กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด รู้เร็ว รักษาได้
หากคุณเคยมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และอ่อนเพลีย..อย่าชะล่าใจ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณแรกของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด! ยิ่งปล่อยไว้นานอาจรุนแรงถึงขั้นกล้ามเนื้อหัวใจตาย และนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น การเฝ้าระวัง สังเกตอาการ รีบพบแพทย์เพื่อเข้าตรวจวินิจฉัยและรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนและแม่นยำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความรุนแรงของโรค รู้จักโรคกล้ามเนื้อหัวใจให้มากขึ้นจากบทความนี้
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเกิดจากสาเหตุใด?
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากการที่หลอดเลือดแข็งตัวและทำให้ผนังหลอดเลือดตีบ เนื่องจากมีการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลไม่สะดวกจนไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ หากมีความรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ หรือที่เราเรียกว่า “หัวใจวาย” นั่นเอง
อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่สังเกตได้
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นโรคอันตรายที่ต้องคอยเฝ้าระวัง สังเกตอาการของตัวเองและคนใกล้ชิดเป็นพิเศษ หากคุณมีอาการเหล่านี้ร่วมกันควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด
- ใจสั่น หอบเหนื่อย
- รู้สึกเจ็บหน้าอก
- หายใจลำบาก
- คลื่นไส้ อาเจียน
- วิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม
- เหงื่อออก หน้าซีด
วิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
แม้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะเป็นโรคที่อันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยวิธีการรักษาจะแตกต่างไปตามระดับความรุนแรงในแต่ละบุคคล ดังนี้
- การใช้ยารักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระดับความรุนแรงของโรคน้อย แพทย์จะทำการรักษาโดยการใช้ยา เช่น ยาแอสไพริน ยาต้านเกล็ดเลือด ยาลดคอเลสเตอรอล และยาลดความดันโลหิต ร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้นร่วมด้วย
- การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการทำบอลลูน หรือขดลวด เป็นการดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดกับผนังหลอดเลือด เปิดทางให้เลือดสามารถไหลผ่านได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งจะทำโดยการใส่สายสวนที่มีบอลลูนอยู่ปลายสายเข้าไปยังหลอดเลือดที่ตีบตัน และทำให้บอลลูนพองขึ้นดันไขมันออกไป เพื่อให้หลอดเลือดขยายออกมากขึ้น และศัลยแพทย์จะใส่ขดลวดเข้าไปด้วย เพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบตันซ้ำอีก
- การผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ เป็นการทำทางเบี่ยงเสริมหลอดเลือดบริเวณที่ตีบ เพื่อให้เลือดผ่านส่วนที่ตีบตันได้ดีขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี
- การผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (on-pump CABG) แพทย์จะหยุดหัวใจผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัด และใช้อุปกรณ์ช่วยเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายโดยไม่ผ่านหัวใจ
- การผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (off-pump CABG) เป็นการผ่าตัดขณะหัวใจยังเต้นอยู่โดยใช้ Local Stabilizer เกาะยึดหัวใจในจุดที่ทำการต่อเส้นเลือดให้หยุดนิ่ง ในขณะที่หัวใจยังคงเต้นเป็นปกติ
อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่รุนแรงและควรไปพบแพทย์
หากคุณมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจและรีบพบแพทย์ทันที เพราะเป็นสัญญาณของโรคหัวใจที่รุนแรงเฉียบพลันซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้
- ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ
- อาการเหนื่อยร่วมกับหายใจไม่อิ่ม
- หน้ามืดหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น
- รู้สึกเจ็บหน้าอก จุกแน่นบริเวณคอหอย หรือใต้ลิ้นปี่
ถึงแม้โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะสามารถส่งผลอันตรายจนอาจถึงแก่ชีวิต หากแต่เรายังคงปกป้องและดูแลสุขภาพหัวใจได้ด้วยการสังเกตอาการข้างต้น และลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลต่อหัวใจ เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย หรือสูบบุหรี่ เพราะจะเป็นปัจจัยเร่งซึ่งก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคอื่นๆ ได้ อีกทั้งอย่าลืมตรวจสุขภาพสม่ำเสมอเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00-17:00 น. โทร. 0-2079-0042
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

วุทธชูศิลป์

วุทธชูศิลป์

วุทธชูศิลป์

วุทธชูศิลป์

วุทธชูศิลป์

วุทธชูศิลป์
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

อาการเตือน เจ็บอกรุนแรง..อาจเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บกลางอก ใจสั่น เวียนหัว หายใจหอบ สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ” มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค
ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้

5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

อาการเตือน เจ็บอกรุนแรง..อาจเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บกลางอก ใจสั่น เวียนหัว หายใจหอบ สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ” มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค
ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้

5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

5 โรคหัวใจที่คุณควรรู้ สาเหตุเกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงก่อนสาย!
อาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ เหนื่อยง่าย อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งโรคหัวใจต่างก็ถูกแบ่งออกไปได้อีกหลายโรคและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

5 ท่าออกกำลังกาย สร้างสุขภาพดี หัวใจแข็งแรงได้ด้วยตัวเอง
มาดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วย 5 ท่าออกกำลังกายบริหารหัวใจ ที่จะช่วยให้หัวใจของคุณมีสุขภาพแข็งแรง รับรองว่าดีต่อร่างกายและดีต่อใจอย่างแน่นอ

อาการเตือน เจ็บอกรุนแรง..อาจเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
เจ็บกลางอก ใจสั่น เวียนหัว หายใจหอบ สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ เส้นเลือดหัวใจตีบ” มาสังเกตอาการพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เพื่อการดูแลและป้องกันอย่างถูกวิธีกัน

อย่าปล่อยไขมันในเลือดสูงปรี๊ด ถ้าไม่อยากเสี่ยงสารพัดโรค
ไขมันในเลือดสูง ภาวะอันตรายที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังได้ในอนาคต มาเริ่มต้นทำความรู้จักและปรับพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดไขมันในเลือดสูงไปพร้อมกันในบทความนี้