที่นม หรือจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือเปล่า มาเช็กให้ชัวร์ว่าใช่ไหมกับวิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้แม้ตอนอาบน้ำ

ผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) ตรงจุด แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว
ทำความรู้จักเทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) กับผลลัพธ์ที่ให้มากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง แต่จะเหมาะกับการรักษาโรคใดและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ไปติดตามที่บทความนี้

เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment)
เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment) ปัญหาคาใจที่คนส่วนใหญ่มักจะกังวลกันก็คือ เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วกว่าจะได้การวินิจฉัยนั้นเราจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง?

ยิ่งอายยิ่งไม่หาย ‘ริดสีดวง’ รู้ทันรักษาได้เร็ว
ริดสีดวง ความเจ็บปวดจากการถ่ายท้อง ที่ถ่ายยาก เบ่งนาน มีเลือดปน มีก้อนเนื้อยื่นออกมา ทำให้รู้สึกปวดทรมาน แต่รักษาหายได้ เพียงแค่รู้เท่าทันและไม่อายที่จะรักษา

เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment)
เต้านมมีปัญหาเมื่อไหร่ ... ต้องใช้ 3 ตัวช่วย (Triple Assessment) ปัญหาคาใจที่คนส่วนใหญ่มักจะกังวลกันก็คือ เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วกว่าจะได้การวินิจฉัยนั้นเราจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง?

ยิ่งอายยิ่งไม่หาย ‘ริดสีดวง’ รู้ทันรักษาได้เร็ว
ริดสีดวง ความเจ็บปวดจากการถ่ายท้อง ที่ถ่ายยาก เบ่งนาน มีเลือดปน มีก้อนเนื้อยื่นออกมา ทำให้รู้สึกปวดทรมาน แต่รักษาหายได้ เพียงแค่รู้เท่าทันและไม่อายที่จะรักษา

2 วิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ฉบับอยู่บ้านก็ทำได้
เป็นก้อนที่นม หรือจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือเปล่า มาเช็กให้ชัวร์ว่าใช่ไหมกับวิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองง่ายๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้แม้ตอนอาบน้ำ

ผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) ตรงจุด แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว
ทำความรู้จักเทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง (MIS) กับผลลัพธ์ที่ให้มากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง แต่จะเหมาะกับการรักษาโรคใดและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ไปติดตามที่บทความนี้
แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special B
4,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special C
4,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special D
4,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special B
4,500 บาท

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก Touch Your Heart Special C
4,500 บาท
