สายกินต้องระวัง โรคอันตรายจากไขมันที่ต้องรู้ !
สายกินต้องระวัง โรคอันตรายจากไขมันที่ต้องรู้ !
รู้หรือไม่ อาหารแสนอร่อยอย่างของทอด ของมัน หรือเบเกอรีที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน ต่างก็มีไขมันและความลับเกี่ยวกับโรคไขมันร้ายๆ ซ่อนอยู่
ไขมันจัดเป็นสารอาหารสำคัญชนิดหนึ่งในหลัก 5 หมู่โภชนาการ เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลผิวหนังและช่วยดูดซึมวิตามินต่างๆ ที่ละลายในไขมันอย่าง วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินเคให้กับร่างกาย ทั้งนี้การบริโภคไขมันต้องคำนวณให้เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน หรือไม่ควรบริโภคไขมันเกิน 30% ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายควรได้รับ เพราะการรับประทานหรือได้รับไขมันมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อโรคไขมันที่มองไม่เห็นได้ ซึ่งไขมันที่ร่างกายได้รับจากอาหารต่างๆ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้
-
ไขมันชนิดดี (High-Density Lipoprotein : HDL)
เป็นไขมันที่ช่วยลดปริมาณและกำจัดไขมันที่ไม่ดีในร่างกาย หรือคราบไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังเส้นเลือดในร่างกาย แบ่งออกเป็น
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว พบได้ในน้ำมันพืชอย่างน้ำมันมะกอก, น้ำมันงา หรือน้ำมันดอกคำฝอย, อะโวคาโด, ปลาแซลมอน, ปลาทูน่า และธัญพืชต่างๆ
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน หาได้ในตระกูลถั่วต่างๆ รวมถึงน้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันจากเมล็ดดอกทานตะวัน และน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า 3, 6
-
ไขมันชนิดไม่ดี (Low-Density Lipoprotein : LDL)
ไขมันชนิดนี้บางคนจะเรียกว่าเป็นไขมันเลว เพราะหากมีไขมันจำพวกนี้มากเกินไปจะทำให้เกาะติดตามหลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้นั่นเอง
- ไขมันอิ่มตัว พบได้ในเนื้อสัตว์ที่มีไขมัน ผลิตภัณฑ์เนย นม และน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว
- ไขมันทรานส์ พบได้บ่อยในเบเกอรีที่มีเนยเทียม เนยขาว และครีมเทียมเป็นส่วนผสม
โรคไขมันที่ซ่อนในร่างกายมักจะไม่แสดงตัว หรือแสดงอาการความเจ็บป่วยเบื้องต้นให้รู้ตัว การเจาะเลือด ตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะทำให้เราสามารถป้องกันโรคและความเจ็บป่วยได้
การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ อาจทำให้คุณเสี่ยงกับโรคไขมันที่มองไม่เห็น เช่น ไขมันในเลือด ไขมันที่ตับ และไขมันในช่องท้อง ซึ่งไขมันเหล่านี้หากยิ่งสะสมมาก ยิ่งไม่ดีต่อสุขภาพ ดังนั้นเราจึงควรระวังปริมาณไขมันสะสมเหล่านี้ โดยหมั่นตรวจเช็กสุขภาพประจำปี เจาะเลือดเพื่อตรวจระดับไขมันในเลือด ดูค่าคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะหากมีปริมาณสูงหรือมีการสะสมมาก คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคไขมันเหล่านี้ได้
3 โรคไขมันอันตราย ที่สายกินควรระวัง !
1. ไขมันในเลือดสูง
เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณไขมันเลวสูง และไปเกาะติดสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้การเดินทางของเลือด สารอาหารและออกซิเจนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายน้อยลง
ไขมันในเลือดสูงเกิดจากอะไร ?
โรคไขมันในเลือดสูง มักเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูงเป็นประจำ ไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ไขมันในเลือดสูง หากเป็นแล้วเสี่ยงอะไร ?
หากเป็นโรคไขมันในเลือดสูงแล้ว อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย และหัวใจวายได้ หากไขมันเหล่านั้นเกาะที่เส้นเลือดที่หล่อเสี้ยงหัวใจ หรือหากเกิดกับหลอดเลือดที่สมองอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไขมันในเลือดสูงได้ที่นี่
2. ไขมันพอกตับ
เป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับและรวมตัวเกาะอยู่ที่ตับ จนทำให้ตับทำงานได้น้อยลง
ไขมันพอกตับเกิดจากอะไร ?
โรคไขมันพอกตับส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมัน แป้ง และน้ำตาลสูงเป็นประจำ เมื่อมีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินในร่างกายมากจนเกินความต้องการ ตับจะนำน้ำตาลส่วนเกินนี้ไปสร้างเป็นไขมันแทน
ไขมันพอกตับ หากเป็นแล้วเสี่ยงอะไร ?
เมื่อเกิดภาวะไขมันพอกตับจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตับอักเสบ และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือปล่อยให้ไขมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตับจะอักเสบมากขึ้น เกิดเป็นพังผืดสะสมทำลายเซลล์ตับที่ก่อให้เกิดโรคตับแข็ง และอาจพัฒนาเป็นโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งตับได้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไขมันพอกตับ ได้ที่นี่
3. ไขมันในช่องท้อง
เป็นไขมันที่แทรกอยู่ระหว่างอวัยวะภายใน เช่น กระเพาะอาหาร ตับ และลำไส้ โดยไขมันนี้จะสามารถสร้างสารเคมีและฮอร์โมนที่ส่งผลเสียต่อร่างกายได้
ไขมันในช่องท้องเกิดจากอะไร ?
การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการเป็นประจำ และไม่ออกกำลังกาย
ไขมันในช่องท้อง หากมีมากจะเสี่ยงอะไร ?
นอกจากจะเสี่ยงต่อโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วนและโรคสมองเสื่อมแล้ว ยังมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดตีบตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อีกด้วย เพราะไขมันในช่องท้องสามารถสลายไปตามหลอดเลือดและเกาะติดตามผนังหลอดเลือดได้เช่นกัน
เห็นไหมว่าโรคไขมันที่เรามองไม่เห็น อันตรายกับสุขภาพและชีวิตเราขนาดไหน รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมหันมาใส่ใจกับปริมาณไขมันในแต่ละส่วนกันโดยสามารถดูแลตัวเองกันได้ง่ายๆ เพียงแค่
- หมั่นไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำ
- หากพบว่ามีปริมาณไขมันในแต่ละส่วนมากเกินไป ก็สามารถลดไขมันได้โดยออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น การวิ่ง กระโดดเชือก ปั่นจักรยานอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมไขมันดีให้กับร่างกายแทนไขมันเลว
- หาเวลาคลายเครียดให้ตัวเอง นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
เพียงเท่านี้คุณก็จะมีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคร้ายอย่างโรคไขมันมาคอยกวนใจแล้ว
สำหรับผู้ที่ต้องการเช็กสุขภาพ ที่โรงพยาบาลวิมุตเราออกแบบแพ็กเกจตรวจสุขภาพให้ตรงทุกความต้องการ ทั้งสุขภาพองค์รวม การตรวจเลือดที่ครอบคลุมทั้งการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจระดับไขมันในเลือด การตรวจทางรังสี และการอ่านผลโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อลดความเสี่ยงของโรคในอนาคต กับราคาโปรโมชันดีๆ ให้คุณได้ดูแลสุขภาพกันได้ง่ายๆ
แพ็กเกจโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชาย ครบองค์รวม ในราคาพิเศษ
แพ็กเกจโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิง ครบองค์รวม ในราคาพิเศษ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก ชั้น 9 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 07:00 - 19:00 น. โทร. 0-2079-0030
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

3 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี
เชื่อว่าหลายคนยังมีเป้าหมายในการลดน้ำหนัก แต่ปัญหาที่มักพบ คือ ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที หรืออาจลดได้แค่ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี

รับมืออย่างไรเมื่อ COVID-19 รบกวนชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน
ในสถานการณ์ที่โควิดยังคงระบาด ผู้ป่วยเบาหวานต้องระวังโรคโควิดนี้ให้ดี เพราะติดง่ายกว่าคนอื่นแถมติดแล้วยังรุนแรงเสี่ยงถึงตายจริงไหม? มาฟังคำตอบกับคุณหมอกัน

13 วิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19
เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ covid-19 โดยโรคเบาหวานนั้นจะทำให้ติดเชื้อ covid -19 ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป และหากติดเชื้อแล้วจะมีผลทำให้เกิดพาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?
เพราะการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในความฝันของผู้หญิงหลายๆ คน แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานคงกังวลไม่น้อยว่าจะมีลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า เรามาฟังคำตอบกันที่นี่

3 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี
เชื่อว่าหลายคนยังมีเป้าหมายในการลดน้ำหนัก แต่ปัญหาที่มักพบ คือ ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที หรืออาจลดได้แค่ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี

รับมืออย่างไรเมื่อ COVID-19 รบกวนชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน
ในสถานการณ์ที่โควิดยังคงระบาด ผู้ป่วยเบาหวานต้องระวังโรคโควิดนี้ให้ดี เพราะติดง่ายกว่าคนอื่นแถมติดแล้วยังรุนแรงเสี่ยงถึงตายจริงไหม? มาฟังคำตอบกับคุณหมอกัน

13 วิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19
เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ covid-19 โดยโรคเบาหวานนั้นจะทำให้ติดเชื้อ covid -19 ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป และหากติดเชื้อแล้วจะมีผลทำให้เกิดพาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?
เพราะการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในความฝันของผู้หญิงหลายๆ คน แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานคงกังวลไม่น้อยว่าจะมีลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า เรามาฟังคำตอบกันที่นี่

13 วิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในยุค COVID-19
เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ covid-19 โดยโรคเบาหวานนั้นจะทำให้ติดเชื้อ covid -19 ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป และหากติดเชื้อแล้วจะมีผลทำให้เกิดพาวะแทรกซ้อนมากกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

เป็นเบาหวานตั้งครรภ์ได้ไหม ?
เพราะการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในความฝันของผู้หญิงหลายๆ คน แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานคงกังวลไม่น้อยว่าจะมีลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า เรามาฟังคำตอบกันที่นี่

3 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังลดน้ำหนักผิดวิธี
เชื่อว่าหลายคนยังมีเป้าหมายในการลดน้ำหนัก แต่ปัญหาที่มักพบ คือ ลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที หรืออาจลดได้แค่ช่วงสั้นๆ แล้วกลับมาน้ำหนักเท่าเดิม ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี

รับมืออย่างไรเมื่อ COVID-19 รบกวนชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน
ในสถานการณ์ที่โควิดยังคงระบาด ผู้ป่วยเบาหวานต้องระวังโรคโควิดนี้ให้ดี เพราะติดง่ายกว่าคนอื่นแถมติดแล้วยังรุนแรงเสี่ยงถึงตายจริงไหม? มาฟังคำตอบกับคุณหมอกัน