อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค
นับถอยหลังสู่โรคเสี่ยง อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด
ภาวะไขมันในเลือดสูง หลายคนฟังแล้วอาจจะดูไกลตัว ไม่รู้สึกถึงความน่ากลัว แม้ว่าผลตรวจสุขภาพจะฟ้องว่าระดับไขมันในเลือดพุ่งสูงปรี๊ดเกินรับไหวไปแล้วก็ตามที กลับยังไม่มีอาการเจ็บป่วยใดใดให้เห็น แต่รู้หรือไม่! หากลองได้มีระดับของคอเลสเตอรอล หรือแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (ไขมันเลว) หรือไตรกลีเซอไรด์อย่างใดอย่างหนึ่งที่สูงมากๆ แล้ว ภาวะดังกล่าวจะกลายเป็นการติดสปีดให้โรคร้ายก้าวเข้าหาตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถ้าวันนี้ยังไม่อยากเสี่ยงกับสารพัดโรคมากมายที่กำลังตามติด มาดูให้รู้ถึงที่มาภาวะไขมันในเลือด เกิดจากอะไรได้บ้าง ค่าปกติของระดับไขมันในเลือดควรอยู่ที่เท่าไหร่ ถ้ามากเกินไปจะอันตรายแค่ไหน เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากภาวะไขมันในเลือดสูงไปด้วยกัน
ไขมันในเลือดสูง คืออะไร ? สูงเท่าไหร่ถึงอันตราย
ไขมันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเซลล์ที่ร่างกายจำเป็นต้องมี แต่แน่นอนว่าอะไรที่มีมากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป ภาวะไขมันในเลือดสูง จึงเป็นความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับ ‘คอเลสเตอรอล’ หรือ ‘ไตรกลีเซอไรด์’ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ชนิดพร้อมกัน โดยมีระดับที่เหมาะสมดังนี้
- ระดับคอเลสเตอรอลรวม ระดับปกติไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร
- ระดับแอลดีแอล คอเลสเตอรอล (ไขมันเลว) ระดับปกติไม่เกิน 130 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร
- ระดับไตรกลีเซอไรค์ ระดับปกติไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร
หากใบแสดงผลตรวจสุขภาพครั้งล่าสุดของคุณมีค่าตัวเลขอยู่ในระดับที่เกินกว่านี้ นับว่าความอันตรายระดับแรกได้ย่างกรายเข้ามาใกล้แล้ว เพราะเมื่อร่างกายมีไขมันมากเกินพอดี ไขมันเหล่านี้จะก่อให้เกิดการสะสมแล้วไปเกาะติดกับผนังหลอดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจและสมอง และจะพอกพูนจนผนังหลอดเลือดหนาขึ้น ถึงจุดนั้นหลอดเลือดจะตีบแคบลง หรืออุดตัน จนกระทั่งไม่สามารถนำเลือดที่มีสารอาหารและออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้สะดวก ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเนื้อสมองขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ภาวะหัวใจวาย หรืออัมพฤกษ์ อัมพาตถาวรได้
สาเหตุสำคัญของภาวะไขมันในเลือดสูง
จุดเริ่มต้นเล็กๆ ของหลายๆ โรคเกิดจากการรับประทานตามใจปาก ภาวะไขมันในเลือดสูงก็เช่นกัน ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ อาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนยและชีส เหล่านี้เป็นตัวการทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง หรือจะลองนึกถึงมื้อล่าสุดของคุณดูก็ได้ว่าใกล้เคียงกับปิ้งย่างมื้อใหญ่ ฟาสต์ฟู้ดจัดเต็ม เฟรนฟรายชีสเยิ้ม หรือรวมทะเลเผา แบบนั้นหรือเปล่า อ่านเรื่องเกี่ยวกับโรคไขมันและอันตรายที่ซ่อนอยู่ได้ที่นี่
อย่างไรก็ตาม แม้หลายคนจะดูแลอาหารการกินเป็นอย่างดีก็สามารถเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้จากหลายปัจจัยร่วม ดังนี้
- โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง
- โรคประจำตัว หรือโรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น เบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลไม่ค่อยได้ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ โรคของต่อมหมวกไตบางชนิด และโรคตับ โรคไตเรื้องรังบางชนิด
- การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
- การใช้ยาสเตียรอยด์ และยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
- ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ไขมันในเลือดสูง ใบเบิกทางสารพัดโรค
ระดับไขมันในเลือดที่สูงเกินกว่าดัชนีข้างต้น เป็นตัวการหลักในการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด ระบบประสาททำงานผิดปกติ โรคหลอดเลือดตีบตัน ไขมันพอกตับ หัวใจวายเฉียบพลัน ปวดท้องเนื่องจากตับอ่อนอักเสบ ปวดตามข้อแขน ขา ร้ายแรงไปจนถึงอัมพฤกษ์ อัมพาต และนำไปสู่การเสียชีวิตได้ หากไม่เริ่มป้องกันตั้งแต่ระยะแรกจะเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
ภาวะไขมันในเลือดสูง รู้ไว ลดได้เร็ว ลดความเสี่ยงของสารพัดโรคได้ง่าย กับแพ็กเกจตรวจสุขภาพองค์รวม ที่คลอบคลุมการตรวจระดับไขมันในเลือด ทางเลือกที่จะช่วยให้คุณห่างไกลโรคได้ในอนาคต แพ็กเกจโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชาย ครบองค์รวม ในราคาพิเศษ แพ็กเกจโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิง ครบองค์รวม ในราคาพิเศษ |
ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เมื่อต้องเผชิญภาวะไขมันในเลือดสูง ทำได้ดังนี้
1. ควบคุมอาหาร เปลี่ยนวิถีการกิน
ถ้าถามว่าเป็นไขมันในเลือดสูง ห้ามกินอะไร อาจต้องบอกว่าสิ่งนี้เป็นคำแนะนำเพื่อสุขภาพองค์รวมที่ให้ผลดีกับเรื่องไขมันได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง บอกลาข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ หนังไก่ทอด หมูกรอบ เครื่องในสัตว์ อาหารฟาสต์ฟู้ด หรือขนมที่มีเนยและชีสที่หลายคนชอบรับประทานเป็นประจำ แล้วหันมาให้น้ำหนักกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลายและย่อยได้ง่ายมากกว่าจำพวกเนื้อปลา อกไก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผักใบเขียว ผลไม้ และธัญพืช รวมถึงปรับวิธีปรุงอาหารที่เน้นการใช้น้ำมันมาเป็น ต้ม นึ่ง ตุ๋น อบ ถึงจะดูเป็นวิธีที่ยากสำหรับสายกิน แต่ถ้าลองค่อยๆ ปรับผลลัพธ์จะออกมาดีแน่นอน
2. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
เลือกเวลาที่เหมาะแล้วหันมาออกกำลังกายเผาผลาญไขมันตัวร้าย สัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที และต้องทำติดต่อกันเป็นประจำจึงจะส่งผลดีต่อระดับไขมันในเลือด สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่และไม่ได้ออกกำลังกายมาเป็นเวลานาน สามารถเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการเดินเร็วสัปดาห์ละ 3 ครั้ง แล้วค่อยเพิ่มดีกรีความแข็งแกร่งให้ร่างกายด้วยการออกกำลังกายวิธีอื่น
3. เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
ถึงเวลานักปาร์ตี้ตัวยงหันมาดูแลสุขภาพกายด้วยการละจากบุหรี่ เพราะมีส่วนทำลายผนังหลอดเลือดให้เสื่อมสภาพ และทำให้คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดลง ร่วมกับเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีน้ำตาลในปริมาณที่สูงลิบ แม้ดื่มในปริมาณเล็กน้อยก็สามารถเพิ่มระดับไขมันในเลือด โดยเฉพาะไขมันไตรกลีเซอไรด์ให้สูงขึ้นได้แล้ว
4. ลดน้ำหนักให้เหมาะสม
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากช่วยลดระดับไขมันในเลือดลงได้แล้ว ยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคอื่นๆ ที่อาจมาพร้อมความอ้วน ดังนั้น เวลาซื้ออาหารต่างๆ อย่าลืมดูฉลากด้านหลังอาหารสำเร็จรูป และศึกษาส่วนประกอบทางโภชนาการก่อนทุกครั้ง เพื่อเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ทั้งนี้แนะนำให้ปรึกษาทีมแพทย์และนักกำหนดโภชนาการ เพื่อช่วยให้คำแนะนำในการลดน้ำหนักเพิ่มเติมและต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลการลดน้ำหนักที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
5. พบแพทย์และติดตามผล
ตรวจเช็กระดับไขมันในเลือดเป็นระยะภายใต้การดูแลของแพทย์ หากได้รับการวินิจฉัยให้รับประทานยาควบคู่ไปกับการรักษาสุขภาพและปรับพฤติกรรมการรับประทาน ให้ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสในการเป็นโรคแทรกซ้อนและป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงจนเกิดการอุดตันตามเส้นเลือดในอวัยวะต่างๆ
‘ภาวะไขมันในเลือดสูง’ แม้จะสังเกตได้ยากแต่ก็สามารถตรวจพบได้ง่ายและรวดเร็ว ด้วยการเจาะเลือดตรวจหาระดับของไขมันแต่ละชนิด ซึ่งในกรณีการตรวจนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องงดอาหารและน้ำก่อนทำการเจาะเลือด ดังนั้นเริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ลดปริมาณอาหารไขมันสูงและแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อติดตามผลระดับไขมันในเลือด ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00-17:00 น. โทร. 0-2079-0042
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง
ชวนเช็กอาการ เจ็บหน้าอกแบบนี้… อาจเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บหน้าอก ใจสั่น อย่าวางใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดหัวใจตีบ” ได้ มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน
เช็กให้ชัวร์ เจ็บหน้าอกข้างซ้ายแบบนี้ เป็นโรคอะไรกันแน่
เปิดลิสต์เจ็บหน้าอกข้างซ้าย ที่อาจไม่ได้หมายถึงโรคหัวใจเสมอไป มาเช็กอาการให้ละเอียดกันว่าจริงๆ แล้วที่เจ็บอกข้างซ้ายอยู่นั้น เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง
5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน
5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ
ชวนเช็กอาการ เจ็บหน้าอกแบบนี้… อาจเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บหน้าอก ใจสั่น อย่าวางใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดหัวใจตีบ” ได้ มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน
เช็กให้ชัวร์ เจ็บหน้าอกข้างซ้ายแบบนี้ เป็นโรคอะไรกันแน่
เปิดลิสต์เจ็บหน้าอกข้างซ้าย ที่อาจไม่ได้หมายถึงโรคหัวใจเสมอไป มาเช็กอาการให้ละเอียดกันว่าจริงๆ แล้วที่เจ็บอกข้างซ้ายอยู่นั้น เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง
5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน
5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ
5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน
5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ
ชวนเช็กอาการ เจ็บหน้าอกแบบนี้… อาจเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บหน้าอก ใจสั่น อย่าวางใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดหัวใจตีบ” ได้ มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน
เช็กให้ชัวร์ เจ็บหน้าอกข้างซ้ายแบบนี้ เป็นโรคอะไรกันแน่
เปิดลิสต์เจ็บหน้าอกข้างซ้าย ที่อาจไม่ได้หมายถึงโรคหัวใจเสมอไป มาเช็กอาการให้ละเอียดกันว่าจริงๆ แล้วที่เจ็บอกข้างซ้ายอยู่นั้น เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง