หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคที่คนเจ็บหน้าอก ใจสั่นต้องคอยระวัง

29 ส.ค. 66  | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด
แชร์บทความ      

หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคที่คนเจ็บหน้าอก ใจสั่นต้องคอยระวัง

หัวใจ เป็นหนึ่งในอวัยวะชุดแรกๆ ที่เริ่มทำงานตั้งแต่ 4 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ นับจากวันนั้น หัวใจก็ไม่เคยหยุดพักในการเต้น เพื่อส่งต่อเลือดให้ไหลเวียนไปเลี้ยงระบบต่างๆ ของร่างกาย แต่สำหรับบางคนที่มีอาการใจสั่น รู้สึกเจ็บอกข้างซ้าย เวียนหัว ตาลาย หน้ามืด อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของ “โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ” ที่กำลังแสดงออกมาให้รู้ตัวได้ โดยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หรือไฟฟ้าในหัวใจเกิดการลัดวงจร ทำให้บางช่วงหัวใจก็เต้นเร็วเกินไป บางช่วงก็เต้นช้าเกินไป อาจมีเต้นช้าและเร็วสลับกันไป รวมถึงการมีเต้นแทรกผิดจังหวะเป็นครั้งคราว ซึ่งจะส่งผลต่ออาการ และการไหลเวียนของเลือด ในกรณีที่เป็นนานๆ อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจและไหลไปอุดตันส่วนอื่นของร่างกาย หรือเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ นับเป็นปัญหาสุขภาพที่อันตรายต่อชีวิต ดังนั้นวันนี้เรามาดูกันว่าภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาการเป็นอย่างไรและเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกคนที่มีความกังวลใจกัน

เปิด 5 อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการอย่างไร ?

  1. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เมื่อหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ จะทำให้ออกซิเจนในร่างกายน้อยลง ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  2. เวียนหัว ตาลาย และเมื่อหัวใจเต้นช้า แรงบีบตัวน้อย ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ น้อยลง ไม่เพียงแค่อ่อนเพลีย แต่ยังทำให้รู้สึกเวียนหัว ตาลายได้
  3. ใจสั่น แน่น หรือเจ็บหน้าอก เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทำให้แรงบีบตัวที่ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ และไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีการเต้นแทรกขึ้นมาแบบผิดจังหวะ ทำให้เกิดการบีบตัวแบบแรงมากผิดปกติ จึงเกิดอาการแน่นและเจ็บหน้าอก
  4. เหนื่อยหอบ หายใจติดขัด เมื่อหัวใจเต้นไม่ปกติ จะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และทำให้รู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจติดขัดได้
  5. หน้ามืด เป็นลม หมดสติ เพราะแรงบีบและการส่งเลือดที่มีออกซิเจนไม่เพียงพอไปเลี้ยงสมอง จึงทำให้สมองขาดออกซิเจนและทำให้หน้ามืด เป็นลม หมดสติได้

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ความเครียด ความวิตกกังวล การพักผ่อนน้อย
  • เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ เช่น ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม เป็นต้น
  • โรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไขมันในเส้นเลือดสูง และผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
  • หัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิด 
  • ความผิดปกติของร่างกายที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ หรือยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถตรวจหาได้หลายวิธีประกอบกันเพื่อค้นหาความผิดปกติได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

  • EKG การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของการนำไฟฟ้าในห้องหัวใจ เพื่อหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นไปแล้วกับการเต้นของหัวใจได้ ซึ่งการตรวจหัวใจแบบ EKG นั้น สามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจได้อีกเช่นกัน 
  • Holter Monitor เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบตลอดเวลา การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะวิธีนี้จะเป็นการใช้อุปกรณ์ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตลอด 24-48 ชั่วโมง โดยอุปกรณ์จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนขั้วไฟฟ้า (Electrode) ที่ใช้แปะบริเวณหน้าอก และตัวเครื่อง โดยตัวเครื่องจะใช้วิธีห้อยกับสายคล้องคอ หรือสะพายข้างเอวไว้ก็ได้ ซึ่งการตรวจหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดนี้ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หลังติดอุปกรณ์สามารถกลับบ้านได้เลย แล้วนำมาคืนที่โรงพยาบาลเมื่อครบกำหนด 24 หรือ 48 ชั่วโมง โดยการตรวจชนิดนี้จะได้ประโยชน์ในการตรวจผู้ป่วยที่มีอาการใจสั่น หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะทุกๆ วัน หรือเกือบทุกวัน 
  • Echocardiogram อัลตราซาวด์หัวใจ เป็นการตรวจหัวใจโดยใช้หัวตรวจ Transducer ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟน โดยมีหลักการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอกแล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพเคลื่อนไหวให้เห็นบนหน้าจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจว่าปกติหรือไม่ โดยเครื่องอัลตราซาวด์หัวใจ ส่งสัญญาณเสียงไปยังหัวใจของคุณ และรับสัญญาณเสียงที่สะท้อนกลับมาแปลงเป็น ภาพให้เห็นบนหน้าจอ คลิกเพื่อดูแพ็กเกจโปแกรมตรวจหัวใจด้วยเครื่อง Echo      
  • Event Recorder เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะมีอาการ เป็นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจลงบนอุปกรณ์ที่ทำการบันทึกที่สามารถพกพาได้คล้ายกับเครื่อง Holter Monitor เพียงแต่เครื่องนี้คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะถูกบันทึกเมื่อหัวใจแสดงความผิดปกติแบบอัตโนมัติ เช่น เมื่อใจสั่น หรือหน้ามืด หรือผู้ป่วยช่วยกดบันทึกเหตุการณ์ด้วยตนเองขณะเกิดอาการได้เช่นกัน โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรบันทึกนานเท่าใด เช่น 7 หรือ 14 วัน ข้อมูลดังกล่าวนี้จะสามารถส่งผ่านโทรศัพท์ไปยังศูนย์รับข้อมูลได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการอ่านค่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อวินิจฉัย พร้อมลดระยะเวลาและเพิ่มความสะดวกในการติดต่อกับแพทย์ผู้รักษาได้
  • EST การตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นการตรวจหัวใจผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย โดยการวิ่งสายพาน (หรือปั่นจักรยานในบางกรณี) ซึ่งในขณะที่ออกกำลังกายนั้น หัวใจจะทำงานหนักมากขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเส้นเลือดหัวใจตีบ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย หรือแน่นหน้าอกขณะวิ่งสายพาน และหรือตรวจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่สงสัยภาวะขาดเลือดเรื้อรัง นอกจากนี้การทดสอบวิ่งสายพานยังสามารถช่วยบอกสมรรถภาพของร่างกาย และบอกความฟิตของร่างกายได้ หรือใช้วินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกายได้อีกด้วย คลิกเพื่อดูแพ็กเกจโปแกรมตรวจหัวใจด้วยเครื่อง EST
  • การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติด้วยเตียงปรับระดับ เป็นการตรวจหัวใจ หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยใช้เตียงที่ปรับเอียงได้เพื่อประเมินสาเหตุของภาวะเป็นลมหมดสติบางชนิด ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลงและหลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตลดลง เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยและส่งผลให้เกิดภาวะเป็นลมหมดสติ

ที่โรงพยาบาลวิมุต เรามีบริการตรวจสุขภาพหัวใจ เพื่อหาความผิดปกติของหัวใจและตรวจการเต้นของหัวใจ ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมกับเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ที่จะให้ผลลัพธ์แม่นยำได้ยิ่งขึ้น กับแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจที่ออกแบบมาให้ครอบคลุมและตอบโจทย์การรักษาได้อย่างตรงจุดกับแพ็กเกจโปรแกรม Touch your Heat A (2,500 บาท) ตรวจสุขภาพหัวใจแบบเจาะลึก ที่พร้อมตรวจสุขภาพหัวใจและคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วยเครื่อง EKG และนอกจากนี้ยังมีแพ็กเกจโปรแกรมการตรวจหัวใจอื่นๆ ในราคาพิเศษอีกมากมาย 

สามารถคลิกดูแพ็กเกจการตรวจสุขภาพอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่

และหากคุณสงสัยว่าตัวเอง หรือคนใกล้ตัวอาจมีอาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายและใช้เครื่องมือวินิจฉัยเพื่อตรวจหาอาการและค้นหาสาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ เช่น รักษาด้วยยา รักษาด้วยไฟฟ้า หรือรักษาโดยใช้คลื่นวิทยุ เป็นต้นนั่นเอง

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต 

เวลาทำการ 08.00 - 17.00 น. โทร. 0-2079-0042

หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์

 

 

ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

ผู้เขียน
นพ. ศรัณย์พงศ์ ภิบาลญาติ

เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

Card Image
5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!

อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง

มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
ชวนเช็กอาการ เจ็บหน้าอกแบบนี้… อาจเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

เจ็บหน้าอก ใจสั่น อย่าวางใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดหัวใจตีบ” ได้ มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อ่านเพิ่มเติม
Card Image
อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค

ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้

อ่านเพิ่มเติม

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง