เช็กก่อนเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการตรวจเส้นเลือดที่คอ

20 ต.ค. 66  | ศูนย์สมองและระบบประสาท
แชร์บทความ      

เช็กก่อนเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการตรวจเส้นเลือดที่คอ

ในปัจจุบันเราสามารถรู้เท่าทันโรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ หรือโรคอัมพาตได้แล้ว ด้วยการตรวจเส้นเลือดที่คอด้วยเครื่อง Carotid Duplex Ultrasound เพื่อค้นหาความผิดปกติว่าเส้นเลือดแดงบริเวณคอนั้นมีภาวะตีบ ตันหรือไม่ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่เข้ามาช่วยให้บุคคลที่มีความเสี่ยงสามารถรู้ได้ทันก่อนเกิดโรคหลอดเลือดสมองนั่นเอง

เส้นเลือดที่คอตีบ จุดเริ่มต้นของโรคหลอดเลือดสมอง

เส้นเลือดที่คอ หรือหลอดเลือดคาโรติด (Carotid Artery) เป็นเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่ที่มาจากหัวใจแล้วแตกออกเป็น 2 เส้นบริเวณสันกราม คือเส้นเลือดแดงหลักด้านใน (Internal Carotid Artery) มีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงสมองโดยตรง ส่วนอีกเส้นคือเส้นเลือดแดงส่วนนอก (External Carotid Artery) โดยจะมีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงโครงสร้างใบหน้า และเพราะปัจจัยต่างๆ ในการใช้ชีวิตทำให้ร่างกายเกิดความเสื่อมของผนังหลอดเลือด มีไขมัน หรือคราบหินปูนมาเกาะบริเวณผนังหลอดเลือดด้านใน จึงทำให้การไหลเวียนเลือดและการลำเลียงออกซิเจนไปยังสมองได้น้อยลง ส่งผลให้เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ หรือโรคอัมพาตได้นั่นเอง

ตรวจหาความผิดปกติของเส้นเลือดแดงที่คอได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยเครื่อง Carotid Duplex Ultrasound

เครื่อง Carotid Duplex Ultrasound เป็นเครื่องอัลตราซาวด์ที่ใช้ตรวจเส้นเลือดแดงที่คอ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการสร้างภาพเส้นเลือดแดงที่คอทั้ง 2 ข้าง คือ เส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอด้านในและเส้นเลือดแดงที่คอด้านนอก หลังจากนั้นก็จะแสดงผลออกมาเป็นภาพให้แพทย์สามารถตรวจดูการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หลอดเลือดด้านในมีคราบหินปูน หรือคราบไขมันหรือไม่ รวมถึงสามารถวัดขนาดของคราบไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัย ประเมินโรคและติดตามอาการในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

ซึ่งการตรวจหาความผิดปกติของเส้นเลือดแดงที่คอด้วยเครื่อง Carotid Duplex Ultrasound นั้นนอกจากจะใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องติดตามอาการแล้วนั้น ยังเหมาะกับกลุ่มคนที่มีภาวะเหล่านี้ด้วย

ขั้นตอนการตรวจเส้นเลือดที่คอด้วยเครื่อง Carotid Duplex Ultrasound

ก่อนการตรวจ

  • หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องประดับที่คอ 
  • งดทาแป้งบริเวณคอ
  • สามารถรับประทานก่อนการตรวจได้ปกติ ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร 

ระหว่างการตรวจ

  • นอนราบเอียงคอ หรืออยู่ในท่าที่แพทย์แนะนำ
  • แพทย์จะนำหัวเครื่องอัลตราซาวน์ที่ทาเจลมาแตะบริเวณคอทั้ง 2 ข้าง โดยทำทีละข้าง เพื่อให้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจจับการไหลเวียนของเลือด รวมถึงทิศทางและความเร็วให้เครื่องแสดงผลภาพ เพื่อนำมาคำนวณในกราฟและหาความผิดปกติ 
  • แพทย์จะนำผลการแสดงกราฟที่เรียกว่า Spectral Waveform ที่ได้จากเครื่องมาวินิจฉัยและดูความผิดปกติ โดยเบื้องต้นหากพบว่าเลือดมีการไหลเวียนเร็วนั่นอาจบ่งบอกได้ว่าเส้นเลือดอาจมีการตีบได้ ซึ่งเป็นการใช้หลักการว่าน้ำจะมีการไหลเมื่อต้องวิ่งผ่านท่อที่แคบลงนั่นเอง

ทั้งนี้โรคหลอดเลือดสมองมักไม่ค่อยมีอาการเตือนนำมาก่อน จึงทำให้กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว ดังนั้นการเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจเส้นเลือดที่คอด้วยเครื่อง Carotid Duplex Ultrasound สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอย่างน้อยปีละครั้ง จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันโรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ หรือโรคอัมพาตตั้งแต่เนิ่นๆ ได้แล้ว

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่ 

ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 3 โรงพยาบาลวิมุต 

เวลาทำการ 08.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0068

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ. กฤตวิทย์ รุ่งแจ้ง อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง ทุกวัยเสี่ยง ทุกคนเลี่ยงได้

หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว แขนขาก็ไม่มีแรง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้ มาเช็กอาการเบื้องต้นให้ทันเวลา ก่อนเสี่ยงอัมพาตและเสียชีวิตได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม

ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
เช็กด่วน! ปวดหัวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่

ตรวจสอบสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน และวิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง พร้อมหาคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง