เส้นเลือดสมองแตก อีกหนึ่งภาวะที่พบได้บ่อยซึ่งอันตรายถึงชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่ความพิการรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ ในบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงอาการ สาเหตุ และวิธีป้องกันภาวะเส้นเลือดสมองแตก เพื่อให้คุณสามารถดูแลตัวเองและคนที่คุณรักได้อย่างถูกต้อง
เส้นเลือดสมองแตก สาเหตุเกิดจากอะไร?
เส้นเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) คือภาวะที่หลอดเลือดในสมองแตกหรือรั่ว ทำให้เลือดไหลซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อสมอง ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองบริเวณนั้นขาดเลือดและออกซิเจน โดยเส้นเลือดในสมองแตกเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักมักเกิดจากความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งความเสื่อมนี้นอกจากจะทำให้หลอดเลือดแตกได้แล้ว ยังอาจทำให้เกิดอาการตีบหรืออุดตันได้เช่นกัน ซึ่งเป็นอาการที่ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และหากสมองขาดออกซิเจนเป็นระยะเวลานานก็จะทำให้เซลล์สมองตาย จนส่งผลให้กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตในที่สุด
รู้ทัน! สัญญาณเตือนเส้นเลือดสมองแตก BEFAST
อาการเส้นเลือดในสมองแตกมักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และมีอาการที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหลอดเลือดที่แตก ขนาดของหลอดเลือด หรือปริมาณเลือดที่ออก โดยมี BEFAST หรือสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองเป็นหลักปฏิบัติเพื่อรับมือกับอาการฉุกเฉิน ดังต่อไปนี้
1. สูญเสียการทรงตัว (B-Balance) มีอาการบ้านหมุน หน้ามืด จนกระทั่งส่งผลให้สูญเสียการทรงตัว
2. ตาพร่ามัว เกิดปัญหาในการมองเห็น (E-Eyes) มีอาการมองเห็นไม่ชัด หรือมองเห็นภาพเพียงครึ่งเดียว
3. ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว (F-Face) มีอาการมุมปากข้างใดข้างหนึ่งตก ทำให้พูดไม่ชัด ยิ้มได้ไม่เต็มที่
4. แขนขาอ่อนแรง (A-Arms) ไม่สามารถยกแขนข้างใดข้างหนึ่งขึ้นได้ หรือแขนขาอ่อนแรงจนไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้
5. พูดติดขัด (S-Speech) ออกเสียงลำบาก หรือออกเสียงคำพูดไม่ได้
6. อาการส่วนใหญ่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน (T-Time) เมื่อเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนกะทันหันจะทำให้ระบบประสาทต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างเฉียบพลัน ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายถาวร
⚠️ หากพบอาการดังกล่าวข้างต้น แม้เพียงอาการเดียว ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที! เพราะทุกนาทีมีค่า การรักษาที่รวดเร็วช่วยลดความเสี่ยงต่อความพิการและเสียชีวิตได้ |
เช็ก! อาการเสี่ยงอื่นๆของโรคหลอดเลือดสมอง
1. อาการชาตามร่างกาย นอกจากอาการชาตามใบหน้า ก็อาจมีอาการชาในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ โดยอาจเกิดความรู้สึกคันๆ หน่วงๆ คล้ายไฟช็อต
2. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง อย่างที่ไม่เคยปวดมาก่อน และมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว
3. กลืนลำบาก โดยมีอาการกลืนอาหาร หรือน้ำลำบาก ไอหรือสำลักบ่อยๆ
4. เกิดอาการสับสนมึนงง ผลกระทบของโรคอาจส่งผลต่อสมองบริเวณที่เกี่ยวกับความคิด หรือการตัดสินใจของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าได้
ปัจจัยเสี่ยง! ต่อการเกิดเส้นเลือดในสมองแตก
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เส้นเลือดสมองแตกมักเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง เพราะเมื่อความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดในสมองอ่อนแอหรือเสื่อมลง จนทำให้แตกได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการเกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้เช่นกัน
- โรคเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลเสียต่อหลอดเลือดทั่วร่างกาย รวมถึงหลอดเลือดในสมอง จนนำไปสู่ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดในสมองแตก
- ไขมันในเลือดสูง เกิดจากการสะสมไขมันที่มากเกินไปในผนังหลอดเลือด จนส่งผลให้หลอดเลือดตีบแคบ ซึ่งถือเป็นภาวะเสี่ยงต่อการแตกของหลอดเลือดในสมอง
- การสูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่ส่งผลให้หลอดเลือดแข็งตัวและตีบแคบได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดสมอง
- ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองแตก
- ขาดการออกกำลังกาย ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ไม่ดี
- ภาวะอ้วน เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง
- กรรมพันธุ์ คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเส้นเลือดสมองแตก
วิธีป้องกันเส้นเลือดสมองแตก
การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันเส้นเลือดสมองแตก ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
- ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ พบแพทย์เพื่อตรวจเช็กความดันโลหิตสม่ำเสมอ และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เช่น เลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ หรือมีปริมาณมากเกินไปจนเสี่ยงภาวะน้ำตาลสูง และเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง
- ควบคุมระดับไขมันในเลือด ให้ไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไป โดยการควบคุมอาหาร จำกัดปริมาณหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ นอกจากนี้ ควรเพิ่มโอเมก้า 3 (Omega3) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพหลอดเลือด
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพิ่มการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนให้เพียงพอ และลดอาหารเค็ม อาหารหวาน อาหารมัน นอกจากนี้ ควรเพิ่มผัก ผลไม้ ธัญพืช ในปริมาณที่เหมาะสมต่อมื้ออาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์ (Fiber) หรือกากใยอาหารอย่างเพียงพอ
- งดสูบบุหรี่ การเลิกบุหรี่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ รวมถึงเส้นเลือดสมองแตก
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะความดันเลือดสูงที่อาจนำไปสู่การเกิดอาการหลอดเลือดในสมองแตกได้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยควรออกกำลังกายวันละ 20 - 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน
- ควบคุมน้ำหนัก โดยเน้นให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไปจนส่งผลเสียต่อร่างกาย
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดโรคเส้นเลือดในสมอง
เส้นเลือดสมองแตก หนึ่งในภัยเงียบที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน การรู้เท่าทันอาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคนี้ได้ อย่าลืมใส่ใจสุขภาพของตัวคุณเองและคนที่คุณรัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือตัวแปรสำคัญในการก่อโรค เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ไร้โรคภัยที่จ้องบั่นทอนสุขภาพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและนัดหมายแพทย์ได้ที่
ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 6 โรงพยาบาลวิมุต
เวลาทำการ 8:00 - 20:00 น. โทร. 02-079-0068
หรือดาวน์โหลด ViMUT Application เพื่อนัดหมายแพทย์ หรือบริการปรึกษาหมอออนไลน์
ทุกปัญหาสุขภาพ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางออนไลน์ ที่พร้อมดูแลคุณด้วยความใส่ใจ
แนะนำแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องสุขภาพน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

