เช็กลิสต์กรดไหลย้อน อาการแบบนี้คุณกำลังเป็นอยู่หรือไม่?
เช็กลิสต์กรดไหลย้อน อาการแบบนี้คุณกำลังเป็นอยู่หรือไม่?
ไหนใครบ้างที่กำลังมีปัญหาแสบร้อนกลางอก ไอบ่อยตอนกลางคืนแถมยังไอเรื้อรัง รวมถึงรู้สึกว่ามีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาที่ปากเป็นประจำบ้าง หากคุณมีอาการแบบนี้อาจจะต้องระวังโรคกรดไหลย้อนถามหา และยิ่งหากใครที่มีพฤติกรรมชอบกินแล้วนอนทันทีเป็นประจำ ต้องระวังและสังเกตร่างกายให้มากขึ้น เพราะกรดไหลย้อนหากปล่อยไว้นานๆ อาจทำให้คุณมีปัญหาตามมาแบบเรื้อรังได้ ดังนั้นวันนี้เราจึงได้หยิบอาการของโรคกรดไหลย้อนและแนวทางวิธีการรักษามาฝากคนที่กำลังมีอาการ หรือคิดว่ากำลังเข้าข่ายเสี่ยงกับโรคนี้มาฝากกัน
กรดไหลย้อน เกิดจากอะไรกัน ?
กรดไหลย้อน เป็นความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากการที่กรด น้ำย่อย หรือน้ำดีย้อนจากกระเพาะกลับขึ้นมาในหลอดอาหารมากกว่าปริมาณปกติที่หลอดอาหารสามารถรับได้ รวมไปถึงการที่หลอดอาหารมีภาวะไวต่อกรด หรือสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น อาหาร หรือกรดที่เคลื่อนไปในหลอดอาหารก็สามารทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ และถึงแม้ปริมาณของกรดที่หลอดอาหารจะไม่มากไปกว่าคนปกติ แต่หากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตและอาจต่อยอดถึงโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอื่นๆ ได้ เช่น หลอดอาหารอักเสบ เป็นแผลถลอกที่นำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ หรือมะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น
เช็กลิสต์ อาการแบบนี้… ใช่อาการของกรดไหลย้อนไหม ?
สำหรับอาการของกรดไหลย้อน เราสามารถแบ่งประเภทจากการสังเกตอาการออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. อาการเฉพาะที่สามารถบอกได้เลยว่าเป็นกรดไหลย้อน
- แสบร้อนบริเวณกลางอก หรือมีอาการเรอเปรี้ยว
- มักมีอาการขย้อนอาหารขึ้นมาถึงบริเวณช่วงอก หรือถึงในคอ (บางรายอาจมีอาการขมคอ เปรี้ยวในปาก หรือมีน้ำลายมากร่วมด้วยได้)
2. อาการที่อาจพบได้ในคนที่เป็นกรดไหลย้อน แต่ไม่จำเป็นว่าเกิดจากกรดไหลย้อนเพียงอย่างเดียว
- เจ็บหน้าอกช่วงกลางอก หรือในบางคนอาจรู้สึกคล้ายกับอาการโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้
- มีอาการระคายคอโดยไม่มีสาเหตุอื่นอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะหลังอาหาร
- เจ็บคอเรื้อรัง เสียงแหบและไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
- มีอาการหอบหืด โดยเฉพาะในท่านอน หรือตอนกลางคืนในเวลานอน
- เคลือบฟันเสื่อมหรือสึกหรอ บางครั้งอาจมีกลิ่นปากผิดปกติ
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน มีหลายสาเหตุแต่โดยมากเป็นเรื่องของพฤติกรรมที่มักเป็นต้นตอของกรดไหลย้อน
การกินแล้วนอนเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่ทำให้เป็นกรดไหลย้อนได้ ซึ่งการนอนโดยเฉพาะในท่านอนศีรษะต่ำ อาหารหรือน้ำย่อยสามารถเคลื่อนย้อนกลับขึ้นไปบนหลอดอาหารได้ อีกทั้งการมีน้ำหนักตัวมากๆ หรือมีพฤติกรรมการกินปริมาณมากๆ เป็นประจำก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคกรดไหลย้อนได้ เพราะทำให้แรงดันในช่องท้องสูงและมีผลทำให้ขย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารได้ รวมถึงการสูบบุหรี่ก็เป็นตัวกระตุ้นภาวะกรดไหลย้อนได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ทางร่างกาย เช่น ความผิดปกติของการบีบ หรือคลายหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหาร, ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร หรือโรคกระเพาะอาหาร รวมไปถึงการตั้งครรภ์ก็สามารถกระตุ้นภาวะกรดไหลย้อนได้เช่นกัน
หากมีอาการกรดไหลย้อนควรดูแลตัวเองอย่างไร กินยาอะไรได้บ้าง ?
ใครที่รู้ว่ามีพฤติกรรมที่ทำให้เป็นสาเหตุของโรคกรดไหลย้อนเป็นประจำ แถมมีอาการของโรคกรดไหลย้อนตามที่ได้ลิสต์มาแล้วนั้น และกำลังมองหาวิธีการรักษา การดูแลตัวเอง หรือควรกินยาตัวไหนเพื่อบรรเทาอาการ สามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้ได้
- หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม การสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดสูง อาหารมื้อหนักๆ หรืออาหารที่มีปริมาณมากๆ โดยแนะนำให้รับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่แบ่งหลายๆ มื้อแทน
- หลีกเลี่ยงหรือลดความเครียด ที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการของกรดไหลย้อน
- แนะนำให้นอนยกศีรษะให้สูง โดยให้ลำตัวลาดเอียงอย่างน้อยประมาณ 30 องศา
- หากมีอาการมากขึ้น เป็นบ่อย เป็นเรื้อรัง หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์เพื่อวินิฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม ไม่แนะนำให้หายารับประทานเองเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค หรือจากการใช้ยาที่ไม่ถูกวิธี และตรวจรักษาโรคล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็นได้
วิธีการรักษาโรคกรดไหลย้อน
สำหรับการรักษาโรคกรดไหลย้อน เบื้องต้นแพทย์จะให้รับประทานยาลดกรด เพื่อรักษาสมดุลกรดในกระเพาะอาหารที่ทำให้เกิดอาการความเจ็บป่วย แต่ทั้งนี้หากรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือไม่หายหลังจากรับประทานยาลดกรดต่อเนื่องใน 4 - 8 สัปดาห์ หรือไม่สามารถหยุดยาได้ อาการเหล่านี้สามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะหลอดอาหารไวต่อสิ่งกระตุ้นเกินไป น้ำดีย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร หูรูดหลอดอาหารมีการเกร็งตัวผิดปกติระยะต้น หลอดอาหารเคลื่อนตัวผิดปกติ ไปจนถึงมะเร็งหลอดอาหาร ซึ่งอาจต้องพิจารณาตรวจค้นหากรดไหลย้อนเพิ่มเติม เพื่อการรักษาได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งที่วิมุตเรามีศูนย์เฉพาะทางที่ดูแลรักษาโรคกรดไหลย้อนโดยเฉพาะ ด้วยวิธีการดังนี้
- ตรวจวัดกรดในกระเพาะอาหาร (PH Monitoring)
- ส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน
- ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร (High Resolution Esophageal Manometry with Impedance)
- ตรวจหลอดอาหารด้วยรังสี (Barium Swallow)
สนใจสามารถติดต่อรับบริการได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต
เปิดให้บริการทุกวันวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08:00 - 20:00 น. และวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 08:00 - 17:00 น.
นี่คือข้อมูลของอาการโรคกรดไหลย้อนที่เราได้นำมาฝาก ทั้งสาเหตุและวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น แต่ทั้งนี้หากคุณมีอาการตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น นอกจากการดูแลตัวเองในเบื้องต้นแล้ว แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม เนื่องจากโรคกรดไหลย้อนสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งและภาวะสุขภาพอื่นๆ ในอนาคตได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 08:00-20:00 น. หรือ โทร. 0-2079-0054
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ

แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

ไขมันพอกตับ ภาวะอันตรายที่คุณเสี่ยงแค่ไหน? มาเช็กกัน !
ไขมันพอกตับ ภาวะร้ายทำลายตับ ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ ชวนคุณสังเกตอาการได้อย่างไร การตรวจและการรักษาทำอย่างไร เรามีข้อมูลมาให้แล้ว

“ท้องผูก” ปวดท้อง ปัญหาการถ่ายที่ไม่ใช่เพียงแค่… ถ่ายไม่ออก!
ถ่ายไม่ออก อุจจาระแข็ง นานๆ จะถ่าย หรือทั้งสัปดาห์ถ่ายครั้งเดียว แบบนี้เป็นโรคท้องผูกไหม เรารวมข้อมูลสาเหตุและวิธีแก้ท้องผูก สำหรับคนที่มีปัญหาการขับถ่ายมาฝากแล้ว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการแบบไหนต้องระวัง รีบเช็กด่วน!
ปวดท้องบ่อย ท้องผูกบ่อยและมีเลือดออกมาพร้อมอุจจาระ อาการแบบนี้คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มาเช็กอาการและสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันได้ที่นี่

ปวดท้องบิดเกร็ง อาจะเป็น “ลำไส้แปรปรวน” ที่ทำให้ชีวิตคุณต้องชะงัก
ปวดท้องบิดเกร็ง บริเวณตรงกลางหรือท้องน้อย เป็นๆหายๆ ถ่ายไม่ออก ท้องเสียไม่พัก อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวนรึเปล่า? เพราะอาการเหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ชวนทุกคนมาสังเกตอาการไปพร้อมกับเรา