ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
อย่าปล่อยให้อาการ “ลำไส้แปรปรวน” ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
คุณกำลังมีปัญหาในการใช้ชีวิตเพียงเพราะปวดท้องบ่อยแบบไม่มีสาเหตุหรือไม่ ? มีอาการขับถ่ายไม่เป็นเวลา ออกจากบ้านไปทำกิจกรรมกับเพื่อนหรือครอบครัว อยู่ๆ ก็มีอาการปวดท้องบิดอยากจะเข้าห้องน้ำขึ้นมาดื้อๆ อาการปวดท้องกะทันหันแบบนี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตไม่น้อยเลย และอาจเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ภาวะที่เราควรมาทำความรู้จักเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง
ลำไส้แปรปรวนเกิดจากปัจจัยใดบ้าง ?
ลำไส้แปรปรวนเป็นภาวะการทำงานผิดปกติของลำไส้ โดยสาเหตุของโรคยังไม่มีความแน่ชัดว่าเกิดขึ้นโดยปัจจัยใดเป็นหลัก แต่เบื้องต้นมีหลายปัจจัยประกอบกัน ดังนี้
- การทำงานที่ผิดปกติของลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย โดยจะมีความไวต่อการถูกกระตุ้นไม่ว่าจากอาหารหรือความเครียด การบีบตัวของลำไส้ที่ผิดปกติ รวมไปถึงการสื่อสารระหว่างสมองและลำไส้ที่ผิดปกติไป (Brain-gut axis disorder)
- ส่วนหนึ่งอาจเป็นต่อจากภาวะการติดเชื้อในลำไส้ (Post-Infectious IBS)
- ความเครียด ปัญหาทางด้านจิตใจ อารมณ์ หรือสภาพแวดล้อม
- อาการภาวะย่อยอาหารบางประภทได้ไม่ดี
อาการลำไส้แปรปรวน มีอะไรบ้าง
ลำไส้แปรปรวนมักเกิดกับคนวัยทำงาน และหลายครั้งทำให้แยกไม่ออกว่ามีอาการแตกต่างจากการอาการปวดท้องอื่นๆ อย่างไร สามารถตรวจเช็กอาการได้ ดังนี้
- ปวดท้องเรื้อรังเป็นๆ หายๆ นานกว่า 3-6 เดือน
- ท้องผูกหรือท้องเสีย
- ท้องอืด แน่นท้อง ไม่สบายท้อง เหมือนมีลมในท้อง
- ปวดท้องเกร็ง ปวดท้องบิดเป็นพัก ๆ
- อาการปวดหายไปหรือมากขึ้นหลังขับถ่าย
อาการของลำไส้แปรปรวนส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นเวลาไหนก็ได้และค่อนข้างเรื้อรัง จึงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก บวกกับยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของลำไส้แปรปรวน
แนวทางการรักษาลำไส้แปรปรวน
เมื่อเกิดอาการใดเพียงอาการหนึ่งของลำไส้แปรปรวน แพทย์จะทำการรักษาตามอาการเบื้องต้นที่พบ ร่วมกับให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านต่างๆ ดังนี้
- ปรับพฤติกรรม รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและเลี่ยงอาหารที่มีองค์ประกอบเป็นคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และโมเลกุลคู่ เช่น นม ข้าวสาลี หัวหอม กระเทียม อาหารจำพวกถั่วต่างๆ และอาหารที่มีพรีไบโอติก รวมถึงพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงความเครียด
- ใช้ยารักษาตามอาการ แพทย์จะให้รับประทานยาระบาย ยาแก้ท้องเสีย หรือยาต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ในเบื้องต้น ตามอาการที่เป็นในแต่ละบุคคล
- ส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติ ในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 45 หรือ 50 ปีขึ้นไป แพทย์จะพิจารณาการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ที่ลำไส้ใหญ่ หรือส่องกล้อง ตรวจลำไส้ใหญ่เพิ่มเติม เพราะอาจมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
ทั้งนี้ในบางรายที่มีอาการถ่ายปนเลือด และครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์จะตรวจอุจจาระ ตรวจเลือดเพิ่มเติม หรือส่องกล้องลำไส้ใหญ่เพื่อค้นหาความผิดปกติที่แน่ชัดเพื่อการรักษาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น
โปรโมชั่นราคาพิเศษ! แพ็กเกจโปรแกรมส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้ที่มีอาการปวดท้องไม่มีสาเหตุ ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายปนเลือด หรือครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจหาสาเหตุต้นตอของโรคด้วยการส่องกล้องโดยแพทย์เฉพาะทางด้านทางเดินอาหารและตับ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อแพ็กเกจโปรแกรมส่องกล้องลำไส้ใหญ่ออนไลน์ได้ที่นี่
หลีกเลี่ยงภาวะลำไส้แปรปรวนได้อย่างไร?
การหลีกเลี่ยงภาวะลำไส้แปรปรวนสามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอันดับแรก หากใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพก็สามารถส่งผลดีต่อร่างกายได้โดยตรง
- ลดการรับประทานอาหารที่เป็นโปรตีนย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ ฯลฯ
- หลีกเลี่ยงของมันของทอด
- เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้เพื่อให้ได้เส้นใยมากขึ้น
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เลี่ยงอาหารรสจัด
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ และ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงภาวะเครียดหรือกังวลต่างๆ
ถึงแม้ลำไส้แปรปรวนจะไม่ใช่โรคร้ายแรงถึงชีวิต อย่างไรก็ตาม อาการลำไส้แปรปรวนค่อนข้างเรื้อรังและสามารถส่งผลเสียต่อร่างกาย คุณภาพชีวิต และสุขภาพจิตได้หากไม่ใส่ใจดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ ถ้าคุณกำลังเผชิญอาการปวดท้องทุกสัปดาห์ หรือทุกครั้งที่ขับถ่ายเสร็จ อย่าปล่อยให้อาการปวดท้องรบกวนหรือเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต ยิ่งปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้อาการแย่ลงกว่าเดิม แนะนำให้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการรักษาต่อไปอย่างถูกต้อง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต
เวลา 08.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0054
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

รัตนโกวิท

รัตนโกวิท

รัตนโกวิท

รัตนโกวิท

รัตนโกวิท

รัตนโกวิท
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

เช็กลิสต์กรดไหลย้อน อาการแบบนี้คุณกำลังเป็นอยู่หรือไม่?
กินแล้วนอนประจำ เริ่มมีอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน! มาเช็กอาการ พร้อมวิธีการตรวจจากแพทย์เฉพาะทางและรักษาก่อนเป็นหนักได้ที่นี่

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

เช็กลิสต์กรดไหลย้อน อาการแบบนี้คุณกำลังเป็นอยู่หรือไม่?
กินแล้วนอนประจำ เริ่มมีอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน! มาเช็กอาการ พร้อมวิธีการตรวจจากแพทย์เฉพาะทางและรักษาก่อนเป็นหนักได้ที่นี่

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

เช็กลิสต์กรดไหลย้อน อาการแบบนี้คุณกำลังเป็นอยู่หรือไม่?
กินแล้วนอนประจำ เริ่มมีอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน! มาเช็กอาการ พร้อมวิธีการตรวจจากแพทย์เฉพาะทางและรักษาก่อนเป็นหนักได้ที่นี่