ระวัง! สัญญาณเตือน สโตรก (Storke) ของหลุดมือบ่อย น้ำลายไหลมุมปาก
สโตรก(stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดอาการแขนขาไม่มีแรงเฉียบพลัน หน้าเบี้ยว น้ำลายไหลมุมปาก หยิบจับของแล้วหล่น สัญญาณเตือนให้เข้ารับการรักษาด่วนที่สุด เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ฝึกสมองให้ฟิตอยู่เสมอกับ 5 เคล็ดลับ ลับสมองให้คม
ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ขี้หลงขี้ลืมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว มาฝึกสมอง ออกกำลังกายความคิด กระตุ้นให้สมองฟิต สดชื่นปลอดโปร่งกับ 5 วิธีนี้เลย

เช็กด่วน! ปวดหัวข้างเดียวแบบนี้ ใช่ไมเกรนหรือไม่
ชวนคุณมารู้ให้ลึกเรื่องของหัวจะปวด กับปวดหัวไมเกรน สาเหตุกระตุ้นเกิดจากอะไร ไมเกรนมีกี่แบบ วิธีบรรเทาอาการปวดอย่างถูกต้อง และคำตอบว่าปวดไมเกรนต่างจากปวดหัวธรรมดาอย่างไร

ลืมง่าย จำยาก สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ภัยเงียบที่อันตรายมากกว่าการหลงลืม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะสมองเสื่อม เช็กอาการบ่งชี้และวิธีการรักษาได้ที่นี่