มือ เท้า ชา อาการธรรมดาที่บ่งบอกสัญญาณอันตรายได้!

12 ธ.ค. 66  | ศูนย์อายุรกรรม
แชร์บทความ      

มือ เท้า ชา อาการธรรมดาที่บ่งบอกสัญญาณอันตรายได้!

เชื่อว่าหลายคนต้องเคยมีประสบการณ์มือ เท้า ชากันมาบ้างแล้วอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ หน้าคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ หรือการนั่งยองๆ และมักคิดว่าบีบๆ นวดๆ ปล่อยไว้ก็หายไปเอง เป็นอาการธรรมดาไม่น่ากังวลมากนัก แต่ทราบหรือไม่อาการเหล่านี้น่ากลัวกว่าที่คุณคิด เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคปลายประสาทอักเสบ” หากปล่อยให้มีอาการเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไม่เพียงกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายในอนาคตได้ 

อาการมือ เท้า ชา เกิดจากสาเหตุใด?

อาการชาตามมือและเท้าเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท หรือการที่เส้นประสาทถูกกดทับในบริเวณต่างๆ (compressive neuropathy) สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่ปลายมือและปลายเท้า ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นรับความรู้สึกน้อยลงกว่าปกติ หรือไม่มีความรู้สึกเลย บางคนอาจมีอาการรู้สึกยุบยิบเหมือนมีเข็มทิ่ม โดยสาเหตุเกิดได้หลายปัจจัยทั้งจากร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ความเสี่ยงจากโรคต่างๆ  

  1. ขาดวิตามิน B1, B6 และโดยเฉพาะ B12 ซึ่งวิตามินบีช่วยบำรุงและซ่อมแซมระบบประสาทให้ทำงานได้ปกติ หากได้รับวิตามินบีน้อยจะทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบได้ 
  2. การนั่ง หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท 
  3. ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาเคมีบำบัดหรือฉายรังสี 
  4. ป่วยด้วยโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง รูมาตอยด์ โรคเกาต์ เป็นต้น 
  5. การทำงานที่ต้องใช้ข้อมือทำงานมากๆ เป็นเวลานาน เช่น ทำงานบ้าน ทำงานโรงงาน หรือพิมพ์คอมพิวเตอร์ 

ชาปลายมือปลายเท้า บ่อยแค่ไหนจึงควรพบแพทย์?

หากพบว่ามีอาการชาเป็นเวลานานหรือมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจบ่งบอกถึงภาวะอันตรายที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท ควรมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง 

การรักษาอาการชาปลายนิ้วมือนิ้วเท้า

วิธีการรักษาอาการมือเท้าชาสามารถแบ่งออกได้ 3 วิธี ตามระดับความรุนแรง ดังนี้ 

  • อาการชาไม่รุนแรง  

เปลี่ยนอิริยาบถ ท่านั่ง ท่านอน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในท่าเหมาะสม ไม่กดทับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมากเกินไป หรือเลือกเสริมด้วยวิตามินบีในมื้ออาหารเพิ่มขึ้น 

  • อาการชารุนแรง และมีอาการต่อเนื่อง 

แพทย์จะให้ยาลดอาการปวดที่ปลายเส้นประสาท กลุ่มกาบาเพนตินอยด์ (Gabapentinoids) และรอดูผลการรักษา หากไม่ได้ผลอาจต้องพิจารณาตรวจหาโรคเพิ่มเติม เช่น ตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท หรือตรวจกระดูกคอด้วยเครื่อง MRI 

  • รักษาอาการชาจากผลพวงจากโรค

หากอาการชามีสาเหตุมาจากผลพวงของโรคประจำตัวที่มีอยู่เดิม อาจใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปตามโรค เช่น เบาหวาน ผู้ป่วยควรคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม 

เลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง พิชิตอาการมือเท้าชาได้!

  1. รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 เพราะเป็นกลุ่มวิตามินที่สำคัญต่อการบำรุงระบบประสาท เช่น ถั่ว ธัญพืช ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต เป็นต้น 
  2. รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 6 เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ตับ มันฝรั่ง กล้วย แตงโม ไข่แดง ข้าวกล้อง ถั่วต่างๆ 
  3. รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 12 เช่น  เนื้อแดง ปลา สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น  
  4. รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฝรั่ง ส้ม มะขามป้อม มะละกอสุก บลอกโคลี คะน้า 
  5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลยับยั้งการดูดซึมของวิตามินบี 1 ที่บริเวณลำไส้เล็ก

ถึงแม้อาการมือ เท้า ชา จะเป็นอาการเล็กน้อยและไม่น่ากังวลมากสำหรับบางคน แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่รุนแรง ทางที่ดีหากเกิดอาการชาที่มือหรือเท้ามากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาอย่างถูกวิธี อีกทั้งเพื่อเป็นการป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 3  โรงพยาบาลวิมุต 

เวลาทำการ  09.00-20.00 น. โทร. 0-2079-0030 

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์


 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ. กฤตวิทย์ รุ่งแจ้ง อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ… จำเป็นแค่ไหน ?

วัคซีนปอดอักเสบในผู้สูงอายุ จำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดแล้วช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบได้จริงหรือไหม มาดูคำตอบได้ที่นี่ว่าทำไมผู้สูงอายุถึงควรฉีดวัคซีนนี้กัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
6 วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ที่แนะนำให้ลูกหลานพาไปฉีด

เปิดคำแนะนำการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ วัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดอัปเดตข้อมูลปี 2566 เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตและบรรเทาอาการหนักให้เบาลง กับ 6 วัคซีนนี้เลยที่เรารวมข้อมูลมาให้แล้ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
หายป่วยลองโควิดได้ หายขาดด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด

โควิดที่ว่าน่ากลัว ยังไม่เท่าลองโควิด มาตรวจเช็กปอดและร่างกายให้เท่าทันโรค กับโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
รวมสารพัดเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ

รวมสารพัดเมนูอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ควรกินอะไรดี ใครนึกไม่ออก เรารวมให้แล้วที่นี่ กับเมนูอาหารและโภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ ที่ช่วยดูแลสุขภาพและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง